ทิฐิมานะ

บาลีวันละคำ

ทิฐิมานะ (บาลีวันละคำ 794)

ทิฐิมานะ

อ่านว่า ทิด-ถิ-มา-นะ
ประกอบด้วยคำว่า ทิฐิ + มานะ

“ทิฐิ” บาลีเป็น “ทิฏฺฐิ” (ทิด-ถิ)
โปรดสังเกต บาลีมี ฏ ปฏักสะกด ภาษาไทย(ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) ตัด ฏ ออก

“ทิฏฺฐิ” รากศัพท์มาจาก ทิสฺ (ธาตุ = เห็น) + ติ ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ, แปลง ติ เป็น ฏฺฐิ

: ทิสฺ > ทิ + ติ > ฏฺฐิ : ทิ + ฏฺฐิ = ทิฏฺฐิ แปลตามศัพท์ว่า “ความเห็น” หมายถึง ความคิดเห็น, ความเชื่อ, หลักลัทธิ, ทฤษฎี, การเก็ง, ทฤษฎีที่ผิด, ความเห็นที่ปราศจากเหตุผลหรือมูลฐาน (view, belief, dogma, theory, speculation, false theory, groundless or unfounded opinion)

ในภาษาธรรม ถ้าพูดเฉพาะ “ทิฏฺฐิ” จะหมายถึง ความเห็นผิด
ถ้าต้องการชี้เฉพาะ จะมีคำบ่งชี้นำหน้า คือ “มิจฺฉาทิฏฺฐิ” = ความเห็นผิด “สมฺมาทิฏฺฐิ” = ความเห็นถูก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

“ทิฐิ : (คำนาม) ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก”

Read More