อธิปไตยชื่อแปลกๆ

บาลีวันละคำ

อธิปไตยชื่อแปลกๆ (บาลีวันละคำ 780)

อธิปไตยชื่อแปลกๆ

ผู้เขียนบาลีวันละคำได้อ่านโพสต์ของ Koson Chopaka เมื่อ 7 กรกฎาคม 2557 ยกคำที่ อริสโตเติล ใช้ในงานนิพนธ์เรื่อง มิตรภาพ ตาม “ศัพท์ของพ่อก้อน คนรุ่น พ.ศ. 2468 ต้นรัชกาลที่ 7” ในหนังสือ (ดูภาพประกอบ) มาแสดง มีข้อความเป็นคำเรียกอธิปไตยเป็นคำบาลีหลายคำ เห็นว่าเป็นคำที่แปลก แต่น่ารู้ จึงขอยกมาแสดงความหมายทางภาษา ดังนี้ (ในที่นี้ไม่อธิบายคำว่า “อธิปไตย” เพราะเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปแล้ว)

(1) กุลีนาธิปไตย ตรงกับ Aristocracy เป็นวิธีปกครองของเจ้า หรือคนชั้นสูง.

กุลีน + อธิปไตย = กุลีนาธิปไตย

กุลีน มาจาก กุล (= ตระกูล) + อิน ปัจจัย, ทีฆะ อิ เป็น อี = กุลีน แปลว่า ผู้มีสกุล, ผู้สูงศักดิ์, ผู้ดี (descendant of a recognized clan) เรียกตามภาษาปากสมัยนิยมก็น่าจะตรงกับ “ไฮ-โซ”

(2) ธนิกาธิปไตย ตรงกับ Timocracy เป็นวิธีปกครองของพลเมืองที่มีสมบัติและรายได้พอเพียงตามฐานะ.

ธนิก + อธิปไตย = ธนิกาธิปไตย
ธนิก มาจาก ธน + อิก ปัจจัย (ปัจจัยตัวนี้มีความหมายว่า “ผู้มี-” หรือ “ผู้ประกอบด้วย-”) = ธนิก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีทรัพย์” แต่ใช้ในความหมายว่า เจ้าหนี้ (a creditor) คำที่เข้าใจกันง่ายๆ คือ คนมีเงิน พวกเศรษฐี หรือภาษาปากว่า “คนมีกะตังค์”

(3) ทารุณาธิปไตย ตรงกับ Tyranny เป็นวิธีปกครองของกษัตริย์ที่ไม่เห็นแก่ทศพิธราชธรรมและโหดร้าย.

Read More