บาลีวันละคำ

สกรรถ (บาลีวันละคำ 3,951)

สกรรถ

คำที่ใช้สกัดหลัง

อ่านว่า สะ-กัด

สกรรถ” แยกศัพท์เป็น สก + อรรถ

(๑) “สก

บาลีอ่านว่า สะ-กะ รากศัพท์มาจาก (สะ. = ตน) + ปัจจัย, ลบ +  

อธิบายแทรก: “” (อ่านว่า กะ) ที่เอามาบวกนี้ ภาษาไวยากรณ์บาลีเรียกว่า “สกรรถ” (อ่านว่า กะ-สะ-กัด) ดูคำอธิบายต่อไป

: + = สณ > + = สก (สะ-กะ) แปลตามศัพท์ว่า “นี้ของตน

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แสดงรูปวิเคราะห์ (กระบวนการกระจายคำเพื่อหาความหมาย) ของคำว่า “สก” ไว้ดังนี้ –

สสฺส  อตฺตโน  อยนฺติ  สโก 

คำแปล: สิ่งนี้เป็นของ “สะ” คือของตน ดังนั้น จึงชื่อว่า “สโก 

สโก” แปลว่า “ของตน”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สก” ว่า own (ของตน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “สก” ไว้ด้วย บอกไว้ว่า –

สก– ๑ : (คำวิเศษณ์) ของตน. (ป.; ส. สฺวก).”

(๒) “อรรถ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “อตฺถ” อ่านว่า อัด-ถะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อรฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง รฺ ที่ (อ)-รฺ เป็น ตฺ (อรฺ > อตฺ

: อรฺ + = อรถ > อตฺถ แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเครื่องให้ดำเนินไปได้” (2) “สิ่งที่ให้ดำเนินไปตามการณ์” (3) “สิ่งอันบุคคลถึง คือได้รับตามครรลองแห่งเหตุ

(2) อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, แปลง ที่ (อ)-สฺ เป็น ตฺ (อสฺ > อตฺ)

: อสฺ + = อสถ > อตฺถ แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเหตุให้มีให้เป็น” (2) “เหตุให้มีศัพท์

(3) อตฺถฺ (ธาตุ = ขอ, ปรารถนา) + (อะ) ปัจจัย

: อตฺถ + = อตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ต้องการ

อตฺถ” (ปุงลิงค์) มีความหมายหลายอย่าง เช่น –

(1) กำไร, ผลประโยชน์, การได้เปรียบ, ความดี (ทางศีลธรรม), พร, สวัสดิภาพ, ผลที่ได้มา, ความรุ่งเรือง, สวัสดิการ (interest, advantage, gain; (moral) good, blessing, welfare; profit, prosperity, well-being)

(2) ความประสงค์, ความต้องการ, ความปรารถนา (need, want)

(3) เนื้อความ, ความหมาย, ความสำคัญ (ของคำพูด), การหมายถึง (sense, meaning, import, denotation, signification)

(4) เรื่องราว, ความเห็น, คดี (affair, cause, case)

อตฺถ” ในภาษาไทยนิยมใช้อิงสันสกฤตเป็น “อรรถ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อรรถ, อรรถ– : (คำนาม) เนื้อความ เช่น แปลโดยอรรถ, คําที่ยังไม่ได้แปลความหมาย เช่น คําอรรถ. (ส. อรฺถ; ป. อตฺถ).”

สก + อตฺถ = สกตฺถ (สะ-กัด-ถะ) > สกรรถ (สะ-กัด) แปลว่า “ความหมายของตน

สกรรถ” หมายถึง อักษรหรือคำที่ลงข้างท้ายศัพท์ เมื่อลงแล้วศัพท์นั้นมีความหมายเท่าเดิม ตัวอย่างก็คือคำว่า “สก” ที่แสดงรากศัพท์ไว้ข้างต้น

คำว่า “สก” นั้น “” (สะ) คำเดียวก็แปลว่า “ของตน” อยู่แล้ว + = สก (สะ-กะ) ก็คงแปลว่า “ของตน” เท่าเดิม 

การสร้างคำโดยใช้อักษรหรือคำอื่นมาลงข้างท้าย แต่แปลได้ความเท่าเดิมเช่นนี้แหละ เรียกว่า “สกรรถ

ขยายความ :

ในภาษาบาลี อักษรหรือคำที่นิยมใช้ลงท้ายเป็น “สกรรถ” คือ (กะ) ชาต (ชา-ตะ) ภูต (พู-ตะ) เป็นต้น และนิยมเรียกควบกับอักษรหรือคำนั้นๆ เช่น –

ลงท้าย เรียกว่า ก-สกรรถ (กะ-สะ-กัด)

ชาต ลงท้าย เรียกว่า ชาต-สกรรถ (ชา-ตะ-สะ-กัด)

ภูต ลงท้าย เรียกว่า ภูต-สกรรถ (พู-ตะ-สะ-กัด)

เชื่อหรือไม่ว่า “สกรรถ” คำที่แทบไม่มีใครรู้จัก คำที่ห่างไกลจากความรู้ความเข้าใจและความนึกคิดของคนทั่วไปคำนี้ มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ด้วย 

พจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า – 

สกรรถ : (คำนาม) เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).”

ขยายความช่วยพจนานุกรมฯ :

นร” คำเดียวก็แปลว่า “คน” อยู่แล้ว มีคำว่า “อากร” มาต่อท้ายเป็น “นรากร” ก็คงแปลว่า “คน” เท่าเดิม

ประชา” คำเดียวก็แปลว่า “หมู่คน” อยู่แล้ว มีคำว่า “อากร” มาต่อท้ายเป็น “ประชากร” ก็คงแปลว่า “หมู่คน” เท่าเดิม

คมน” คำเดียวก็แปลว่า “การไป” อยู่แล้ว มีคำว่า “อาการ” มาต่อท้ายเป็น “คมนาการ” ก็คงแปลว่า “การไป” เท่าเดิม

ทัศน” หรือ “ทัศนา” คำเดียวก็แปลว่า “การเห็น” อยู่แล้ว มีคำว่า “อาการ” มาต่อท้ายเป็น “ทัศนาการ” ก็คงแปลว่า “การเห็น” เท่าเดิม

มนุษย” คำเดียวก็แปลว่า “คน” อยู่แล้ว มีคำว่า “ชาติ” มาต่อท้ายเป็น “มนุษยชาติ” ก็คงแปลว่า “คน” เท่าเดิม

ติณ” คำเดียวก็แปลว่า “หญ้า” อยู่แล้ว มีคำว่า “ชาติ” มาต่อท้ายเป็น “ติณชาติ” ก็คงแปลว่า “หญ้า” เท่าเดิม

อุร” คำเดียวก็แปลว่า “อก” อยู่แล้ว มีคำว่า “ประเทศ” มาต่อท้ายเป็น “อุรประเทศ” ก็คงแปลว่า “อก” เท่าเดิม

หทัย” คำเดียวก็แปลว่า “หัวใจ” อยู่แล้ว มีคำว่า “ประเทศ” มาต่อท้ายเป็น “หทัยประเทศ” ก็คงแปลว่า “หัวใจ” เท่าเดิม

ดังนี้แหละ คำว่า “อากร” “อาการ” “ชาติ” “ประเทศ” ที่เอามาต่อท้ายจึงเรียกว่า “คำสกรรถ

แถม :

สกรรถ” อ่านว่า สะ-กัด เสียงที่อ่านว่า สะ-กัด ชวนให้นึกเห็นรูปคำไทยว่า “สกัด” ซึ่งอ่านว่า สะ-กัด เหมือนกัน 

สกัด” คำไทย แปลว่า กั้น, ขวาง, เช่น สกัดหน้า สกัดหลัง 

“คำสกรรถ” ที่เอามาลงท้าย ถ้าพูดเป็นศัพท์ก็พูดได้ว่า “สกรรถหลัง

สกัด” คำไทย ดีร้ายจะมาจาก “สกรรถ” คำบาลีสันสกฤตคำนี้เองกระมัง

แถมให้คิดเท่านั้นดอก ไม่ได้บอกให้เชื่อ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สิ่งที่ตาเห็น

: อาจไม่ได้เป็นอย่างที่ใจคิด

#บาลีวันละคำ (3,951)

7-4-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *