บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง ผู้ล่วงพ้นความกลัวตาย

ผู้ล่วงพ้นความกลัวตาย (๗)

————————-

หลักวิชาในพระพุทธศาสนาที่แสดงถึง “ผู้ล่วงพ้นความกลัวตาย” หรือที่ตั้งเป็นคำถามว่า ใครบ้างที่ไม่กลัวตาย

ข้อมูลที่หนึ่ง:

ในอภยสูตร คัมภีร์จตุกนิบาต อังคุตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่ม ๒๑ ข้อ ๑๘๔ พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนที่ไม่กลัวตายมี ๔ แบบ

แบบที่หนึ่ง สอง และสามแสดงไปแล้ว ต่อไปนี้เป็นแบบที่สี่

………………

แบบที่สี่

บุคคลบางคนในโลกนี้ —

ไม่มีความสงสัยในพระสัทธรรม (อกงฺขี สทฺธมฺเม)

ไม่มีความเคลือบแคลงในพระสัทธรรม (อวิจิกิจฺฉี สทฺธมฺเม)

ประลุถึงจุดสูงสุดในพระสัทธรรม (นิฏฺฐํ คโต สทฺธมฺเม)

บุคคลเช่นนี้ถูกโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่ง (ที่ทำให้ถึงตายได้) กระทบเข้า ย่อมมีแต่ความคิดคำนึง (ด้วยความบันเทิงในธรรม) ว่า –

เราไม่มีความสงสัยในพระสัทธรรม (อกงฺขี สทฺธมฺเม)

เราไม่มีความเคลือบแคลงในพระสัทธรรม (อวิจิกิจฺฉี สทฺธมฺเม)

เราประลุถึงจุดสูงสุดในพระสัทธรรม (นิฏฺฐํ คโต สทฺธมฺเม)

เขาย่อมไม่เศร้าโศก (น โสจติ) ไม่ลำบาก (น กิลมติ) ไม่ร่ำไร (น ปริเทวติ) ไม่ทุบอกคร่ำครวญ (น อุรตฺตาฬี กนฺทติ) ไม่ถึงความหลงใหล (น สมฺโมหํ อาปชฺชติ)

ดูก่อนพราหมณ์ แม้บุคคลเช่นนี้แลผู้มีความตายเป็นธรรมดา ก็ย่อมไม่กลัวไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย

………………

ผู้ไม่กลัวตายแบบที่สี่นี้อาจจะเข้าใจยากอยู่สักหน่อย ขออนุญาตขยายความ

คุณสมบัติประจำตัวท่านใช้คำว่า –

อกงฺขี = ไม่มีความสงสัย

อวิจิกิจฺฉี = ไม่มีความเคลือบแคลง

นิฏฺฐํ คโต = ประลุถึงจุดสูงสุด

ทั้งหมดนี้รวมจุดเป้าหมายอยู่ “สทฺธมฺเม = ในพระสัทธรรม”

“สทฺธมฺเม” หรือ “สทฺธมฺม” เป็นคำรวม หมายเอาทั้งหมดทั้งปวงที่ประกอบกันเป็น “พระพุทธศาสนา” คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

อะไรที่เป็นพระพุทธศาสนาแล้ว บุคคลจำพวกนี้ไม่มีความสงสัยเคลือบแคลง นั่นหมายถึงสามารถแยกแยะจนเห็นชัดเห็นตรงเห็นถูกว่าอะไรใช่ อะไรไม่ใช่

ไม่ต้องมานั่งถามว่า แบบนี้มันใช่หรือ-อย่างที่เราท่านในสมัยนี้มักจะต้องถามกันอยู่ไม่รู้แล้ว

ที่นิยมทำกันมากอย่างหนึ่งคือ ต้องสอบสวนเทียบเคียงกับหลักคำสอนในศาสนาโน้น กับหลักปรัชญาของปราชญ์นั้น กับทฤษฎีนี้ให้ทั่วถึงก่อน จึงจะแน่ใจ

บุคคลจำพวกนี้ผ่านจุดนั้นไปแล้ว

และเมื่อจับถูกตัวพระพุทธศาสนาแล้วก็ไม่ต้องมานั่งสงสัยลังเลว่า-ปฏิบัติอย่างนี้นี่จะพาเราไปสู่ความพ้นทุกข์ได้จริงหรือ เพราะพิสูจน์ตัดสินได้ด้วยตัวเอง นั่นคือ นิฏฺฐํ คโต = ประลุถึงจุดสูงสุด

ถ้ายังไม่ถึงจุดสูงสุดก็ยังจะต้องสงสัยอยู่ร่ำไปว่า-มันใช่หรือ

ก็คือ-ยังไม่พร้อมที่จะตาย

พอ – นิฏฺฐํ คโต ประลุถึงจุดสูงสุด – ก็พร้อม

สภาวะตรงนี้มีคำบาลีบรรยายไว้ว่า –

ขีณา  ชาติ = การเกิดจบสิ้นแล้ว

วุสิตํ  พฺรหฺมจริยํ = การประพฤติอย่างประเสริฐเสร็จสมบูรณ์แล้ว

กตํ  กรณียํ = กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว

นาปรํ  อิตฺถตฺตาย = ไม่มีอะไรที่จะต้องทำอย่างนี้อีก

อกุปฺปา  เม  วิมุตฺติ = หลุดพ้นแล้วไม่กลับมาติดอีก

อยมนฺติมา  ชาติ = ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย

นตฺถิทานิ  ปุนพฺภโว = ไม่ต้องเกิดใหม่อีกต่อไป

บุคคลเช่นนี้แหละที่ไม่กลัวตาย เพราะหมดธุระในโลกนี้แล้ว พร้อมตายอยู่แล้ว

………….

ตอนต่อไป … ใครบ้างที่ไม่กลัวตาย : ข้อมูลที่สอง

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๓ มีนาคม ๒๕๖๓

๑๑:๔๕

Sueb Lim

——–

นิฏฺฐา ๑

(อิต. f.) [สัน. นิษฺฐา; นิ + ฐา, ภาวนาม ของ คุณ., ปัจจัย -ฐ Sk. niṣṭhā; ni+ṭhā, abstr. of adj. — suff. ˚ṭha]

พื้นฐาน, รากฐาน, ความคุ้นเคย basis, foundation, familiarity with สุตฺ.นิ.864 (อธิบายไว้ สุตฺ.นิ.อ.551 เป็น สมิทฺธิ, แต่ดู มหา.นิ.263 expl. SnA 551 by samiddhi, but see Nd1 263).

นิฏฺฐา ๒

(อิต. f.) [เวท. นิษฺฐา (นิหฺษฺฐา), นิสฺ + ฐา จาก -ฐ Vedic niṣṭhā (niḥṣṭhā), nis+ṭhā from ˚ṭha]

อวสาน, การจบลง, การสิ้นสุด end, conclusion; ความสำเร็จ, ความสมบูรณ์, ยอดสูง, สุดยอด perfection, height, summit; วัตถุประสงค์, ความมุ่งหมาย object, aim วิ.1/255; สํ.2/186; องฺ.1/279 (เรื่อง object); ปฏิ.ส.1/161. นิฏฺฐํ คจฺฉติ ถึงที่สุด niṭṭhaŋ gacchati to come to an end; อุปมา. ถึงความสำเร็จ, สมบูรณ์ในความเชื่อถือ fig. to reach perfection, be completed in the faith ม.1/176; ชา.1/201; มิลินฺ.310; บ่อยที่ใช้เป็น ก.กิ. นิฏฺฐํ คต (นิฏฺฐงฺคต) ผู้บรรลุความสำเร็จสุดยอด freq. in pp. niṭṭhaŋ gata (niṭṭhangata) one who has attained perfection (= ปพฺพชิตานํ อรหตฺตํ ปตฺต =pabbajitānaŋ arahattaŋ patta) ธ.อ.4/70; สํ.3/99 (อ- a-); องฺ.2/175; 3/450; 5/119; ธ.351; ปฏิ.ส.1/81,161.

——

สุตฺตนิปาเต ตติยสฺส มหาวคฺคสฺส ฉฏฺฐํ สภิยสุตฺตํ 

  [๓๖๖]   อถ   โข   สภิยสฺส  ปริพฺพาชกสฺส  เอตทโหสิ  อจฺฉริยํ 

สุตฺต ขุ. ขุทฺทกปาฐ-ธมฺมปทคาถา-…สุตฺตนิปาตา – หน้าที่ 429

ภควนฺตํ ปญฺหํ อปุจฺฉิ 

               กึปตฺตินมาหุ ภิกฺขุนํ (อิติ สภิโย) 

               โสรตํ เกน กถญฺจ ทนฺตมาหุ 

               พุทฺโธติ กถํ ปวุจฺจติ 

               ปุฏฺโฐ เม ภควา พฺยากโรหิ ๑ ฯ 

               ปชฺเชน กเตน อตฺตนา (สภิยาติ ภควา) 

               ปรินิพฺพานคโต วิติณฺณกงฺโข 

               วิภวญฺจ ภวญฺจ วิปฺปหาย  

               วุสิตวา ขีณปุนพฺภโว ส ภิกฺขุ ฯ 

—–

ทีฆนิกายฏฺฐกถา (สุมงฺคลวิลาสินี ๒) – หน้าที่ 618

                *เล่มที่  ๕  มหาสติปฏฺฐานสุตฺตวณฺณนา  หน้า  ๖๑๗

        ตตฺถ  อสฺสาสปสฺสาสกมฺมิโก  อิเม  อสฺสาสปสฺสาสา 

กึนิสฺสิตา ฯ  วตฺถุนิสฺสิตา ฯ  วตฺถุ  นาม  กรชกาโย ฯ  กรชกาโย

นาม  จตฺตาริ  จ  มหาภูตานิ  อุปาทารูปญฺจาติ  เอวํ  รูปํ 

ปริคฺคณฺหติ ฯ  ตโต  ตทารมฺมเณ  ผสฺสปญฺจมเก  นามนฺติ ฯ  เอวํ 

นามรูปํ  ปริคฺคเหตฺวา  ตสฺส  ปจฺจยํ  ปริเยสนฺโต อวิชฺชาทิปฏิจฺจ-

สมุปฺปาทํ  ทิสฺวา  ปจฺจยปจฺจยุปฺปนฺนธมฺมมตฺตเมเวตํ ฯ  อญฺโญ 

สตฺโต  วา  ปุคฺคโล  วา  นตฺถีติ  วิติณฺณกงฺโข  สปจฺจย-

นามรูเป  ติลกฺขณํ  อาโรเปตฺวา  วิปสฺสนํ  วฑฺเฒนฺโต  อนุกฺกเมน 

อรหตฺตํ  ปาปุณาติ ฯ  อิทเมกสฺส  ภิกฺขุโน  ยาว  อรหตฺตา

นิยฺยานมุขํ ฯ 

ทีฆนิกายฏฺฐกถา (สุมงฺคลวิลาสินี ๒) – หน้าที่ 619

                *เล่มที่  ๕  มหาควฺควณฺณนา  หน้า  ๖๑๘

อญฺโญ  สตฺโต  วา  ปุคฺคโล  วา  นตฺถีติ  วิติณฺณกงฺโข  สปจฺจย-

นามรูเป  ติลกฺขณํ  อาโรเปตฺวา  วิปสฺสนํ  วฑฺเฒนฺโต  อนุกฺกเมน 

อรหตฺตํ  ปาปุณาติ ฯ  อิทเมกสฺส  ภิกฺขุโน  ยาว  อรหตฺตา 

นิยฺยานมุขํ ฯ

มชฺฌิมนิกายฏฺฐกถา (ปปญฺจสูทนี ๑) – หน้าที่ 423

                *เล่มที่ ๗  สติปฏฺฐานสุตฺตวณฺณนา หน้า ๔๒๓

ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา เถรคาถาวณฺณนา (ปรมตฺถทีปนี ๑) – หน้าที่ 90

        *เล่มที่ 25  เอกนิปาตวณฺณนา  หน้า  90

ทพฺพตฺเถรคาถาวณฺณนา

ทมิโต ฯ  ทพฺโพติ  ทฺรพฺโย  ภพฺโพติ  อตฺโถ ฯ  เตนาห

ภควา  อิมเมว  เถรํ  สนฺธาย  น  โข  ทพฺพ  ทพฺพา 

เอวํ  นิพฺเพเฐนฺตีติ ฯ  (๑)  สนฺตุสิโตติ(๒)  ยถาลทฺธปจฺจยสนฺโตเสน

ฌานสมาปตฺติสนฺโตเสน  มคฺคผลสนฺโตเสน  จ  สนฺตุฏฺโฐ ฯ

วิติณฺณกงฺโขติ โสฬสวตฺถุกาย  อฏฺฐวตฺถุกาย  จ  กงฺขาย  ปฐม-

มคฺเคเนว  สมุคฺฆาฏิตตฺตา วิคตกงฺโข ฯ  วิชิตาวีติ  ปุริสาชานีเยน

วิเชตพฺพสฺส  สพฺพสฺสปิ  สงฺกิเลสปกฺขสฺส  วิชิตตฺตา วิธมิตตฺตา 

วิชิตาวี ฯ  อเปตเภรโวติ  ปญฺจวีสติยา  ภยานํ  สพฺพโส  อเปตตฺตา 

อปคตเภรโว  อภยูปรโต ฯ  ปุน  ทพฺโพติ  นามกิตฺตนํ ฯ 

ปรินิพฺพุโตติ  เทฺว  ปรินิพฺพานานิ  กิเลสปรินิพฺพานญฺจ  ยา 

สอุปาทิเสสนิพฺพานธาตุ  ขนฺธปรินิพฺพานญฺจ  ยา  อนุปาทิเสส-

นิพฺพานธาตุ ฯ  เตสุ  อิธ กิเลสปรินิพฺพานํ อธิปฺเปตํ

ตสฺมา  ปหาตพฺพธมฺมานํ  มคฺเคน  สพฺพโส  ปหีนตฺตา

กิเลสปรินิพฺพาเนน  ปรินิพฺพุโตติ  อตฺโถ ฯ  ฐิตตฺโตติ  ฐิตสภาโว

อจโล  อิฏฺฐาทีสุ  ตาทิภาวปฺปตฺติยา โลกธมฺเมหิ  อกมฺปนีโย ฯ

หีติ  จ  เหตุอตฺเถ  นิปาโต  เตน  โย  ปุพฺเพ  ทุทฺทโม  หุตฺวา 

ฐิโต  ยสฺมา  ทพฺพตฺตา  สตฺถารา  อุตฺตเมน  ทเมน  ทมิโต

สนฺตุสิโต  วิติณฺณกงฺโข  วิชิตาวี  อเปตเภรโว  ตสฺมา  โส 

ทพฺโพ  ปรินิพฺพุโต  ตโตเยว  จ  ฐิตตฺโต  เอวํ  ภูเต  จ

# ๑. ม. นิพฺเพเฐนฺตีติ ฯ  ๒. ม. สนฺตุสิโตติ ฯ

——-

ประโยค๓ – ธมฺมปทฏฺฐกถา (ปญฺจโม ภาโค) – หน้าที่ 70

                             ” น นคฺคจริยา, น ชฏา, น ปงฺกา,

                              นานาสกา ตณฺฑิลสายิกา วา

                              รโชชลฺลํ อุกฺกุฏิกปฺปธานํ

                              โสเธนฺติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขนฺติ.

        ตตฺถ   นานาสกาติ:   น   อนาสกา,   ภตฺตปฏิกฺเขโปติ  อตฺโถ.

ตณฺฑิลสายิกาติ:   ภูมิสยนํ.   รโชชลฺลนฺติ:   กทฺทมเลปนากาเรน๑

สรีเร   สนฺนิจิตรโช.  อุกฺกุฏิกปฺปธานนฺติ:  อุกฺกุฏิกภาเวน  อารทฺธวิริยํ.

อิทํ   วุตฺตํ   โหติ   ” โย  หิ  มจฺโจ  `เอวํ  อหํ  โลกนิสฺสรณสงฺขาตํ

สุทฺธึ    ปาปุณิสฺสามีติ    อิเมสุ    นคฺคจริยาทีสุ   ยงฺกิญฺจิ   สมาทาย

วตฺเตยฺย,   โส   เกวลํ   มิจฺฉาทสฺสนญฺเจว   วฑฺเฒยฺย  กิลมถสฺส  จ

ภาคี   อสฺส;   น   หิ  เอตานิ  สุสมาทินฺนานิ  อฏฺฐวตฺถุกาย  กงฺขาย

อวิติณฺณภาเวน อวิติณฺณกงฺขํ มจฺจํ โสเธนฺตีติ.

          เทสนาวสาเน พหู โสตาปตฺติผลาทีนิ ปาปุณึสูติ.

                                     พหุภณฺฑิกภิกฺขุวตฺถุ.

๑. สี. ยุ….ลิมฺปนา.

——-

กังขาวิตรณวิสุทธินิทเทส

กังขา ๑๖

ประโยค๘ – วิสุทธิมคฺคสฺส นาม ปกรณวิเสสสฺว (ตติโย ภาโค) – หน้าที่ 221

                        กงฺขาวิตรณวิสุทฺธินิทฺเทโส 

จตฺตาโร   ธมฺมา   นิพฺพตฺตกตฺตา   เหตุ   อาหาโร   อุปตฺถมฺภกตฺตา

ปจฺจโยติ   ปญฺจ   ธมฺมา   เหตุปจฺจยา   โหนฺติ   เตสุปิ  อวิชฺชาทโย

ตโย   อิมสฺส   กายสฺส   มาตา   วิย   ทารกสฺส  อุปนิสฺสยา  โหนฺติ

กมฺมํ   ปิตา   วิย   ปุตฺตสฺส   ชนกํ   อาหาโร  ธาตี  วิย  ทารกสฺส

สนฺธารโกติ ฯ   เอวํ   รูปกายสฺส   ปจฺจยปริคฺคหํ   กตฺวา   ปุน

จกฺขุญฺจ   ปฏิจฺจ   รูเป   จ   อุปฺปชฺชติ   จกฺขุวิญฺญาณนฺติอาทินา๑

นเยน นามกายสฺส ปจฺจยปริคฺคหํ กโรติ ฯ 

        โส   เอวํ   ปจฺจยโต   นามรูปสฺส   ปวตฺตึ   ทิสฺวา   ยถา

อิทํ   เอตรหิ   เอวํ   อตีเตปิ   อทฺธาเน   ปจฺจยโต   ปวตฺติตฺถ

อนาคเตปิ   ปจฺจยโต   ปวตฺติสฺสตีติ   สมนุปสฺสติ ฯ   ตสฺเสวํ

สมนุปสฺสโต   ยา   สา   ปุพฺพนฺตํ   อารพฺภ   อโหสึ   นุโข   อหํ

อตีตมทฺธานํ   น   นุโข   อโหสึ   อตีตมทฺธานํ   กินฺนุโข   อโหสึ

อตีตมทฺธานํ   กถํ   นุโข   อโหสึ  อตีตมทฺธานํ  กึ  หุตฺวา  กึ  อโหสึ

นุโข   อหํ   อตีตมทฺธานนฺติ๒   ปญฺจวิธา  วิจิกิจฺฉา  วุตฺตา  ยาปิ

อปรนฺตํ   อารพฺภ   ภวิสฺสามิ   นุโข   อหํ   อนาคตมทฺธานํ  น  นุโข

ภวิสฺสามิ   อนาคตมทฺธานํ   กินฺนุโข   ภวิสฺสามิ   อนาคตมทฺธานํ

กถํ   นุโข   ภวิสฺสามิ   อนาคตมทฺธานํ   กึ   หุตฺวา   กึ   ภวิสฺสามิ

นุโข   อหํ   อนาคตมทฺธานนฺติ   ปญฺจวิธา   วิจิกิจฺฉา   วุตฺตา   ยาปิ

ปจฺจุปนฺนํ   อารพฺภ   เอตรหิ   วา  ปน  ปจฺจุปฺปนฺนํ  อทฺธานํ  อารพฺภ

อชฺฌตฺตํ   กถงฺกถี   โหติ  อหํ  นุโขสฺมิ๓  โน  นุโขสฺมิ  กินฺนุโขสฺมิ

๑. สํ. สฬา. ๑๘/๓๙ ฯ  ๒. ม. มู. ๑๒/๑๔ ฯ ๓. ม. นุโขสฺมึ ฯ

ประโยค๘ – วิสุทธิมคฺคสฺส นาม ปกรณวิเสสสฺว (ตติโย ภาโค) – หน้าที่ 222

                                 วิสุทฺธิมคฺเค 

กถํ   นุโขสฺมิ   อยํ   นุโข   สตฺโต   กุโต  อาคโต  โส  กุหึ  คามี

ภวิสฺสตีติ ฉพฺพิธา วิจิกิจฺฉา วุตฺตา สา สพฺพาปิ ปหียติ ฯ 

ประโยค๘ –  วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน ๒ (ตอนจบ) – หน้าที่ 26

                                  [ความสงสัย ๑๖ ประการ] 

           ภิกษุนั้นเห็นความเป็นไปแห่งนามรูปโดยปัจจัยอย่างนี้แล้ว  ย่อม

สังเกตเห็นได้เองว่า  “นามรูปนี้เป็นไปอยู่ในกาลบัดนี้ฉันใด  แม้ใน

กาลอดีตมันก็เป็นไปแล้วโดยปัจจัย  ในกาลอนาคตเล่ามันก็จักเป็นไป

โดยปัจจัยฉันนั้น ”  เมื่อเธอสังเกตเห็นเองอยู่อย่างนั้น  ความสงสัย

ปรารภส่วนเบื้องต้น  (คืออดีต)  ๕ ประการที่กล่าวไว้   (ในบาลี) ว่า

           “ในอดีตกาล              เราได้มีได้เป็นมาแล้วหรือหนอ

                    ”                       เราได้มีมิได้เป็นหรือหนอ 

                    ”                       เราได้เป็นอะไรหนอ

                    ”                       เราได้เป็นอย่างไรหนอ

                    ”                       เราได้เป็นอะไรแล้วเป็นอะไรหนอ”

ดังนี้นั้นใด  แม้ความสงสัยปรารภส่วนเบื้องปลาย  (คืออนาคต)

๕ ประการที่กล่าวไว้ (ในบาลี)  ว่า

           “ในอนาคตกาล          เราจักมีจักเป็นหรือหนอ

                    ”                        เราจักไม่มีไม่เป็นหรือหนอ

                    ”                        เราจักเป็นอะไรหนอ

                    ”                        เราจักเป็นอย่างไรหนอ

                    ”                        เราจักเป็นอะไรแล้วเป็นอะไรหนอ”

 ดังนี้นั้นใด  แม้ความสงสัยปรารภปัจจุบัน  ๖  ประการ  ที่กล่าว

(ในบาลี)  ว่า

           อนึ่ง  หรือว่าบุคคลเป็นผู้มีความสงสัยในภายใน  (ตนของตน)

ประโยค๘ –  วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน ๒ (ตอนจบ) – หน้าที่ 27

ปรารภปัจจุบันกาล  บัดนี้ว่า

                                  เรามีอยู่เป็นอยู่หรือหนอ

                                  เราไม่มีอยู่ไม่เป็นอยู่หรือหนอ

                                  เราเป็นอะไรอยู่หนอ

                                  เราเป็นอย่างไรอยู่หนอ

                                  สัตว์ผู้นี้มาแต่ไหนหนอ

                                  สัตว์ผู้นั้นจักเป็นผู้ไปที่ไหน  (หนอ)

ดังนี้นั้นใด  ความสงสัยทั้งปวงนั้น  เธอย่อมละได้

๑.  มหาฎีกาติงว่า  อยุตฺตํ  ปเนตํ  เรื่องสงสัยตัวเองนี้ไม่เข้าทีเลย  ตัวมีอยู่โทนโท่  ยังจะสงสัยว่า

ตัวมีหรือไม่มี  ตัวเป็นอะไร  เป็นอย่างไร  เช่นว่าเป็นคฤหัสถ์เป็นบรรพชิต  เป็นหญิงเป็นชย

และสูงต่ำดำขาวอย่างไร  ก็ล้วนโทนโท่อยู่ทั้งนั้น  สงสัยทำไม  ฯลณ  แต่ลงท้ายก็สรูปว่า  อย่า

ไปคิดเลยว่าเข้าทีไม่เข้าที  มันเป็นเรื่องของปุถุชนโง่ ๆ ซึ่งเหมือนคนบ้า  คิดสงสัยไปได้แปลก ๆ

ทั้งนั้นแหละ

๒.  มหาฎีกาว่า  ละได้ตอนนี้  ยังเป็นวิกขัมภนปหานเท่านั้น

—-

กังขา ๘

อภิ. ธมฺมสงฺคณิ – หน้าที่ 263

        [๖๗๒]  ตตฺถ  กตมา  วิจิกิจฺฉา  สตฺถริ  กงฺขติ  วิจิกิจฺฉติ  ธมฺเม 

กงฺขติ  วิจิกิจฺฉติ  สงฺเฆ  กงฺขติ  วิจิกิจฺฉติ  สิกฺขาย  กงฺขติ  วิจิกิจฺฉติ  

ปุพฺพนฺเต  กงฺขติ  วิจิกิจฺฉติ  อปรนฺเต  กงฺขติ  วิจิกิจฺฉติ  ปุพฺพนฺตาปรนฺเต  กงฺขติ  วิจิกิจฺฉติ  อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ  ธมฺเมสุ 

กงฺขติ  วิจิกิจฺฉติ  ยา  เอวรูปา  กงฺขา  กงฺขายนา  กงฺขายิตตฺตํ  วิมติ 

วิจิกิจฺฉา  เทฺวฬฺหกํ  เทฺวธาปโถ  สํสโย  อเนกํสคาโห  อาสปฺปนา 

ปริสปฺปนา  อปริโยคาหนา  ถมฺภิตตฺตํ  จิตฺตสฺส  มโนวิเลโข  อยํ 

วุจฺจติ  วิจิกิจฺฉา  ฯ 

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 341

           [๖๗๒]  วิจิกิจฉา  เป็นไฉน  ?

           ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา    ในพระธรรม    ในพระสงฆ์

ในสิกขา  ในส่วนอดีต  ในส่วนอนาคต  ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต    ใน

ปฏิจจสมุปปาทธรรมที่ว่า  เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น  การเคลือบ

แคลง   กิริยาที่เคลือบแคลง   ความเคลือบแคลง   ความคิดเห็นไปต่าง  ๆ นานา

ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้  ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง

ความสงสัย  ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้  ความคิดส่ายไป  ความ

คิดพร่าไป   ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้    ความกระด้างแห่งจิต

ความลังเลใจ  อันใด  นี้เรียกว่า  วิจิกิจฉา.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *