บาลีวันละคำ

บาลีในคาถาบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (บาลีวันละคำ 954)

บาลีในคาถาบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

คำบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเท่าที่ปรากฏทั่วไปมีข้อความดังนี้ :

(1) โอม  สิโน  ราชาเทวะ  ชะยะ  ตุภะวัง  สัพพะศัตรู  วินาสสันติ

(2) โอม  สิโน  ราชา  เทวะ  นะมา  มิหัง

โอม สิโน ราชาเทวะ ชะยะ ตุภะวัง สัพเพศัตรู วินาส สันติ

(3) ปู่ตาก ตะอุ อิตัง ตากสิน ราชะ โยตังอิ

หมายเหตุ : สะกดและวรรคตอนตามที่พบทั่วไป

ข้อมูลเบื้องต้น :

(๑) คำว่า “คาถา” (ในคำว่า “คาถาบูชา…”) เป็นภาษาบาลี เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยมีความหมายดังที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) คาถา ๑ : (คำนาม) คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.

(2) คาถา ๒, คาถาอาคม : (คำนาม) คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์.

(๒) “คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี” หมายถึงกาพย์กลอนโคลงฉันท์ที่แต่งเป็นภาษาบาลี โดยกำหนดจำนวนคำในแต่ละวรรค (บาท) และบังคับว่าคำในลำดับที่เท่าไรในวรรคจะต้องเป็นคำครุหรือลหุ (ที่เรียกว่า “คณะฉันท์”)

คำบูชาข้างต้นมิได้มีลักษณะดังกล่าวนี้ จึงไม่ใช่ “คาถา” ตามความหมายในข้อ (1) แต่เป็นคาถาตามความหมายในข้อ (2) คือ “คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์

(๓) ภาษาบาลีเขียนแยกเป็นคำๆ แบบเดียวกับภาษาอังกฤษ

ถ้าเขียนติดกัน ก็ไม่เป็นภาษา เช่น :

LONGLIVETHEKING

ทีฆายุโกโหตุมหาราชา

ถ้าแยกคำไม่ถูกต้อง ก็อ่านไม่ได้ความ :

LON  GLI  VET  HEK  ING

ที  ฆายุ  โกโห  ตุม  หารา  ชา

ทีฆายุโกโหตุ / มหาราชาผิด

ทีฆายุโก / โหตุมหาราชาผิด

แยกคำถูกต้อง จึงอ่านได้ความ :

ทีฆายุโก  โหตุ  มหาราชา

LONG  LIVE  THE  KING

————-

ต่อไปนี้เป็นความหมายและข้อพิจารณา :

(1) คำว่า “โอม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

โอม : (คำนาม) คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามาใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือเป็นคําศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. (คำกริยา) กล่าวคําขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).”

(2) “สิโน

ก็คือคำว่า “สิน” ที่เป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เอามาประกอบวิภัตติตามแบบคำบาลี

สิน” ที่เป็นพระนามเดิมไม่ใช่ภาษาบาลี ตามหลักแล้วจึงเอามาประกอบวิภัตติแบบบาลีไม่ได้ และตามความเป็นจริงพระนามเดิมของพระองค์ออกเสียงว่า “สิน” ไม่ใช่ “สิโน

สมเด็จพระเจ้าตากสิน

ไม่ใช่-สมเด็จพระเจ้าตากสิโน

สิโน” ในคำบูชาจึงเป็น “บาลีไทย” คือคำไทยที่เอาไปแต่งตัวให้เป็นบาลี

(3) “ราชาเทวะ

อีกที่หนึ่งแยกเป็น “ราชา เทวะ” ตามรูปความคำว่า “ราชา” ควรควบกับ “สิโน” คือเป็น “สิโน  ราชา” (เขียนแยกกัน) แปลว่า “พระราชา (ทรงพระนามว่า) สิน

ส่วน “เทวะ” แยกเป็นอีกคำหนึ่ง เป็นคำขึ้นต้นข้อความเมื่อจะพูดกับพระเจ้าแผ่นดิน คำนี้นิยมแปลกันว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้สมมุติเทพ” หรือถอดเป็นคำสั้นๆ “ขอเดชะ

(4) “ชะยะ” และ “ตุภะวัง

เป็นคำที่แยกผิด ที่ถูกต้องเป็น “ชะยะตุ  ภะวัง

ชะยะตุ” แปลว่า “จงชนะ” ( = ขอพระราชาจงทรงมีชัยชนะ)

ภะวัง” ตามรูปศัพท์แปลว่า “ผู้เจริญ” ตัวอย่างเช่นในคำว่า “ธัมมะกาโม  ภะวัง  โหติ = ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ

(5) “สัพพะศัตรู

เป็นการเขียนแบบบาลีไทย คำว่า “ศัตรู” ก็เป็นคำที่สะกดแบบที่ใช้ในภาษาไทยชัดเจน

สัพพะศัตรู” เขียนแบบบาลีเป็น “สพฺพสตฺตู” (สับ-พะ-สัด-ตู) แปลว่า “ศัตรูทั้งปวง

คำบูชาบางแห่งเป็น “สัพเพศัตรู

ถ้าเป็น “สัพเพ..” ต้องแยกเป็น 2 คำ คือ สพฺเพ  สตฺตู > สัพเพ  สัตตู หรือสะกดแบบบาลีไทย > สัพเพ  ศัตรู (โปรดเทียบ สัพเพ  สัตตา ที่เราคุ้นกันดี)

(6) “วินาสสันติ

เป็นการเขียนแบบกึ่งบาลีไทย

ที่สะกดเป็น “วินาสสันติ” ก็คือเอาเสียงคำว่า “วินาศ” ที่มีใช้ในภาษาไทยมาเขียนนั่นเอง

คำนี้บาลีเป็น “วินสฺสนฺติ” (วิ-นัด-สัน-ติ) แปลว่า พินาศ, เสื่อมสูญ, ละลายไป, หายไป ( = ศัตรูทั้งปวงย่อมพินาศไป)

คำบูชาบางแห่งเขียนแยกเป็น “วินาส  สันติ” โปรดทราบว่าคลาดเคลื่อนเป็น 2 ชั้น

ชั้นหนึ่ง: “วินัส-” เขียนเป็น วินาส

ชั้นสอง: “วินัสสันติ” เป็นคำเดียว แต่ไปแยกเป็น 2 คำ

(7) “นะมา  มิหัง

แยกคำผิด ที่ถูกต้องเขียนติดกันเป็น “นะมามิหัง

นะมามิหัง” เป็นคำ 2 คำที่สนธิกัน คือ นะมามิ + อะหัง

: นมามิ + อหํ = นมามิหํ > นะมามิหัง แปลว่า ข้าพเจ้า (อหํ) ขอนอบน้อม, ขอไหว้ (นมามิ)

(8) “ปู่ตาก ตะอุ อิตัง ตากสิน ราชะ โยตังอิ

ข้อความตอนนี้ “ปู่ตาก” และ “ตากสิน” เป็นคำไทยชัดเจน

คำอื่นมี “ราชะ” คำเดียวที่แปลได้ (ราชะ = พระราชา)

นอกนั้นเป็นคำที่มีเสียงและหน้าตาเหมือนจะเป็นบาลี หรือคำย่อที่เรียกว่า “หัวใจ” เช่น

ตะ” ย่อมาจากคำว่า….

อุ” ย่อมาจาก….

แต่ไม่สามารถเดาได้ว่าเป็นคำอะไร หรือแม้แต่เป็นภาษาอะไรด้วยซ้ำ

สรุป :

(1) “คาถาบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เป็นคำบาลีแบบไทย แปลเป็นคำๆ ได้ ถ้าจะแปลเอาความ ต้องเสริมความเข้าใจเข้าไปเอง ทั้งนี้แล้วแต่ใครจะเข้าใจอย่างไรและต้องการจะให้มีความหมายว่าอย่างไร

(2) มีข้อความบางตอนที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นภาษาอะไร

(3) ผู้เขียนบาลีวันละคำมิได้มีเจตนาจะชี้ว่าคำบูชานี้ถูกหรือผิดแค่ไหนอย่างไร เพียงแต่อธิบายตามหลักภาษาบาลีเท่าที่จะอธิบายได้ ด้วยความประสงค์ว่า ผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสกล่าวคำบูชานี้ควรจะได้ปัญญาความรู้ในคำที่ตนกล่าวเท่าที่จะสามารถเข้าใจได้

: ถ้าศรัทธาประกอบด้วยปัญญา คำบูชาก็ศักดิ์สิทธิ์

: ถ้าศรัทธาขาดปัญญา คำบูชาก็วิปริต

—————

(๒๘ ธันวาคม : วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)

#บาลีวันละคำ (954)

28-12-57

บาลีในคาถาบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

คำบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเท่าที่ปรากฏทั่วไปมีข้อความดังนี้ :

(1) โอม  สิโน  ราชาเทวะ  ชะยะ  ตุภะวัง  สัพพะศัตรู  วินาสสันติ

(2) โอม  สิโน  ราชา  เทวะ  นะมา  มิหัง

โอม สิโน ราชาเทวะ ชะยะ ตุภะวัง สัพเพศัตรู วินาส สันติ

(3) ปู่ตาก ตะอุ อิตัง ตากสิน ราชะ โยตังอิ

หมายเหตุ : สะกดและวรรคตอนตามที่พบทั่วไป

ข้อมูลเบื้องต้น :

(๑) คำว่า “คาถา” (ในคำว่า “คาถาบูชา…”) เป็นภาษาบาลี เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยมีความหมายดังที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) คาถา ๑ : (คำนาม) คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.

(2) คาถา ๒, คาถาอาคม : (คำนาม) คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์.

(๒) “คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี” หมายถึงกาพย์กลอนโคลงฉันท์ที่แต่งเป็นภาษาบาลี โดยกำหนดจำนวนคำในแต่ละวรรค (บาท) และบังคับว่าคำในลำดับที่เท่าไรในวรรคจะต้องเป็นคำครุหรือลหุ (ที่เรียกว่า “คณะฉันท์”)

คำบูชาข้างต้นมิได้มีลักษณะดังกล่าวนี้ จึงไม่ใช่ “คาถา” ตามความหมายในข้อ (1) แต่เป็นคาถาตามความหมายในข้อ (2) คือ “คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์

(๓) ภาษาบาลีเขียนแยกเป็นคำๆ แบบเดียวกับภาษาอังกฤษ

ถ้าเขียนติดกัน ก็ไม่เป็นภาษา เช่น :

LONGLIVETHEKING

ทีฆายุโกโหตุมหาราชา

ถ้าแยกคำไม่ถูกต้อง ก็อ่านไม่ได้ความ :

LON  GLI  VET  HEK  ING

ที  ฆายุ  โกโห  ตุม  หารา  ชา

ทีฆายุโกโหตุ / มหาราชาผิด

ทีฆายุโก / โหตุมหาราชาผิด

แยกคำถูกต้อง จึงอ่านได้ความ :

ทีฆายุโก  โหตุ  มหาราชา

LONG  LIVE  THE  KING

————-

ต่อไปนี้เป็นความหมายและข้อพิจารณา :

(1) คำว่า “โอม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

โอม : (คำนาม) คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามาใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือเป็นคําศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. (คำกริยา) กล่าวคําขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).”

(2) “สิโน

ก็คือคำว่า “สิน” ที่เป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เอามาประกอบวิภัตติตามแบบคำบาลี

สิน” ที่เป็นพระนามเดิมไม่ใช่ภาษาบาลี ตามหลักแล้วจึงเอามาประกอบวิภัตติแบบบาลีไม่ได้ และตามความเป็นจริงพระนามเดิมของพระองค์ออกเสียงว่า “สิน” ไม่ใช่ “สิโน

สมเด็จพระเจ้าตากสิน

ไม่ใช่-สมเด็จพระเจ้าตากสิโน

สิโน” ในคำบูชาจึงเป็น “บาลีไทย” คือคำไทยที่เอาไปแต่งตัวให้เป็นบาลี

(3) “ราชาเทวะ

อีกที่หนึ่งแยกเป็น “ราชา เทวะ” ตามรูปความคำว่า “ราชา” ควรควบกับ “สิโน” คือเป็น “สิโน  ราชา” (เขียนแยกกัน) แปลว่า “พระราชา (ทรงพระนามว่า) สิน

ส่วน “เทวะ” แยกเป็นอีกคำหนึ่ง เป็นคำขึ้นต้นข้อความเมื่อจะพูดกับพระเจ้าแผ่นดิน คำนี้นิยมแปลกันว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้สมมุติเทพ” หรือถอดเป็นคำสั้นๆ “ขอเดชะ

(4) “ชะยะ” และ “ตุภะวัง

เป็นคำที่แยกผิด ที่ถูกต้องเป็น “ชะยะตุ  ภะวัง

ชะยะตุ” แปลว่า “จงชนะ” ( = ขอพระราชาจงทรงมีชัยชนะ)

ภะวัง” ตามรูปศัพท์แปลว่า “ผู้เจริญ” ตัวอย่างเช่นในคำว่า “ธัมมะกาโม  ภะวัง  โหติ = ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ

(5) “สัพพะศัตรู

เป็นการเขียนแบบบาลีไทย คำว่า “ศัตรู” ก็เป็นคำที่สะกดแบบที่ใช้ในภาษาไทยชัดเจน

สัพพะศัตรู” เขียนแบบบาลีเป็น “สพฺพสตฺตู” (สับ-พะ-สัด-ตู) แปลว่า “ศัตรูทั้งปวง

คำบูชาบางแห่งเป็น “สัพเพศัตรู

ถ้าเป็น “สัพเพ..” ต้องแยกเป็น 2 คำ คือ สพฺเพ  สตฺตู > สัพเพ  สัตตู หรือสะกดแบบบาลีไทย > สัพเพ  ศัตรู (โปรดเทียบ สัพเพ  สัตตา ที่เราคุ้นกันดี)

(6) “วินาสสันติ

เป็นการเขียนแบบกึ่งบาลีไทย

ที่สะกดเป็น “วินาสสันติ” ก็คือเอาเสียงคำว่า “วินาศ” ที่มีใช้ในภาษาไทยมาเขียนนั่นเอง

คำนี้บาลีเป็น “วินสฺสนฺติ” (วิ-นัด-สัน-ติ) แปลว่า พินาศ, เสื่อมสูญ, ละลายไป, หายไป ( = ศัตรูทั้งปวงย่อมพินาศไป)

คำบูชาบางแห่งเขียนแยกเป็น “วินาส  สันติ” โปรดทราบว่าคลาดเคลื่อนเป็น 2 ชั้น

ชั้นหนึ่ง: “วินัส-” เขียนเป็น วินาส

ชั้นสอง: “วินัสสันติ” เป็นคำเดียว แต่ไปแยกเป็น 2 คำ

(7) “นะมา  มิหัง

แยกคำผิด ที่ถูกต้องเขียนติดกันเป็น “นะมามิหัง

นะมามิหัง” เป็นคำ 2 คำที่สนธิกัน คือ นะมามิ + อะหัง

: นมามิ + อหํ = นมามิหํ > นะมามิหัง แปลว่า ข้าพเจ้า (อหํ) ขอนอบน้อม, ขอไหว้ (นมามิ)

(8) “ปู่ตาก ตะอุ อิตัง ตากสิน ราชะ โยตังอิ

ข้อความตอนนี้ “ปู่ตาก” และ “ตากสิน” เป็นคำไทยชัดเจน

คำอื่นมี “ราชะ” คำเดียวที่แปลได้ (ราชะ = พระราชา)

นอกนั้นเป็นคำที่มีเสียงและหน้าตาเหมือนจะเป็นบาลี หรือคำย่อที่เรียกว่า “หัวใจ” เช่น

ตะ” ย่อมาจากคำว่า….

อุ” ย่อมาจาก….

แต่ไม่สามารถเดาได้ว่าเป็นคำอะไร หรือแม้แต่เป็นภาษาอะไรด้วยซ้ำ

สรุป :

(1) “คาถาบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เป็นคำบาลีแบบไทย แปลเป็นคำๆ ได้ ถ้าจะแปลเอาความ ต้องเสริมความเข้าใจเข้าไปเอง ทั้งนี้แล้วแต่ใครจะเข้าใจอย่างไรและต้องการจะให้มีความหมายว่าอย่างไร

(2) มีข้อความบางตอนที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นภาษาอะไร

(3) ผู้เขียนบาลีวันละคำมิได้มีเจตนาจะชี้ว่าคำบูชานี้ถูกหรือผิดแค่ไหนอย่างไร เพียงแต่อธิบายตามหลักภาษาบาลีเท่าที่จะอธิบายได้ ด้วยความประสงค์ว่า ผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสกล่าวคำบูชานี้ควรจะได้ปัญญาความรู้ในคำที่ตนกล่าวเท่าที่จะสามารถเข้าใจได้

: ถ้าศรัทธาประกอบด้วยปัญญา คำบูชาก็ศักดิ์สิทธิ์

: ถ้าศรัทธาขาดปัญญา คำบูชาก็วิปริต

—————

(๒๘ ธันวาคม : วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)

#บาลีวันละคำ (954)

28-12-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *