บาลีวันละคำ

นาค คือช้าง (บาลีวันละคำ 3,899)

นาค คือช้าง

ความหมายที่คนไทยไม่คุ้น

นาค” ภาษาไทยอ่านว่า นาก

ภาษาบาลีอ่านว่า นา-คะ

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “นาค” ไว้ 5 คำ บอกไว้ดังนี้ – 

(1) นาค ๑, นาค– : (คำนาม) งูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยาย. (ป., ส.).

(2) นาค ๒, นาคา ๑ : (คำนาม) ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค.

(3) นาค ๓, นาค– : (คำแบบ) (คำนาม) ช้าง. (ป.).

(4) นาค ๔ : (คำแบบ) (คำนาม) ไม้กากะทิง. (ป.).

(5) นาค ๕ : (คำแบบ) (คำนาม) ผู้ประเสริฐ, ผู้ไม่ทําบาป; เรียกคนที่ไปอยู่วัดเตรียมตัวจะบวชหรือกําลังจะบวช. (ป., ส.).

ในหมู่คนไทย ถ้าพูดว่า “นาค” จะเข้าใจกันว่า “งูใหญ่มีหงอน” หรือที่มักเรียกกันว่า “พญานาค” คือ นาค (1) มากที่สุด 

รองลงมาคือ “คนเตรียมตัวจะบวชหรือกําลังจะบวช” คือ นาค (5) 

นาค” ที่มีความหมายอื่นจากนี้ คนทั่วไปจะนึกไม่เห็น

…………..

นาค” ในภาษาบาลีมีรากศัพท์และความหมายหลายนัย ดังนี้ –

(1) รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต =ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + คมฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบที่สุดธาตุ (คมฺ > ), ทีฆะ อะ ที่ เป็น อา 

: + คมฺ = นคมฺ + กฺวิ = นคมกฺวิ > นคม > นค > นาค แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่ไม่ได้ไปด้วยเท้า” หมายถึง งูใหญ่มีหงอน ที่เรามักเรียกกันว่า “พญานาค” (a serpent, a serpentlike water-god) ภาษาบาลีว่า นาคราชา (นา-คะ-รา-ชา) เป็นความหมายที่เราคุ้นกันมากที่สุด

หมายเหตุ : ความหมายนี้ผู้เขียนบาลีวันละคำสันนิษฐานเอง เนื่องจากยังไม่พบตำราที่ตั้งวิเคราะห์ศัพท์โดยตรง นักเรียนบาลีท่านใดทราบบทตั้งวิเคราะห์ความหมายนี้ ขอได้โปรดช่วยแก้ไขให้ด้วย

(2) รากศัพท์มาจาก นค (ภูเขา) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(ค) เป็น อา (นค > นาค)

: นค + = นคณ > นค > นาค แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่มองเห็นเป็นเหมือนภูเขา” = ช้าง (an elephant) หมายถึงช้างที่ฝึกหัดเป็นอย่างดีแล้ว เช่นช้างศึก 

(3) รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต =ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + คมฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบที่สุดธาตุ (คมฺ > ), ทีฆะ อะ ที่ เป็น อา 

: + คมฺ = นคมฺ + กฺวิ = นคมกฺวิ > นคม > นค > นาค แปลตามศัพท์ว่า “ต้นไม้ที่ไปไหนไม่ได้” = ไม้กากะทิง (ใบและผลคล้ายสารภี แต่ใบขึ้นสันมากและผลกลมกว่า เปลือกเมล็ดแข็ง ใช้ทําลูกฉลากหรือกระบวยของเล่น, สารภีทะเล หรือ กระทึง ก็เรียก) (The Nāga-tree, iron-wood tree, fairy tree) 

(4) รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต =ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + อคฺค (ผู้เลิศ), ทีฆะ อะ ที่ -(คฺค) เป็น อา (อคฺค > อาคฺค), ลบ ออกตัวหนึ่ง

: + อคฺค = นคฺค > นาคฺค > นาค แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไม่มีผู้ที่เลิศกว่า” = ผู้เลิศ, พระอรหันต์ (the Buddha, Arahants; hero or saint) 

(5) รากศัพท์มาจาก –

(ก) (คำนิบาต =ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + อาคุ (บาป) + (อะ) ปัจจัย, ลบสระหน้า คือ อุ ที่ (อา)-คุ (อาคุ > อาค

: + อาคุ = นาคุ > นาค + = นาค แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไม่ทำบาปกรรม

(ข) (คำนิบาต =ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + อฆ (บาป), ทีฆะ อะ ที่ -(ฆ) เป็น อา (อฆ > อาฆ), แปลง เป็น  

: + อฆ = นฆ > นาฆ > นาค แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไม่มีบาป

นาค” ตามรากศัพท์ในข้อ (5) นี้ = ผู้มุ่งจะบวช (one who is faultless; an applicant [or candidate] for ordination; ordinand) 

อภิปรายขยายความ :

ผู้เขียนบาลีวันละคำขอชวนให้สนใจ “นาค” ที่หมายถึง ช้าง ตามรากศัพท์บาลีข้อ (2)

(1) นักปราชญ์ไทยท่านหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ พระสารประเสริฐ ท่านชื่อ ตรี นามสกุล “นาคะประทีป” เป็นนามสกุลพระราชทาน คำว่า “นาคะ” ในนามสกุลนี้หมายถึงช้าง บรรพบุรุษของตระกูลนี้ (นัยว่าเป็นปู่) ชื่อ “ช้าง” บิดาท่านชื่อ “เทียน” จึงได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “นาคะประทีป” (นาคะ = ช้าง ประทีป = เทียน)

(2) ในพุทธประวัติตอนปลายพุทธกาล มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้นที่เมืองเวสาลี (ไพศาลี) คือพระพุทธองค์ทอดพระเนตรเมืองเวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย เหตุการณ์นี้เรียกว่า “นาคาวโลก” (นา-คา-วะ-โลก)

คำว่า “นาคาวโลก” นี้ เชื่อได้เลยว่า คนส่วนมากไม่รู้ความหมาย คำว่า “นาคา-” คงทำให้หลายคนนึกไปถึงพญานาคตามที่คุ้นเคย

นาคาวโลก” ประกอบด้วย นาค (ช้าง) + อวโลก (การเหลียวดู)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นาคาวโลก” ว่า “elephant-look” (turning the whole body), a mark of the Buddhas (“มองอย่างช้าง” [หันกลับทั้งตัว], เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

นาคาวโลก : (คำนาม) ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์ไปทางซ้าย (เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย).”

คำอธิบายของพจนานุกรมฯ นี้น่าจะคลาดเคลื่อนจากคำอธิบายของอรรถกถา 

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ภาค 2 ซึ่งอธิบายมหาปรินิพพานสูตร ในหน้า 274 บรรยายเรื่อง “นาคาวโลก” ไว้ว่า 

………………..

พุทฺธานํ  ปน  สุวณฺณกฺขนฺธํ วิย  เอกาพทฺธานิ  หุตฺวา  ฐิตานิ.  ตสฺมา  ปจฺฉโต  อปโลกนกาเล  น  สกฺกา  โหติ  คีวํ  ปริวตฺเตตุํ.  ยถา  ปน  หตฺถินาโค  ปจฺฉาภาคํ  อปโลเกตุกาโม  สกลสรีเรเนว  ปริวตฺตติ. เอวํ  ปริวตฺเตตพฺพํ  โหติ. 

พระอัฐิ (คือกระดูก) ของพระพุทธเจ้าติดเป็นเนื้อเดียวกันเหมือนแท่งทองคำ เพราะฉะนั้น ในเวลาเหลียวหลัง จึงไม่สามารถเอี้ยวพระศอได้ อันว่าพญาช้างประสงค์จะเหลียวดูข้างหลังต้องหันกลับไปทั้งตัวฉันใด พระผู้มีพระภาคก็ต้องทรงหันพระวรกายไปทั้งพระองค์ฉันนั้น

………………..

คนธรรมดาเวลาจะดูอะไรที่อยู่ด้านหลัง ยืนอยู่กับที่ ลำตัวท่อนล่างอยู่ในทิศทางเดิม ลำตัวท่อนบนอาจเอี้ยวไปเล็กน้อย เอี้ยวคอหันไปด้านข้างให้สุดก็สามารถมองเห็นด้านหลังได้ 

แต่พระพุทธองค์ทรงทำเช่นนั้นไม่ได้ เหตุผลตามคำของอรรถกถาก็คือ “พระอัฐิของพระพุทธเจ้าติดเป็นเนื้อเดียวกันเหมือนแท่งทองคำ” 

คือถ้าจะหัน ต้องหันหมดทั้งพระองค์ แบบเดียวกับช้าง 

ช้างหันเฉพาะคอกลับมาดูข้างหลังไม่ได้ ต้องหันหมดทั้งตัวฉันใด พระพุทธองค์จะทอดพระเนตรด้านหลัง ก็ต้องหันกลับมาทั้งพระองค์ฉันนั้น

และนี่เองคือเหตุผลที่เรียกว่า “นาคาวโลก” ซึ่งแปลว่า “เหลียวมองอย่างช้าง” 

คือไม่ใช่เอี้ยวตัวมอง แต่ต้องหันทั้งตัวไปมอง-แบบกลับหลังหัน

การรู้จัก “นาค” ในความหมายอย่างอื่น-นอกจากพญานาคหรืองูใหญ่ที่คุ้นเคย-ย่อมทำให้เข้าใจความหมายของถ้อยคำถูกต้องตามความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คำเดียวมีหลายความหมาย

: คนเดียวมีหลายความมุ่งหมาย

#บาลีวันละคำ (3,899)

14-02-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *