บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง ผู้ล่วงพ้นความกลัวตาย

ผู้ล่วงพ้นความกลัวตาย (๘)

————————-

ข้อมูลที่สอง:

หลักวิชาในพระพุทธศาสนาที่แสดงถึง “ผู้ล่วงพ้นความกลัวตาย” หรือที่ตั้งเป็นคำถามว่า ใครบ้างที่ไม่กลัวตาย ที่นำมาแสดงแล้วนั้นเป็นพระพุทธพจน์ที่มีมาในพระไตรปิฎกโดยตรง

ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่มาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา

มีพระพุทธพจน์ในคัมภีร์พระธรรมบท (ทัณฑวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๒๐) ความว่า –

สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส

สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน

อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา

น หเนยฺย น ฆาตเย.

สัตว์ทั้งหมดกลัวโทษทัณฑ์

สัตว์ทั้งหมดกลัวความตาย

เปรียบตนเองกับผู้อื่นอย่างนี้แล้ว

ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรสั่งให้คนอื่นฆ่า

(คำแปลจาก-พุทธวจนะในธรรมบท สำนวนอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๕ (ฉพฺพคฺคิยภิกฺขุวตฺถุ เรื่องที่ ๑๐๗) อธิบายคำว่า “สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน” (สัตว์ทั้งหมดกลัวความตาย) ว่า แม้พระพุทธพจน์จะตรัสว่า “สพฺเพ = สัตว์ทั้งหมด” แต่ก็มีนัยที่ละไว้ฐานเข้าใจ

นั่นคือ ไม่ใช่หมายความว่า “ทั้งหมด” ตามตัวอักษร เพราะมีบางจำพวกที่ไม่กลัวตาย ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ยกเว้น

คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาดังกล่าวแสดงรายการ “สัตว์” ที่ไม่กลัวตายไว้ ๔ จำพวก คือ –

หตฺถาชาเนยฺโย = ช้างอาชาไนย

อสฺสาชาเนยฺโย = ม้าอาชาไนย

อุสภาชาเนยฺโย = โคอุสภอาชาไนย

ขีณาสโว = พระขีณาสพ

ท่านให้เหตุผลไว้ว่า ช้าง-ม้า-โคอาชาไนย ๓ จำพวกนี้มีอหังการสูงสุด มองไม่เห็นว่าจะมีสัตว์ชนิดไหนมาต่อกรกับตนได้ จึงไม่กลัวสัตว์ชนิดไหนทั้งสิ้น เมื่อสู้กันก็ยอมสู้จนตัวตาย

เรียกได้ว่ามันกลัวความเป็น “อาชาไนย” ของมันจะถูกเหยียบย่ำให้ต่ำต้อยมากกว่าที่จะกลัวตาย

เพราะฉะนั้น จึงนับว่าสัตว์เหล่านั้นเป็นจำพวกไม่กลัวตาย

คงจะคล้ายๆ กับที่พูดกันว่า-ทหารของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกลัวสมเด็จพระนเรศวรมากกว่ากลัวความตาย

ส่วนพระขีณาสพ-ซึ่งหมายถึงพระอรหันต์-ไม่กลัวตาย เพราะท่านละความเป็นตัวกูของกูได้หมดแล้ว

เห็นใครตาย ท่านก็ไม่ได้เห็นมี “ใคร” ตาย นอกจากความสลายตัวของธาตุขันธ์ เท่ากับท่านไม่ได้เห็นว่ามี “ความตาย” อยู่ที่ไหนนั่นเอง

เมื่อความตายไม่ได้มีอยู่จริงตามสัจธรรมที่เห็นประจักษ์ ท่านก็จึงไม่กลัวตาย

………………….

ท่านผู้ใดจะมีแก่ใจช่วยขยายความเพิ่มเติม ก็ขอเรียนเชิญนะครับ – เช่น ช้าง-ม้า-โคอาชาไนย

คำว่า “อาชาไนย” หมายความว่าอย่างไร

………….

ตอนต่อไป … ใครบ้างที่ไม่กลัวตาย : ข้อมูลที่สาม

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๓ มีนาคม ๒๕๖๓

๑๗:๒๕

Sueb Lim

———–

ประโยค๓ – ธมฺมปทฏฺฐกถา (ปญฺจโม ภาโค) – หน้าที่ 44

                    ๑๐. ทณฺฑวคฺควณฺณนา

                ๑. ฉพฺพคฺคิยภิกฺขุวตฺถุ. (๑๐๗)

        ” สพฺเพ   ตสนฺตีติ  อิมํ  ธมฺมเทสนํ  สตฺถา  เชตวเน  วิหรนฺโต

ฉพฺพคฺคิเย ภิกฺขู อารพฺภ กเถสิ.

        เอกสฺมึ   หิ   สมเย,   สตฺตรสวคฺคิเยหิ  เสนาสเน  ปฏิชคฺคิเต,

ฉพฺพคฺคิยา   ภิกฺขู   ” นิกฺขมถ,   มยํ   มหลฺลกตรา,   อมฺหากํ   เอตํ

ปาปุณาตีติ  วตฺวา,  เตหิ  ” น  มยํ  ทสฺสาม, อมฺเหหิ ปฐมํ ปฏิชคฺคิตนฺติ

วุตฺเต,   เต  ภิกฺขู  ปหรึสุ.  สตฺตรสวคฺคิยา  มรณภยตชฺชิตา  มหาวิรวํ

วิรวึสุ.    สตฺถา   เตสํ   สทฺทํ   สุตฺวา   ” กึ   อิทนฺติ   ปุจฺฉิตฺวา,

” อิทนฺนามาติ     อาโรจิเต,     ” น    ภิกฺขเว    อิโต    ปฏฺฐาย

ภิกฺขุนา   นาม   เอวํ   กตฺตพฺพํ,  โย  กโรติ,  อิทนฺนาม  อาปชฺชตีติ

ปหารทานสิกฺขาปทํ   ปญฺญาเปตฺวา   ” ภิกฺขเว   ภิกฺขุนา   นาม  `ยถา

อหํ;   ตเถว   อญฺเญปิ   ทณฺฑสฺส   ตสนฺติ  มจฺจุโน  ภายนฺตีติ  ญตฺวา

ปโร   น   ปหริตพฺโพ   น   ฆาเตตพฺโพติ  วตฺวา  อนุสนฺธึ  ฆเฏตฺวา

ธมฺมํ เทเสนฺโต อิมํ คาถมาห

        ” สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส,   สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน,

         อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา     น หเนยฺย น ฆาตเยติ.

         ตตฺถ    สพฺเพ   ตสนฺตีติ:   สพฺเพปิ   สตฺตา,   อตฺตนิ   ทณฺเฑ

ปตนฺเต,  ตสฺส  ทณฺฑสฺส  ตสนฺติ.  มจฺจุโนติ:  มรณสฺสาปิ  ภายนฺติเยว.

ประโยค๓ – ธมฺมปทฏฺฐกถา (ปญฺจโม ภาโค) – หน้าที่ 45

อิมิสฺสา  จ  เทสนาย  พฺยญฺชนํ  นิรวเสสํ,  อตฺโถ ปน สาวเสโส. ยถา

หิ   รญฺญา  ” สพฺเพ  สนฺนิปตนฺตูติ  เภริยา  จาราปิตาย  ราชมหามตฺเต

ฐเปตฺวา   เสสา   สนฺนิปตนฺติ;  เอวเมว  ” สพฺเพ  ตสนฺตีติ  วุตฺเตปิ,

” หตฺถาชาเนยฺโย   อสฺสาชาเนยฺโย   อุสภาชาเนยฺโย  ขีณาสโวติ  อิเม

จตฺตาโร  ฐเปตฺวา  อวเสสา  ตสนฺตีติ  เวทิตพฺพา.  อิเมสุ หิ ขีณาสโว

สกฺกายทิฏฺฐิยา   ปหีนตฺตา   มรณกสตฺตํ๑   อปสฺสนฺโต  น  ภายติ,

อิตเร   ตโย   สกฺกายทิฏฺฐิยา   พลวตฺตา   อตฺตโน  ปฏิปกฺขภูตํ  สตฺตํ

อปสฺสนฺตา  น  ภายนฺติ.  น  หเนยฺย  น  ฆาตเยติ:  ยถา  อหํ; เอวํ

อญฺเญปิ สตฺตาติ น ปรํ หเนยฺย น หนาเปยฺยาติ อตฺโถ.

          เทสนาวสาเน พหู โสตาปตฺติผลาทีนิ ปาปุณึสูติ.

                            ฉพฺพคฺคิยภิกฺขุวตฺถุ.

๑. โปราณโปตฺถเก อมรณกสตฺตนฺติ ทิสฺสติ. ตมฺปน

วิรุทฺธํ. สีหลิกยุโรปิยโปตฺถเกสุปิ อีทิสเมว โหติ.

ประโยค๓ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๕ – หน้าที่ 67

                                   ๑๐.  ทัณฑวรรค  วรรณนา

                               ๑.   เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์*  [ ๑๐๗ ]

                                      [ ข้อความเบื้องต้น ]

           พระศาสดา       เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน      ทรงปรารภภิกษุ

ฉัพพัคคีย์     ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า   ” สพฺเพ  ตสนฺติ “   เป็นต้น.

                  [ เหตุทรงบัญญัติปหารทานสิกขาบท ]

           ความพิสดารว่า     ในสมัยหนึ่ง     เมื่อเสนาสนะอันภิกษุสัตตรส

พัคคีย์ซ่อมแซมแล้ว     ภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า     ” พวกท่านจงออกไป.

พวกท่านแก่กว่า,       เสนาสนะนั่นถึงแก่พวกผม,”        เมื่อภิกษุพวกสัตตรส-

พัคคีย์เหล่านั้นพูดว่า     ” พวกผมจักไม่ยอมให้.     (เพราะ)     พวกผม

ซ่อมแซมไว้ก่อน ”       ดังนี้แล้ว     จึงประหารภิกษุเหล่านั้น.      ภิกษุ

สัตตรสพัคคีย์ถูกมรณภัยคุกคามแล้ว   จึงร้องเสียงลั่น.

           พระศาสดา     ทรงสดับเสียงของภิกษุเหล่านั้น      จึงตรัสถามว่า

” อะไรกันนี่ ? ”      เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า      ” เรื่องชื่อนี้ ”   ดังนี้

แล้ว    ตรัสว่า      ” ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   จำเดิมแต่นี้     ธรรมดาภิกษุไม่

ควรทำอย่างนั้น,      ภิกษุใดทำ,      ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติชื่อนี้ ”     ดังนี้

แล้ว    ทรงบัญญัติปหารทานสิกขาบท     ตรัสว่า     ” ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

*  พระมหาบุญเลิศ  ป.  ธ.  ๔  วัดบรมนิวาศ  แปล  พระอมรมุนี  (จับ  ป.  ธ.  ๙)  ตรวจแก้.

๑.  ภิกษุมีพวก  ๖.     ๒.  ภิกษุมีพวก  ๑๗.

ประโยค๓ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๕ – หน้าที่ 68

ธรรมดาภิกษุรู้ว่า      ‘ เราย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา   กลัวต่อความตาย

ฉันใด,        แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา       กลัวต่อความ

ตายฉันนั้นเหมือนกัน ‘      ไม่ควรประหารเอง       ไม่ควรใช้ให้ผู้อื่นฆ่า “

ดังนี้แล้ว      เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม     จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

              ” สัตว์ทั้งหมด     ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา,     สัตว์

              ทั้งหมด       ย่อมกลัวต่อความตาย,        บุคคลทำตน

              ให้เป็นอุปมาแล้ว      ไม่ควรฆ่าเอง        ไม่ควรใช้ให้

              ฆ่า  (ผู้อื่น).”

                                             [ แก้อรรถ ]

           บรรดาบทเหล่านั้น    สองบทว่า   ” สพฺเพ  ตสนฺติ “   ความว่าสัตว์

แม้ทั้งหมด   เมื่ออาชญาจะตกที่ตน     ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญานั้น.

           บทว่า   มจฺจุโน   ได้แก่   ย่อมกลัวแม้ต่อความตายแท้.

           ก้พยัญชนะแห่งเทศนานี้ไม่มีเหลือ.          ส่วนเนื้อความยังมีเหลือ.

เหมือนอย่างว่า         เมื่อพระราชารับสั่งให้พวกราชบุรุษตีกลองเที่ยวป่าว

ร้องว่า      ” ชนทั้งหมดจงประชุมกัน ”     ชนทั้งหลายที่เหลือเว้นพระราชา

และมหาอำมาตย์ของพระราชาเสีย        ย่อมประชุมกันฉันใด,       แม้เมื่อ

พระศาสดา  ตรัสว่า    ” สัตว์ทั้งปวง      ย่อมหวาดหวั่น ”  ดังนี้,        สัตว์

ทั้งหลายที่เหลือเว้นสัตว์วิเศษ   ๔  จำพวกเหล่านี้      คือ     ‘ ช้างอาชาไนย

ม้าอาชาไนย       โคสอุสภอาชาไนย       และพระขีณาสพ ‘   บัณฑิตพึงทราบ

๑.  อธิบายว่า  เพ่งตามพยัญชนะ  แสดงว่า  สัตว์ทั้งหลายกลัวต่อความตาย  ไม่มีเว้น

ใครเลย  แต่ตามอรรถ  มีเว้นสัตว์บางพวก  จึงกล่าวว่า  ยังมีเหลือ.

ประโยค๓ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๕ – หน้าที่ 69

ว่า     ย่อมหวาดหวั่นฉันนั้นเหมือนกัน.     จริงอยู่   บรรดาสัตว์วิเศษเหล่านี้

พระขีณาสพ      ไม่เห็นสัตว์ที่จะตาย         เพราะความที่ท่านละสักกาย-

ทิฏฐิเสียได้แล้วจึงไม่กลัว,       สัตว์วิเศษ  ๓ พวกนอกนี้     ไม่เห็นสัตว์

ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตน     เพราะความที่สักกายทิฏฐิ     มีกำลังจึงไม่กลัว.

           พระคาถาว่า    น  หเนยฺย  น  ฆาตเย    ความว่า    บุคคล

รู้ว่า     ” เราฉันใด,     แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ฉันนั้น ”     ดังนี้แล้ว      ก็ไม่ควร

ฆ่าเอง  (และ)  ไม่ควรใช้ให้ฆ่าสัตว์อื่น.

           ในกาลจบเทศนา     ชนเป็นอันมาก    บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น     ดังนี้แล.

                                    เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์  จบ.

——-

ดูเพิ่มเติมที่ไฟล์: สีหสูตร – ผู้ไม่กลัวตาย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *