บาลีวันละคำ

อาลัยอาวรณ์ (บาลีวันละคำ 4,659)

อาลัยอาวรณ์

จะรู้ความหมายแน่นอนก็แค่เปิดพจนานุกรม

อาลัย” อ่านว่า อา-ไล

อาวรณ์” อ่านว่า อา-วอน

(๑) “อาลัย” 

บาลีเป็น “อาลย” อ่านว่า อา-ละ-ยะ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, มาก, ยิ่ง) + ลิ (ธาตุ = ติดใจ, ติดแน่น) + ปัจจัย, ลบ , แปลง อิ ที่ ลิ เป็น (ลิ > ลย)

: อา + ลิ = อาลิ + = อาลิณ > อาลิ > อาลย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ติดใจยินดีแห่งผู้คน” “สิ่งที่ใจไปติดแน่นอยู่” 

นักภาษาอธิบาย “อาลย” เป็นรูปธรรมว่า เหมือน “คอน” ที่นกเกาะนอน เท้านกจะต้องยึดแน่นอยู่กับคอนนั้น มิเช่นนั้นก็ตก อาการที่จับติดแน่นไม่ยอมปล่อยนั่นเองคือ “อาลัย

ตามรากศัพท์เช่นนี้ “อาลัย” ในทางรูปธรรมจึงหมายถึงสถานที่พักอาศัย, ที่อยู่, แหล่งรวมของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น –

ชลาลัย = แหล่งรวมแห่งน้ำ คือแม่น้ำ หรือทะเล

บรรณาลัย = แหล่งรวมแห่งหนังสือ คือสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ต่างๆ ทางศาสนา, ห้องสมุด

อาลย” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) คอนสำหรับนกหรือไก่เกาะหรือนอน (ความหมายเดิม), สถานที่พักอาศัย, บ้านเรือน (roosting place, perch, abode settling place, house)

(2) เกาะเกี่ยวอยู่, ความรักใคร่, ความต้องการ, ตัณหา, ราคะ (hanging on, attachment, desire, clinging, lust)

(3) การแสร้งทำ, มารยา, ข้อแก้ตัว (pretence, pretext, feint)

บาลี “อาลย” ภาษาไทยใช้เป็น “อาลัย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อาลัย ๑ : (คำกริยา) ห่วงใย, พัวพัน, ระลึกถึงด้วยความเสียดาย.น. ความห่วงใย, ความพัวพัน, ความระลึกถึงด้วยความเสียดาย. (ป., ส. อาลย).

(2) อาลัย ๒ : (คำนาม) ที่อยู่, ที่พัก, เช่น ชลาลัย = ที่อยู่แห่งนํ้า หมายถึง ทะเล แม่น้ำ เป็นต้น หิมาลัย = ที่อยู่แห่งหิมะ เป็นชื่อของเทือกเขาสูงอยู่ทางทิศเหนือของอินเดีย ยอดเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี. 

(๒) “อาวรณ์” 

เขียนแบบบาลีเป็น “อาวรณ” อ่านว่า อา-วะ-ระ-นะ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + วรฺ (ธาตุ = ห้าม, ป้องกัน) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น  

: อา + วรฺ = อาวรฺ + ยุ > อน = อาวรน > อาวรณ แปลตามศัพท์ว่า “ห้ามทั่วไป

อาวรณ” ในบาลี:

– เป็นคำนาม หมายถึง การกีดขวาง, อุปสรรค, การขัดขวาง (hindrance, obstruction, bar)

– เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ปิดกั้น, ไม่ให้เข้า, ต้านทาน (shutting off, barring out, withstanding) 

บาลี “อาวรณ” ภาษาไทยใช้เป็น “อาวรณ์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า – 

อาวรณ์ : (คำกริยา) ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาลัย เป็น อาลัยอาวรณ์. (คำนาม) เครื่องกั้น, เครื่องกำบัง. (ป., ส.).”

อาลัย + อาวรณ์ = อาลัยอาวรณ์ เป็นการเอาคำว่า “อาลัย” และ “อาวรณ์” มาประสมกัน เกิดเป็นคำใหม่ว่า “อาลัยอาวรณ์” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “อาลัยอาวรณ์” ไว้ด้วย บอกความหมายไว้ว่า – 

อาลัยอาวรณ์ : (คำกริยา) ระลึกถึงด้วยใจผูกพันไม่อยากจากกัน. (คำนาม) ความระลึกถึงด้วยใจผูกพันไม่อยากจากกัน.”

ขยายความ :

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “อาลย” และ “อาวรณ” บอกไว้ดังนี้ –

…………..

(1) อาลย : (คำนาม) บ้าน, ที่อยู่, ที่อาศรัย; a house, a dwelling, an asylum.

(2) อาวรณ : (คำนาม) อาภรณ์, เครื่องคลุมหรือห่อหุ้มกาย; เครื่องนุ่งห่ม; โล่; รั้วชั้นนอก; กำแพง; ความมืดของมนัส; covering, dress, garment; a shield; an outer fence; a wall; mental blindness.

…………..

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต มีคำว่า “อาลัย” และ “อาวรณ์” บอกไว้ดังนี้ –

…………..

(1) อาลัย

1. ที่อยู่, ที่อาศัย, แหล่ง 

2. ความมีใจผูกพัน, ความเยื่อใย, ความติดใจปรารถนา, ความพัวพัน มักหมายถึงตัณหา; ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า ห่วงใย หวนคิดถึง

(2) อาวรณ์ : เครื่องกั้น, เครื่องกำบัง; ไทยมักใช้ในความหมายว่า ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อยากรู้บาลี 

เริ่มเรียนบาลีชั้นประถม

: ด้วยการเปิดพจนานุกรม 

วันละคำสองคำ

#บาลีวันละคำ (4,659)

15-3-68 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *