บาลีวันละคำ

ภัสมธุลี (บาลีวันละคำ 2,597)

ภัสมธุลี

คำที่กำลังจะเข้าพิพิธภัณฑ์

อ่านว่า พัด-สะ-มะ-ทุ-ลี

แยกศัพท์เป็น ภัสม + ธุลี

(๑) “ภัสม

เขียนแบบบาลีเป็น “ภสฺม” อ่านว่า พัด-ส๎มะ รากศัพท์มาจาก –

(1) (ความรุ่งเรือง) + สิ (ธาตุ = เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ อิ ที่สุดธาตุ (สิ > )

: + สิ = ภสิ + = ภสิม > ภสฺม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยังความรุ่งเรืองของสำริดและผ้าที่สกปรกให้เป็นไป

(2) ภสฺ (ธาตุ = ตกไป; ถูกทำให้เป็นเถ้า) + ปัจจัย

: ภสฺ + = ภสฺม แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเครื่องตกไปแห่งความสกปรกของผ้าเป็นต้น” (2) “สิ่งที่ไหม้” หรือ “สิ่งที่ถูกทำให้เป็นเถ้า

ภสฺม” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เถ้า, ขี้เถ้า (ashes)

(2) อนุภาค, ฝุ่น, ทราย (particle, dust, sand) (เป็นความหมายโดยนัย)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภัสมะ : (คำนาม) เถ้า, ธุลี. (คำกริยา) ทําให้แหลก. (คำวิเศษณ์) แหลก, ละเอียด. (ป., ส.).

(๒) “ธุลี

บาลีอ่านว่า ทุ-ลี รากศัพท์มาจาก ธุ (ธาตุ = หวั่นไหว) + ลิ ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ ลิ เป็น อี (ลิ > ลี)

: ธุ + ลิ = ธุลิ > ธุลี แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่หวั่นไหว” (คือเคลื่อนไหว, ปลิวว่อนไป) หมายถึง ผง, ฝุ่น, ละออง (powder; dust)

ธุลี” ยังกลายรูปเป็น “ธูลิ” (ทู-ลิ) ได้อีกรูปหนึ่ง คือ ธุ + ลิ ปัจจัย, ทีฆะ อุ ที่ ธุ เป็น อู (ธุ > ธู) ลิ ปัจจัยคงรูปเป็น ลิ

: ธุ + ลิ = ธุลิ > ธูลิ

บาลี “ธุลี” และ “ธูลิ” สันสกฤตเป็น “ธูลิ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ธูลิ : (คำนาม) ‘ธุลี,’ ฝุ่น, ผง, ละออง; ปริมาณ, จำนวน; dust; a number.”

ภัสม + ธุลี = ภัสมธุลี แปลตามศัพท์ว่า (1) “เถ้าและฝุ่น” (2) “ฝุ่นที่ละเอียดดังเถ้าถ่าน

ภัสมธุลี” เป็นศัพท์ที่ใช้กันในภาษาไทย บาลีมีศัพท์ว่า “ภสฺม” และ “ธุลี” แต่ไม่มีศัพท์ที่รวมกันเป็น “ภสฺมธุลี

ภัสมธุลี” ในภาษาไทยหมายถึง (1) สิ่งที่ละเอียดจนเหลือที่จะบรรยายได้ (2) สิ่งที่ถูกทำให้แหลกเป็นเถ้าธุลี หรือแหลกละเอียดเป็นผุยผง

ภัสมธุลี” เป็นคำที่นักเขียนหรือนักประพันธ์ใช้ในเชิงอุปมาให้เห็นเป็นภาพว่า มีการสูญเสียหรือเสียหายยับเยินจนไม่เหลือชิ้นดี คือไม่เหลืออะไรอีกเลย เช่น –

“ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองฮิโรชิมะถูกระเบิดปรมาณูแหลกเป็นภัสมธุลี”

ภัสมธุลี” มักใช้เป็นภาษาเขียน ไม่ใช่ภาษาพูด ดังนั้น คนรุ่นใหม่ที่ไม่ใช่นักอ่านหรือไม่ชอบอ่านหนังสือน่าจะไม่รู้จักคำนี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คนพาลตกลงใจโดยไม่รู้จักคิด

: บัณฑิตคิดละเอียดแล้วจึงตกลงใจ

#บาลีวันละคำ (2,597)

23-7-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย