บูรพาพยัคฆ์

บาลีวันละคำ

บูรพาพยัคฆ์ (บาลีวันละคำ 745)

บูรพาพยัคฆ์
(บาลีไทย)
อ่านว่า บู-ระ-พา-พะ-ยัก
เทียบบาลีเป็น “ปุพฺพพฺยคฺฆ” อ่านว่า ปุบ-พะ-พฺยัก-คะ
(พฺยัก- ออกเสียงเหมือน เพียก-)
ประกอบด้วย ปุพฺพ + พฺยคฺฆ
“ปุพฺพ” แปลว่า อดีต, เคยมีมาก่อน, แต่ก่อน, เบื้องหน้า, ตะวันออก
“ปุพฺพ” สันสกฤตเป็น “ปูรฺว” ในภาษาไทยใช้ตามบาลีก็มี เช่น –
(1) เป็น บุพ- เช่น บุพการี = “ผู้ที่ทําอุปการะมาก่อน”
(2) เป็น บุพพ- เช่น บุพพาจารย์ = “อาจารย์ในเบื้องต้น”
ใช้อิงสันสกฤต โดย –
(1) แผลง ปู เป็น บุ แผลง ว เป็น พ : ปูรฺว > บุรว > บุรพ ก็มี เช่น บุรพทิศ = “ทิศตะวันออก”
(2) แผลง ปู เป็น บู แผลง ว เป็น พ = บูรพ ก็มี เช่น บูรพาจารย์ = “อาจารย์ในเบื้องต้น”
(3) แผลง ปูรฺว เป็น บรรพ ก็มี เช่น บรรพบุรุษ = “คนผู้มีมาก่อน” แต่ปางบรรพ์ = แต่ปางก่อน

Read More