บาลีวันละคำ

รัฐวิสาหกิจ (บาลีวันละคำ 3,264)

รัฐวิสาหกิจ

วิสาห” แปลว่าอะไร

อ่านว่า รัด-ถะ-วิ-สา-หะ-กิด

พจนานุกรมฯ บอกว่า อ่านว่า รัด-วิ-สา-หะ-กิด (ไม่มี -ถะ-) ก็ได้

ผู้เขียนบาลีวันละคำขอร้องว่า อย่าอ่านแบบนั้นเลย เพราะเป็นการอ่านแบบ “รักง่าย”

อ่านว่า รัด-ถะ-วิ-สา-หะ-กิด ถูกต้องและงดงามตามหลักภาษา

ประกอบด้วยคำว่า รัฐ + วิสาหกิจ

(๑) “รัฐ

บาลีเป็น “รฏฺฐ” อ่านว่า รัด-ถะ รากศัพท์มาจาก –

(1) รฐฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ฐต (คือ ที่ ร + ปัจจัย)เป็น ฏฐ ( –ฐต > –ฏฺฐ)

: รฐฺ + = รฐต > รฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นที่เป็นไปแห่งชาวเมือง

(2) รชิ (ธาตุ = เจาะ, ทำลาย) + ปัจจัย, ลบสระท้ายธาตุ (รชิ > รช), แปลง ชต เป็น ฏฐ

: รชิ > รช + = รชต > รฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นเหตุให้พระราชาทั้งหลายทำลายป้อมค่ายกัน” (ในการเข้ายื้อแย่งเพื่อยึดครองดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง)

รฏฺฐ” ความหมายที่เข้าใจกันก็คือ ดินแดน, อาณาจักร, ประเทศ, แผ่นดิน, บ้านเมือง

ในภาษาไทย ท่านให้ตัด ปฏัก ออก “รฏฺฐ” จึงเขียนเป็น“รัฐ” ถ้าอยู่ท้ายคำ อ่านว่า รัด (เคยมีนิยมพูดกันเป็น รัด-ถะ อยู่บ้าง) ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้ายอ่านว่า รัด-ถะ- เช่นในคำว่า “รัฐบาล” อ่านว่า รัด-ถะ-บาน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “รฏฺฐ” ว่า reign, kingdom, empire; country, realm (รัฐ, อาณาจักร, จักรวรรดิ, ประเทศ, แผ่นดิน)

(๒) “วิสาหกิจ” แยกศัพท์เป็น วิสาห + กิจ

(ก) “วิสาห

อ่านว่า วิ-สา-หะ ยังไม่พบศัพท์นี้ในพจนานุกรม ค้นดูในคัมภีร์ก็ไม่พบว่ามีใช้ ในที่นี้สันนิษฐานว่า รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + สหฺ (ธาตุ = ทน) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(หฺ) เป็น อาด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (สหฺ > สาห)

: วิ + สหฺ = วิสหฺ + = วิสหณ > วิสห > วิสาห (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ทนการได้รับทุกข์ต่างๆ ได้” หมายความว่า เมื่อกระทำการอย่างใดๆ ต้องผจญอุปสรรคต่างๆ ต้องเสี่ยงภัย ต้องลำบาก แต่ก็ทำได้ ทนได้ นี่คือความหมายของ “วิสาห

คำเทียบ “วิสาห” คือ “อุสฺสาห” (อุด-สา-หะ) โครงสร้างคำเหมือนกัน คือ อุ (คำอุปสรรค = ขึ้น, เหนือขึ้นไป) + สหฺ (ธาตุ = ทน) + ปัจจัย, ลบ , ซ้อน , ทีฆะ อะ ที่ -(หฺ) เป็น อา

: อุ + สฺ + สหฺ = อุสฺสหฺ + = อุสฺสหณ > อุสฺสห > อุสฺสาห (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ทนการได้รับทุกข์ยิ่งขึ้นไปได้

ในบาลีมีศัพท์กริยาอาขยาตว่า “วิสหติ” (วิ-สะ-หะ-ติ) ซึ่งมีรากศัพท์เดียวกับ “วิสาห” มีคำแปลว่า สามารถ, กล้า, เสี่ยงหรือบังอาจ (to be able, to dare, to venture) (ดูต่อไปที่ อภิปรายขยายความ)

(ข) “กิจ

บาลีเป็น “กิจฺจ” (กิด-จะ) รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + ริจฺจ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ (ก)-รฺ (กรฺ > ) และ ที่ ริ-(จฺจ) (ริจฺจ > อิจฺจ)

: กรฺ > + ริจฺจ > อิจฺจ : + อิจฺจ = กิจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่พึงทำ” หมายถึง หน้าที่, การงาน, การบริการ; พิธี, การกระทำ (duty, obligation, service, attention; ceremony, performance)

กิจฺจ” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “กิจ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กิจ, กิจ– : (คำนาม) ธุระ, งาน. (ป. กิจฺจ).”

การประสมคำ :

(๑) วิสาห + กิจ = วิสาหกิจ (วิ-สา-หะ-กิด) แปลตามศัพท์ว่า “งานที่ทำด้วยความกล้าเสี่ยง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิสาหกิจ : (คำนาม) การประกอบการที่ยาก สลับซับซ้อน หรือเสี่ยงต่อการขาดทุน ล้มละลาย.”

(๒) รัฐ + วิสาหกิจ = รัฐวิสาหกิจ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รัฐวิสาหกิจ : (คำนาม) กิจการที่รัฐเป็นผู้ลงทุนหรือถือหุ้นข้างมาก, (กฎ) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐเป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕๐.”

อภิปรายขยายความ :

คำว่า “วิสาหกิจ” เป็นคำที่บัญญัติขึ้นจากคำอังกฤษว่า enterprise

คำว่า “รัฐวิสาหกิจ” เป็นคำที่บัญญัติขึ้นจากคำอังกฤษ public enterprise; state enterprise

เมื่อเป็นศัพท์บัญญัติ จะแปลอย่างไร หมายความอย่างไร (บางทีอาจรวมทั้งจะอ่านอย่างไร) ก็ต้องเป็นไปตามที่คณะกรรมการบัญญัติศัพท์กำหนด มีลักษณะคล้ายกับอสาธารณนาม

ในด้านความหมาย ทั้ง 2 คำมีเก็บไว้ในพจนานุกรมฯ เพราะฉะนั้น ความหมายก็ยุติตามนั้น

คำที่มีปัญหาคือ “วิสาห” พจนานุกรมฯ เก็บคำว่า “วิสาหกิจ” และ “รัฐวิสาหกิจ” ไว้ แต่คำว่า “วิสาห” เดี่ยวๆ ไม่ได้เก็บ และคำว่า “วิสาหกิจ” และ “รัฐวิสาหกิจ” ที่เก็บไว้ก็ไม่ได้บอกว่า “วิสาห” เป็นภาษาอะไร

เมื่อเป็นศัพท์บัญญัติ วิธีสืบหาก็คือดูที่แหล่งรวมศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ก็พบว่า “วิสาหกิจ” บัญญัติจากคำอังกฤษว่า enterprise

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล enterprise เป็นไทยดังนี้ –

1. กล้าได้กล้าเสีย, ใจป้ำอย่างนักเลง

2. งานเสี่ยงโชค, กิจการ, งานค้า, อุตสาหกิจ, วิสาหกิจ

และบอกคำที่มีความหมายเหมือนกันคือ venture, undertaking

คำกริยา “วิสหติ” ที่แสดงไว้ข้างต้น มีคำแปลเป็นอังกฤษคำหนึ่งว่า to venture

เป็นอันจับเค้าได้ว่า enterprise > venture > วิสหติ > วิสาห

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล enterprise เป็นบาลีดังนี้:

(1) vyāpāra วฺยาปาร (เวีย-ปา-ระ) = อาชีพ, การงาน, การบริการ

(2) vāyāma วายาม (วา-ยา-มะ) = ความพยายาม, ความเพียร

ความหมายที่ใกล้เคียงกับ “วิสาห” คือ “วายาม

และแปล venture เป็นบาลีดังนี้:

(1) vīrakriyā วีรกฺริยา (วี-รัก-เกีย) = ทำอย่างกล้าหาญ

(2) visahati วิสหติ (วิ-สะ-หะ-ติ) = กล้า, เสี่ยงหรือบังอาจ

แถม :

ในการบัญญัติศัพท์ คณะกรรมการฯ ย่อมจะต้องอภิปรายกันก่อนว่า คำว่า enterprise จะบัญญัติว่าอย่างไร และเมื่อบัญญัติว่า “วิสาหกิจ” ก็จะต้องแสดงที่มาของคำ “วิสาห” ว่าเป็นภาษาอะไร มีความหมายว่าอย่างไร ผู้เขียนบาลีวันละคำเชื่อว่า บันทึกการประชุมเกี่ยวกับคำนี้ต้องมี และเวลานี้ก็น่าจะยังมีอยู่

ถ้าสามารถดูบันทึกการประชุมได้ ก็จะรู้ทันทีว่า “วิสาห” เป็นภาษาอะไร มีความหมายว่าอย่างไร ไม่ต้องสันนิษฐานดังที่ผู้เขียนบาลีวันละคำสันนิษฐาน ซึ่งอาจผิดไปจากที่คณะกรรมการฯ ได้แสดงไว้ก็เป็นได้

ผู้เขียนบาลีวันละคำเคยเสนอแนะสำนักงานราชบัณฑิตยสภาให้พิจารณาเลือกบันทึกการประชุมเก่าที่มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษาและอื่นๆ พิมพ์เผยแพร่ แต่ข้อเสนอคงไปไม่ถึง หรือแม้ถึงก็คงยากที่จะเป็นไปได้ เช่นติดขัดด้วยระเบียบทางราชการเป็นต้น ซึ่งยากที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง

บันทึกการประชุมเก่าที่มีเรื่องน่ารู้เหล่านั้นจึงอุปมาเหมือนอาหารที่เก็บไว้อย่างมิดชิด คนเก็บก็ไม่คิดจะกิน คนอยากกินก็กินไม่ได้ ไม่มีสิทธิ์จะกิน นับว่าเป็นเรื่องชอบกลได้ชนิดหนึ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

คนเก่ง: คิดว่าจะทำอย่างไร

คนฉลาด: คิดว่าจะทำทำไม

คนดี: คิดว่าจะทำเพื่อใคร

#บาลีวันละคำ (3,264)

20-5-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *