วัชทัสสี

บาลีวันละคำ

วัชทัสสี (บาลีวันละคำ 3,219)

วัชทัสสี

ชี้โทษ ไม่ใช่จับผิด

อ่านว่า วัด-ชะ-ทัด-สี

ประกอบด้วยคำว่า วัช + ทัสสี

(๑) “วัช”

บาลีเป็น “วชฺช” อ่านว่า วัด-ชะ รากศัพท์มาจาก วชฺช (ธาตุ = ละ, เว้น) + อ (อะ) ปัจจัย

: วชฺชฺ + อ = วชฺช (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันบัณฑิตพึงละหรือต้องละ” หมายถึง ข้อควรเว้น, ความผิด, บาป (that which should be avoided, a fault, sin)

บาลี “วชฺช” ภาษาไทยใช้เป็น “วัชชะ” ตรงตัวก็มี (กรณีใช้คำเดียวหรืออยู่ท้ายคำ) ตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “วัช” ก็มี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

“วัช ๒, วัช-, วัชชะ ๑ : (คำนาม) สิ่งที่ควรละทิ้ง; โทษ, ความผิด. (ป. วชฺช; ส. วรฺชฺย, วรฺชฺช).”

(๒) “ทัสสี”

เขียนแบบบาลีเป็น “ทสฺสี” อ่านว่า ทัด-สี รากศัพท์มาจาก ทิสฺ (ธาตุ = ดู, เห็น; แสดง, ชี้แจง; ให้รู้, บอก) + ณี ปัจจัย, ลบ ณ (ณี > อี), แปลง ทิสฺ เป็น ทสฺส

: ทิสฺ > ทสฺสฺ + ณี > อี : ทสฺสฺ + อี = ทสฺสี (คุณศัพท์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีปกติเห็น-” “ผู้มีปกติแสดง-” “ผู้มีปกติบอกให้รู้”

“ทสฺสี” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง เห็น, พบ, ประจักษ์, สังเกตหรือกำหนดรู้ (seeing, finding, realizing, perceiving)

Read More