ดูกร

บาลีวันละคำ

ดูกร (บาลีวันละคำ 759)

ดูกร
คำไทยที่ถูกอ่านเป็นบาลี
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –
“ดูกร : คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วยให้สนใจฟัง”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้ไขบทนิยามใหม่เป็นดังนี้ –
“ดูกร : คำกล่าวเรียกผู้ที่จะสนทนาด้วย เป็นคำที่ผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น ดูกรเจ้าชาลีลูกรัก (ม. ร่ายยาว กุมาร)”
คำว่า “ดูกร” พจน.บอกคำอ่านไว้ว่า ดู-กะ-ระ และ ดู-กอน
ทั้ง ดูกะระ และ ดูกอน เป็นคำอ่านที่มีนัยเหมือนคำบาลี
คำบาลีว่า “กร” (กะ-ระ) ที่คุ้นกันในภาษาไทย คือที่แปลว่า “มือ” หรือ “ผู้ทำ” เช่น ทินกร = “ผู้ทำกลางวัน” คือดวงอาทิตย์
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษแปลคำว่า “กร” ว่า “the maker” และ ไขความว่า “the hand” เพราะเป็น “ผู้ทำ” นั่นเองจึงหมายถึง “มือ” เนื่องจากเราใช้มือทำกิจต่างๆ มากที่สุด
“กร” ในบาลียังมีความหมายอื่นๆ อีก เช่น รัศมี, แสงสว่าง, งวงช้าง, อากร, ภาษี, ส่วย, น้ำ
แต่คำว่า “ดูกร” ไม่ได้มีความหมายตามคำบาลีใดๆ ทั้งสิ้น

Read More