ภาษา กับ อักษร

บาลีวันละคำ

ภาษา กับ อักษร (บาลีวันละคำ 781)

ภาษา กับ อักษร

“ภาษา” บาลีเป็น “ภาสา” (ส เสือ) อ่านว่า พา-สา
สันสกฤตเป็น “ภาษา” (ษ ฤๅษี) เราเขียนตามสันสกฤตเป็น “ภาษา”

“ภาสา” รากศัพท์มาจาก –

(1) ภาส (ธาตุ = พูด) + อ ปัจจัย + อา (ปัจจัยอิตถีลิง์)
: ภาส + อ = ภาส + อา = ภาสา แปลตามศัพท์ว่า “การพูด” “วาจาอันคนพูด”

(2) ภา (ธาตุ = สว่าง, รุ่งเรือง) + ส ปัจจัย + อา (ปัจจัยอิตถีลิง์)
: ภา + ส = ภาส + อา = ภาสา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ส่องสว่าง” “สิ่งที่รุ่งเรือง”

ภาสา – ภาษา ความหมายที่เข้าใจกันคือ คำพูด, ถ้อยคำ, วาจา (speech, language)

“อักษร” บาลีเป็น “อกฺขร” อ่านว่า อัก-ขะ-ระ
สันสกฤตเป็น “อกฺษร” เราเขียนตามสันสกฤตเป็น “อักษร” (อัก-สอน)

“อกฺขร” รากศัพท์มาจาก –

(1) น (= ไม่, ไม่ใช่) + ขร (= แข็ง, ธาตุ = พินาศ) + อ ปัจจัย, แปลง น เป็น อ, ซ้อน ก
: น > อ (+ ก) + ขรฺ = อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่เป็นของแข็ง” “สิ่งที่ไม่พินาศไป” คือไม่เสื่อมสิ้นไป

(2) น (= ไม่, ไม่ใช่) + ขี (ธาตุ = สิ้นไป) + อร ปัจจัย, แปลง น เป็น อ, แปลง อี (ที่ ขี) เป็น อ, ซ้อน ก
: น > อ (+ ก) + ขี = อกฺขี > อกฺข + อร = อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่สิ้นไป” คือใช้ไม่มีวันหมด

Read More