สวรรคต

บาลีวันละคำ

สวรรคต (บาลีวันละคำ 791)

สวรรคต

อ่านว่า สะ-หฺวัน-คด
บาลีเป็น “สคฺคคต” อ่านว่า สัก-คะ-คะ-ตะ
ประกอบด้วย สคฺค + คต

“สคฺค” รากศัพท์มาจาก สุ (= ดี, งาม) + อคฺค ลบ อุ ที่ สุ
“อคฺค” มีความหมายว่า เด่น, ยอดเยี่ยม, ดีที่สุด, สูงสุด, สำคัญที่สุด (illustrious, excellent, the best, highest, chief)

: สุ > ส + อคฺค = สคฺค

“สคฺค” (สันสกฤตเป็น สฺวรฺค) แปลตามศัพท์ว่า “ที่ดำรงอยู่ยืนนานและสวยงาม” “แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วยกามคุณ” “แดนที่มีอารมณ์อันเลิศ” (คือได้พบเห็นสัมผัสแต่สิ่งที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ) “แดนที่ติดข้อง”

ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “สวรรค์” (สะ-หฺวัน) พจน.54 บอกความหมายไว้ว่า “โลกของเทวดา, เมืองฟ้า”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล สคฺค ว่า heaven, the next world (สวรรค์, โลกหน้า) แล้วขยายความว่า popularly conceived as a place of happiness and long life (ตามมโนภาพทั่วๆ ไป เข้าใจกันว่าเป็นสถานที่มีควมสุขและมีอายุยืน)

ตามปกติคำว่า “สคฺค” หมายถึง สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี
แต่ความหมายในวงกว้าง “สคฺค” หมายถึงเทวโลกทุกภพภูมิ

“คต” (คะ-ตะ) รากศัพท์มาจาก คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ต ปัจจัย (ปัจจัยตัวนี้ใช้หมายถึง อดีตกาล คือแปลว่า “-แล้ว” เช่น กินแล้ว, ทำแล้ว), ลบที่สุดธาตุ

Read More