บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

ถ้าไม่ตื่น ก็จงหลับไปชั่วนิรันดร

ถ้าไม่ตื่น ก็จงหลับไปชั่วนิรันดร [๑๐]

ถ้าไม่ตื่น ก็จงหลับไปชั่วนิรันดร [๑๐]

—————————–

ตอนที่ ๖ – วางทิฏฐิลงก่อนที่จะศึกษา 

———

ตอนนี้ผมมีข้อสังเกตส่วนตัวบางประการ

พระสมัยก่อนท่านจะระแวงไว้ก่อนว่า “ทำอย่างนี้ผิด”

แต่พระสมัยนี้ตรงกันข้าม ท่านจะอ้างเข้าข้างตัวเองไว้ก่อนว่า “อย่างนี้ทำได้”

คือพระสมัยก่อนท่านจะพยายามหาเหตุผลเพื่อที่จะไม่ทำเช่นนั้นเช่นนี้ เพราะท่านกลัวผิด

แต่พระสมัยนี้ท่านจะพยายามหาเหตุผลมาอ้างว่าทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ ไม่ผิด ไม่เสียหายอะไร

จะเห็นได้ว่าวิธีคิดหรือมุมมองต่างกันคนละขั้ว

ฝ่ายหนึ่งคิดวิธีที่จะรักษาพระธรรมวินัย

อีกฝ่ายหนึ่งคิดวิธีที่จะละเมิดพระธรรมวินัย 

ประเด็นนี้ย่อมเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งที่เรียกกันว่า “ทัศนคติ” หรือ “มุมมอง” หรือ “อัตตา” หรือคำพระเรียกว่า “ทิฏฐิ” ของแต่ละคนด้วย 

เพราะฉะนั้น ผมจึงขออนุญาตที่จะเสนอแนะด้วยความเคารพว่า ในการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ขอได้โปรดวางหรือทิ้ง “ทัศนคติ” หรือ “มุมมอง” หรือ “อัตตา” หรือ “ทิฏฐิ” ของตนๆ ลงเสียก่อน

กรุณาอย่าแบก “ทิฏฐิ” เข้าไปด้วย

เพราะถ้าแบกทิฏฐิของตนเข้าไปด้วยแล้ว เป้าหมายของการศึกษาเรียนรู้จะเบี่ยงเบนไปทันที 

จะไม่ใช่การศึกษาเพื่อหาความรู้บริสุทธิ์ คือเพื่อรู้สิ่งที่ตนยังไม่รู้ และเพื่อเอาความรู้ไปเป็นหลักประพฤติดีปฏิบัติชอบ

แต่จะกลายเป็นการศึกษาเพื่อหาข้ออ้างหรือหาข้อสนับสนุนทิฏฐิของตน

คือศึกษาเพื่อจะเอาไปอ้างหรือเอาไปยืนยันว่า ที่ข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ทำอย่างนี้ นั้นถูกต้องแล้ว เพราะมีข้ออ้างตรงนั้นตรงนี้ว่าอย่างนั้นอย่างนี้รับรอง

อะไรที่แม้จะไม่ตรงกับประเด็นที่ตนเชื่อถืออยู่ ก็จะพยายาม “ตีความ” เพื่อให้สอดรับกับทิฏฐิของตนให้จงได้ 

การศึกษาพระธรรมวินัยด้วยทิฏฐิที่เบี่ยงเบนมักเกิดจากสาเหตุที่บุคคลที่เข้ามาอยู่ในพระศาสนาได้สร้างตัวตนหรือแสดงตัวตนคือประกาศคำสอนหรือได้ประพฤติปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยึดถือความคิดเห็นบางอย่างไวในใจ หรือตัวของผู้นั้นได้ “เป็น” อะไรอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นในสังคม 

ต่อจากนั้นก็พยายามสร้างความชอบธรรมให้แก่ตัวเองหรือกลุ่มของตัวโดยวิธีหาเหตุผลหรือหลักฐานจากพระธรรมวินัยพระไตรปิฎกมาสนับสนุนยืนยันว่าที่ตนทำเช่นนั้น สอนเช่นนั้น หรือเป็นเช่นนั้นถูกต้องแล้ว หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่ขัดกับพระธรรมวินัย 

อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูว่าสอดคล้องกับตัวตนของตนของกลุ่มตน ก็จะยกขึ้นมาเชิดชู

อะไรในพระธรรมวินัยที่พอจะตีความให้เข้ากับตัวตนของตนของกลุ่มตนได้ ก็จะตีความให้เป็นประโยชน์แก่ตน

อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูท่าว่าจะขัดกับตัวตนของตนของกลุ่มตน ก็จะมองข้าม ไม่เอามาคำนึง หรือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไปเลย 

แต่ที่ร้ายขึ้นไปก็คือ อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูท่าว่าจะขัดกับทฤษฎีที่ตนยืดถือหรือแสดงตัวตนออกไปแล้ว ก็จะพยายามหาทางปฏิเสธ “ไม่เอา” เช่นบางสำนักไม่เอาอรรถกถาเป็นต้น

บางกลุ่มก็ตั้งทฤษฎีปฏิเสธพระธรรมวินัยพระไตรปิฎกบางส่วนบางเล่มว่าไม่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่พระพุทธพจน์ 

ที่แสดงทัศนะออกมาตรงๆ ว่าไม่เชื่อพระไตรปิฎกก็มีแล้ว โดยบอกว่า พระไตรปิฎกเป็นเอกสารโบราณมีอายุเป็นพันปี เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ พิสูจน์ไม่ได้ ระหว่างเวลาตั้งพันปีนั้นใครจะแอบแทรกเสริมเติมแต่งอะไรลงไปบ้างก็ไม่มีใครรู้ 

ก็คือหาเหตุผลที่จะปฏิเสธพระไตรปิฎก เริ่มจากบางสูตร บางส่วน บางเล่มก่อน แล้วค่อยๆ ขยายวงออกไป

ที่ว่านี้ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องเชื่อพระไตรปิฎกทุกตัวอักษร แต่มองในแง่ที่ว่าเมื่อปฏิเสธส่วนหนึ่งได้ ต่อไปก็ปฏิเสธส่วนอื่นๆ ได้อีก เมื่อคนหนึ่งกลุ่มหนึ่งปฏิเสธได้ คนอื่นกลุ่มอื่นก็ปฏิเสธได้อีก จนในที่สุดก็ปฏิเสธได้ทั้งหมด

หลักของบัณฑิตแต่ปางก่อนก็คือ ส่วนไหนที่ตนไม่เชื่อก็วางลงไว้ที่เดิม ไม่ไปเพิกถอนทำลายหรือจับโยนทิ้ง อย่างแรงที่สุดก็บอกเพียงว่า “น คเหตพฺพํ” (ไม่พึงถือเอา) เพื่อให้คนภายหลังได้เห็นร่องรอยและระมัดระวัง

ท่าทีและทัศนะปฏิเสธเช่นนี้ ถ้าเป็นของคนนอกศาสนาก็จะไม่แปลกอะไร เพราะเขาอยู่ข้างนอก 

คนข้างนอกไม่ได้ปฏิเสธเฉพาะพระไตรปิฎก หากแต่ปฏิเสธพระพุทธเจ้านั่นเลยว่าไม่มีจริง ไม่ใช่ผู้ตรัสรู้จริง ปฏิเสธพระพุทธศาสนาทั้งศาสนานั่นเลยว่าไม่ใช่ศาสนาที่ดีจริง-แบบนี้ก็มีอยู่เป็นอเนกอนันต์ ไม่แปลกอะไร

แต่นี่เป็นทัศนะที่มาจากคนที่เข้ามาอยู่ในพระศาสนานี้แล้ว 

จะให้เข้าใจว่ากระไร? 

ก็ต้องเข้าใจว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพื่อจะตั้งใจน้อมรับเอาไปปฏิบัติ ไม่ใช่-แม้แต่จะศึกษาเพื่อความรู้เพื่อความเรืองปัญญา

หากแต่ศึกษาเพื่อเลือกหาสิ่งที่จะสนอง “ทิฏฐิ” ของตัวเองที่ยึดไว้อย่างมั่นคงนั่นเอง

อะไรตรงไหนที่ขัดกับทิฏฐิ-ความเห็นของตน ก็จะไม่เอา ไม่ยอมรับ หรือถึงกับปฏิเสธหรือคัดค้านไปเลย

หลักการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้อง คือ เรียนเพื่อรู้ให้ชัด แล้วปรับความเห็นของตนให้ตรงกับพระธรรมวินัย 

ไม่ใช่เอาความเห็นของตนเป็นที่ตั้ง แล้วปรับพระธรรมวินัยให้ตรงกับความเห็นของตน 

ประเด็นเยื้องแย้ง-หากมี พึงใช้วิธี “ปริปุจฉา” คือสอบถามทบทวนปรึกษาหารือกันโดยสามัคคีธรรม (เช่นหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์) เพื่อหาข้อยุติที่ถูกต้อง ไม่ใช่ยึดความเห็นของตัวเองเป็นที่ตั้งแบบไม่ยอมปล่อย แล้วถือดุ่ยไปตามลำพัง

อย่ากลัวเสียหน้า-ถ้าจะต้องเปลี่ยนความเห็น

เสียหน้า-ถ้าจะเสีย-ก็เพียงชั่วครู่

แต่ท่านจะได้หน้า คือได้รับความนับหน้าถือตาจากสังคมไปชั่วกาลนาน

แม้การเที่ยวเอาปัญหาไปขอให้ใครวินิจฉัยก็ควรใช้หลักการเดียวกัน คือหวังคำวินิจฉัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ไม่ใช่เกณฑ์ให้ได้คำวินิจฉัยที่ตรงกับความเห็นของตน

การเกณฑ์ให้ได้คำวินิจฉัยที่ตรงกับความเห็นของตนนั้นไม่เป็นผลดีอันใด 

ถ้าความเห็นของตนผิด ก็จะได้แต่คำวินิจฉัยที่ย้ำความเห็นผิดนั้นให้ตกลึกลงไป

ถ้าใครวินิจฉัยไม่ตรงกับความเห็นของตน ก็จะได้แต่ความขัดข้องขุ่นเคือง อาจถึงกับตั้งตัวเป็นคู่อริกันไปเลย

ขอให้พิจารณาถึงหลักของบรรดาเจ้าลัทธิทั้งหลาย นั่นคือ เมื่อมั่นใจในทิฏฐิหรือลัทธิของตน ก็จะประกาศลัทธิออกไปอย่างองอาจ ไม่ไปเที่ยววิ่งหาคำรับรองหรือคำวินิจฉัยจากใครใดอีก 

แต่ถ้าเข้าไปเป็น “สาวก” ของลัทธิใด ก็มีหน้าที่ศึกษาลัทธินั้นให้เข้าใจจะด้วยวิธีสอบถามขอคำวินิจฉัยจากผู้ที่ตนเชื่อถือในความรู้ในลัทธินั้นก็ได้ เมื่อได้ความรู้ที่ถูกต้องแล้วก็ตั้งใจปฏิบัติตาม

ที่มีปัญหาในพระศาสนาของเราทุกวันนี้ก็เกิดจากผู้ที่เข้ามาในพระศาสนาในฐานะสาวก แต่เมื่อเข้ามาแล้วแทนที่จะศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัยให้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วตั้งใจปฏิบัติตาม ก็กลับเข้ามาประกาศแสดงลัทธิของตนด้วยการประพฤติปฏิบัติที่วิปริตผิดแปลกต่างๆ หรือไม่ก็ชูทิฏฐิของตนเป็นหลักแล้วพยายามตีความคำสอนและแสวงหาแนวร่วมที่จะสนับสนุนว่าทิฏฐิของตนถูกต้อง 

โปรดสังเกตเถิดว่า พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ท่านไม่เคยขัดแย้งกันในหลักคำสอนและหลักปฏิบัติ หากจะเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนท่านก็จะปรับแก้ทิฏฐิของตน ไม่ใช้วิธีหาพวกหรือหาเสียงสนับสนุนทิฏฐิของตน 

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ท่านไม่เคยแยกตัวไปตั้งนิกายใหม่ เพราะอริยธรรมอริยวินัยอันเป็นสัจธรรมย่อมเป็นหนึ่งเดียวกันเสมอ

จะเป็นเช่นนั้นได้ ต้องเริ่มด้วยการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้องให้ถูกต้อง (ตัวพระธรรมวินัยเองก็ต้อง “ถูกต้อง” ก่อน แล้วผู้ศึกษาก็ต้องเรียนรู้เข้าใจอย่าง “ถูกต้อง” ด้วย)

จึงขอร้องมา ณ ที่นี้ว่า ชาวพุทธทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ เมื่อเข้ามาอยู่ในพระศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขอได้โปรดวางทิฏฐิของตนลง แล้วศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้องเพื่อตั้งใจปฏิบัติตาม 

การไม่ศึกษา-ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใดๆ คือการทำให้พระศาสนาอันตรธานเร็วขึ้น

……………

(มีต่อ)

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๓

๑๔:

………………………………..

ถ้าไม่ตื่น ก็จงหลับไปชั่วนิรันดร [๙]

—————————–

ตอนที่ ๖ – วางทิฏฐิลงก่อนที่จะศึกษา 

———

ตอนนี้ผมมีข้อสังเกตส่วนตัวบางประการ

พระสมัยก่อนท่านจะระแวงไว้ก่อนว่า “ทำอย่างนี้ผิด”

แต่พระสมัยนี้ตรงกันข้าม ท่านจะอ้างเข้าข้างตัวเองไว้ก่อนว่า “อย่างนี้ทำได้”

คือพระสมัยก่อนท่านจะพยายามหาเหตุผลเพื่อที่จะไม่ทำเช่นนั้นเช่นนี้ เพราะท่านกลัวผิด

แต่พระสมัยนี้ท่านจะพยายามหาเหตุผลมาอ้างว่าทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ ไม่ผิด ไม่เสียหายอะไร

จะเห็นได้ว่าวิธีคิดหรือมุมมองต่างกันคนละขั้ว

ฝ่ายหนึ่งคิดวิธีที่จะรักษาพระธรรมวินัย

อีกฝ่ายหนึ่งคิดวิธีที่จะละเมิดพระธรรมวินัย 

ประเด็นนี้ย่อมเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งที่เรียกกันว่า “ทัศนคติ” หรือ “มุมมอง” หรือ “อัตตา” หรือคำพระเรียกว่า “ทิฏฐิ” ของแต่ละคนด้วย 

เพราะฉะนั้น ผมจึงขออนุญาตที่จะเสนอแนะด้วยความเคารพว่า ในการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ขอได้โปรดวางหรือทิ้ง “ทัศนคติ” หรือ “มุมมอง” หรือ “อัตตา” หรือ “ทิฏฐิ” ของตนๆ ลงเสียก่อน

กรุณาอย่าแบก “ทิฏฐิ” เข้าไปด้วย

เพราะถ้าแบกทิฏฐิของตนเข้าไปด้วยแล้ว เป้าหมายของการศึกษาเรียนรู้จะเบี่ยงเบนไปทันที 

จะไม่ใช่การศึกษาเพื่อหาความรู้บริสุทธิ์ คือเพื่อรู้สิ่งที่ตนยังไม่รู้ และเพื่อเอาความรู้ไปเป็นหลักประพฤติดีปฏิบัติชอบ

แต่จะกลายเป็นการศึกษาเพื่อหาข้ออ้างหรือหาข้อสนับสนุนทิฏฐิของตน

คือศึกษาเพื่อจะเอาไปอ้างหรือเอาไปยืนยันว่า ที่ข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ทำอย่างนี้ นั้นถูกต้องแล้ว เพราะมีข้ออ้างตรงนั้นตรงนี้ว่าอย่างนั้นอย่างนี้รับรอง

อะไรที่แม้จะไม่ตรงกับประเด็นที่ตนเชื่อถืออยู่ ก็จะพยายาม “ตีความ” เพื่อให้สอดรับกับทิฏฐิของตนให้จงได้ 

การศึกษาพระธรรมวินัยด้วยทิฏฐิที่เบี่ยงเบนมักเกิดจากสาเหตุที่บุคคลที่เข้ามาอยู่ในพระศาสนาได้สร้างตัวตนหรือแสดงตัวตนคือประกาศคำสอนหรือได้ประพฤติปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยึดถือความคิดเห็นบางอย่างไวในใจ หรือตัวของผู้นั้นได้ “เป็น” อะไรอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นในสังคม 

ต่อจากนั้นก็พยายามสร้างความชอบธรรมให้แก่ตัวเองหรือกลุ่มของตัวโดยวิธีหาเหตุผลหรือหลักฐานจากพระธรรมวินัยพระไตรปิฎกมาสนับสนุนยืนยันว่าที่ตนทำเช่นนั้น สอนเช่นนั้น หรือเป็นเช่นนั้นถูกต้องแล้ว หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่ขัดกับพระธรรมวินัย 

อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูว่าสอดคล้องกับตัวตนของตนของกลุ่มตน ก็จะยกขึ้นมาเชิดชู

อะไรในพระธรรมวินัยที่พอจะตีความให้เข้ากับตัวตนของตนของกลุ่มตนได้ ก็จะตีความให้เป็นประโยชน์แก่ตน

อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูท่าว่าจะขัดกับตัวตนของตนของกลุ่มตน ก็จะมองข้าม ไม่เอามาคำนึง หรือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไปเลย 

แต่ที่ร้ายขึ้นไปก็คือ อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูท่าว่าจะขัดกับทฤษฎีที่ตนยืดถือหรือแสดงตัวตนออกไปแล้ว ก็จะพยายามหาทางปฏิเสธ “ไม่เอา” เช่นบางสำนักไม่เอาอรรถกถาเป็นต้น

บางกลุ่มก็ตั้งทฤษฎีปฏิเสธพระธรรมวินัยพระไตรปิฎกบางส่วนบางเล่มว่าไม่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่พระพุทธพจน์ 

ที่แสดงทัศนะออกมาตรงๆ ว่าไม่เชื่อพระไตรปิฎกก็มีแล้ว โดยบอกว่า พระไตรปิฎกเป็นเอกสารโบราณมีอายุเป็นพันปี เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ พิสูจน์ไม่ได้ ระหว่างเวลาตั้งพันปีนั้นใครจะแอบแทรกเสริมเติมแต่งอะไรลงไปบ้างก็ไม่มีใครรู้ 

ก็คือหาเหตุผลที่จะปฏิเสธพระไตรปิฎก เริ่มจากบางสูตร บางส่วน บางเล่มก่อน แล้วค่อยๆ ขยายวงออกไป

ที่ว่านี้ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องเชื่อพระไตรปิฎกทุกตัวอักษร แต่มองในแง่ที่ว่าเมื่อปฏิเสธส่วนหนึ่งได้ ต่อไปก็ปฏิเสธส่วนอื่นๆ ได้อีก เมื่อคนหนึ่งกลุ่มหนึ่งปฏิเสธได้ คนอื่นกลุ่มอื่นก็ปฏิเสธได้อีก จนในที่สุดก็ปฏิเสธได้ทั้งหมด

หลักของบัณฑิตแต่ปางก่อนก็คือ ส่วนไหนที่ตนไม่เชื่อก็วางลงไว้ที่เดิม ไม่ไปเพิกถอนทำลายหรือจับโยนทิ้ง อย่างแรงที่สุดก็บอกเพียงว่า “น คเหตพฺพํ” (ไม่พึงถือเอา) เพื่อให้คนภายหลังได้เห็นร่องรอยและระมัดระวัง

ท่าทีและทัศนะปฏิเสธเช่นนี้ ถ้าเป็นของคนนอกศาสนาก็จะไม่แปลกอะไร เพราะเขาอยู่ข้างนอก 

คนข้างนอกไม่ได้ปฏิเสธเฉพาะพระไตรปิฎก หากแต่ปฏิเสธพระพุทธเจ้านั่นเลยว่าไม่มีจริง ไม่ใช่ผู้ตรัสรู้จริง ปฏิเสธพระพุทธศาสนาทั้งศาสนานั่นเลยว่าไม่ใช่ศาสนาที่ดีจริง-แบบนี้ก็มีอยู่เป็นอเนกอนันต์ ไม่แปลกอะไร

แต่นี่เป็นทัศนะที่มาจากคนที่เข้ามาอยู่ในพระศาสนานี้แล้ว 

จะให้เข้าใจว่ากระไร? 

ก็ต้องเข้าใจว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพื่อจะตั้งใจน้อมรับเอาไปปฏิบัติ ไม่ใช่-แม้แต่จะศึกษาเพื่อความรู้เพื่อความเรืองปัญญา

หากแต่ศึกษาเพื่อเลือกหาสิ่งที่จะสนอง “ทิฏฐิ” ของตัวเองที่ยึดไว้อย่างมั่นคงนั่นเอง

อะไรตรงไหนที่ขัดกับทิฏฐิ-ความเห็นของตน ก็จะไม่เอา ไม่ยอมรับ หรือถึงกับปฏิเสธหรือคัดค้านไปเลย

หลักการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้อง คือ เรียนเพื่อรู้ให้ชัด แล้วปรับความเห็นของตนให้ตรงกับพระธรรมวินัย 

ไม่ใช่เอาความเห็นของตนเป็นที่ตั้ง แล้วปรับพระธรรมวินัยให้ตรงกับความเห็นของตน 

ประเด็นเยื้องแย้ง-หากมี พึงใช้วิธี “ปริปุจฉา” คือสอบถามทบทวนปรึกษาหารือกันโดยสามัคคีธรรม (เช่นหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์) เพื่อหาข้อยุติที่ถูกต้อง ไม่ใช่ยึดความเห็นของตัวเองเป็นที่ตั้งแบบไม่ยอมปล่อย แล้วถือดุ่ยไปตามลำพัง

อย่ากลัวเสียหน้า-ถ้าจะต้องเปลี่ยนความเห็น

เสียหน้า-ถ้าจะเสีย-ก็เพียงชั่วครู่

แต่ท่านจะได้หน้า คือได้รับความนับหน้าถือตาจากสังคมไปชั่วกาลนาน

แม้การเที่ยวเอาปัญหาไปขอให้ใครวินิจฉัยก็ควรใช้หลักการเดียวกัน คือหวังคำวินิจฉัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ไม่ใช่เกณฑ์ให้ได้คำวินิจฉัยที่ตรงกับความเห็นของตน

การเกณฑ์ให้ได้คำวินิจฉัยที่ตรงกับความเห็นของตนนั้นไม่เป็นผลดีอันใด 

ถ้าความเห็นของตนผิด ก็จะได้แต่คำวินิจฉัยที่ย้ำความเห็นผิดนั้นให้ตกลึกลงไป

ถ้าใครวินิจฉัยไม่ตรงกับความเห็นของตน ก็จะได้แต่ความขัดข้องขุ่นเคือง อาจถึงกับตั้งตัวเป็นคู่อริกันไปเลย

ขอให้พิจารณาถึงหลักของบรรดาเจ้าลัทธิทั้งหลาย นั่นคือ เมื่อมั่นใจในทิฏฐิหรือลัทธิของตน ก็จะประกาศลัทธิออกไปอย่างองอาจ ไม่ไปเที่ยววิ่งหาคำรับรองหรือคำวินิจฉัยจากใครใดอีก 

แต่ถ้าเข้าไปเป็น “สาวก” ของลัทธิใด ก็มีหน้าที่ศึกษาลัทธินั้นให้เข้าใจจะด้วยวิธีสอบถามขอคำวินิจฉัยจากผู้ที่ตนเชื่อถือในความรู้ในลัทธินั้นก็ได้ เมื่อได้ความรู้ที่ถูกต้องแล้วก็ตั้งใจปฏิบัติตาม

ที่มีปัญหาในพระศาสนาของเราทุกวันนี้ก็เกิดจากผู้ที่เข้ามาในพระศาสนาในฐานะสาวก แต่เมื่อเข้ามาแล้วแทนที่จะศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัยให้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วตั้งใจปฏิบัติตาม ก็กลับเข้ามาประกาศแสดงลัทธิของตนด้วยการประพฤติปฏิบัติที่วิปริตผิดแปลกต่างๆ หรือไม่ก็ชูทิฏฐิของตนเป็นหลักแล้วพยายามตีความคำสอนและแสวงหาแนวร่วมที่จะสนับสนุนว่าทิฏฐิของตนถูกต้อง 

โปรดสังเกตเถิดว่า พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ท่านไม่เคยขัดแย้งกันในหลักคำสอนและหลักปฏิบัติ หากจะเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนท่านก็จะปรับแก้ทิฏฐิของตน ไม่ใช้วิธีหาพวกหรือหาเสียงสนับสนุนทิฏฐิของตน 

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ท่านไม่เคยแยกตัวไปตั้งนิกายใหม่ เพราะอริยธรรมอริยวินัยอันเป็นสัจธรรมย่อมเป็นหนึ่งเดียวกันเสมอ

จะเป็นเช่นนั้นได้ ต้องเริ่มด้วยการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้องให้ถูกต้อง (ตัวพระธรรมวินัยเองก็ต้อง “ถูกต้อง” ก่อน แล้วผู้ศึกษาก็ต้องเรียนรู้เข้าใจอย่าง “ถูกต้อง” ด้วย)

จึงขอร้องมา ณ ที่นี้ว่า ชาวพุทธทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ เมื่อเข้ามาอยู่ในพระศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขอได้โปรดวางทิฏฐิของตนลง แล้วศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้องเพื่อตั้งใจปฏิบัติตาม 

การไม่ศึกษา-ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใดๆ คือการทำให้พระศาสนาอันตรธานเร็วขึ้น

……………

(มีต่อ)

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๓

๑๔:

………………………………..

ถ้าไม่ตื่น ก็จงหลับไปชั่วนิรันดร [๙]

—————————–

ตอนที่ ๖ – วางทิฏฐิลงก่อนที่จะศึกษา 

———

ตอนนี้ผมมีข้อสังเกตส่วนตัวบางประการ

พระสมัยก่อนท่านจะระแวงไว้ก่อนว่า “ทำอย่างนี้ผิด”

แต่พระสมัยนี้ตรงกันข้าม ท่านจะอ้างเข้าข้างตัวเองไว้ก่อนว่า “อย่างนี้ทำได้”

คือพระสมัยก่อนท่านจะพยายามหาเหตุผลเพื่อที่จะไม่ทำเช่นนั้นเช่นนี้ เพราะท่านกลัวผิด

แต่พระสมัยนี้ท่านจะพยายามหาเหตุผลมาอ้างว่าทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ ไม่ผิด ไม่เสียหายอะไร

จะเห็นได้ว่าวิธีคิดหรือมุมมองต่างกันคนละขั้ว

ฝ่ายหนึ่งคิดวิธีที่จะรักษาพระธรรมวินัย

อีกฝ่ายหนึ่งคิดวิธีที่จะละเมิดพระธรรมวินัย 

ประเด็นนี้ย่อมเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งที่เรียกกันว่า “ทัศนคติ” หรือ “มุมมอง” หรือ “อัตตา” หรือคำพระเรียกว่า “ทิฏฐิ” ของแต่ละคนด้วย 

เพราะฉะนั้น ผมจึงขออนุญาตที่จะเสนอแนะด้วยความเคารพว่า ในการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ขอได้โปรดวางหรือทิ้ง “ทัศนคติ” หรือ “มุมมอง” หรือ “อัตตา” หรือ “ทิฏฐิ” ของตนๆ ลงเสียก่อน

กรุณาอย่าแบก “ทิฏฐิ” เข้าไปด้วย

เพราะถ้าแบกทิฏฐิของตนเข้าไปด้วยแล้ว เป้าหมายของการศึกษาเรียนรู้จะเบี่ยงเบนไปทันที 

จะไม่ใช่การศึกษาเพื่อหาความรู้บริสุทธิ์ คือเพื่อรู้สิ่งที่ตนยังไม่รู้ และเพื่อเอาความรู้ไปเป็นหลักประพฤติดีปฏิบัติชอบ

แต่จะกลายเป็นการศึกษาเพื่อหาข้ออ้างหรือหาข้อสนับสนุนทิฏฐิของตน

คือศึกษาเพื่อจะเอาไปอ้างหรือเอาไปยืนยันว่า ที่ข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ทำอย่างนี้ นั้นถูกต้องแล้ว เพราะมีข้ออ้างตรงนั้นตรงนี้ว่าอย่างนั้นอย่างนี้รับรอง

อะไรที่แม้จะไม่ตรงกับประเด็นที่ตนเชื่อถืออยู่ ก็จะพยายาม “ตีความ” เพื่อให้สอดรับกับทิฏฐิของตนให้จงได้ 

การศึกษาพระธรรมวินัยด้วยทิฏฐิที่เบี่ยงเบนมักเกิดจากสาเหตุที่บุคคลที่เข้ามาอยู่ในพระศาสนาได้สร้างตัวตนหรือแสดงตัวตนคือประกาศคำสอนหรือได้ประพฤติปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยึดถือความคิดเห็นบางอย่างไวในใจ หรือตัวของผู้นั้นได้ “เป็น” อะไรอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นในสังคม 

ต่อจากนั้นก็พยายามสร้างความชอบธรรมให้แก่ตัวเองหรือกลุ่มของตัวโดยวิธีหาเหตุผลหรือหลักฐานจากพระธรรมวินัยพระไตรปิฎกมาสนับสนุนยืนยันว่าที่ตนทำเช่นนั้น สอนเช่นนั้น หรือเป็นเช่นนั้นถูกต้องแล้ว หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่ขัดกับพระธรรมวินัย 

อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูว่าสอดคล้องกับตัวตนของตนของกลุ่มตน ก็จะยกขึ้นมาเชิดชู

อะไรในพระธรรมวินัยที่พอจะตีความให้เข้ากับตัวตนของตนของกลุ่มตนได้ ก็จะตีความให้เป็นประโยชน์แก่ตน

อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูท่าว่าจะขัดกับตัวตนของตนของกลุ่มตน ก็จะมองข้าม ไม่เอามาคำนึง หรือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไปเลย 

แต่ที่ร้ายขึ้นไปก็คือ อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูท่าว่าจะขัดกับทฤษฎีที่ตนยืดถือหรือแสดงตัวตนออกไปแล้ว ก็จะพยายามหาทางปฏิเสธ “ไม่เอา” เช่นบางสำนักไม่เอาอรรถกถาเป็นต้น

บางกลุ่มก็ตั้งทฤษฎีปฏิเสธพระธรรมวินัยพระไตรปิฎกบางส่วนบางเล่มว่าไม่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่พระพุทธพจน์ 

ที่แสดงทัศนะออกมาตรงๆ ว่าไม่เชื่อพระไตรปิฎกก็มีแล้ว โดยบอกว่า พระไตรปิฎกเป็นเอกสารโบราณมีอายุเป็นพันปี เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ พิสูจน์ไม่ได้ ระหว่างเวลาตั้งพันปีนั้นใครจะแอบแทรกเสริมเติมแต่งอะไรลงไปบ้างก็ไม่มีใครรู้ 

ก็คือหาเหตุผลที่จะปฏิเสธพระไตรปิฎก เริ่มจากบางสูตร บางส่วน บางเล่มก่อน แล้วค่อยๆ ขยายวงออกไป

ที่ว่านี้ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องเชื่อพระไตรปิฎกทุกตัวอักษร แต่มองในแง่ที่ว่าเมื่อปฏิเสธส่วนหนึ่งได้ ต่อไปก็ปฏิเสธส่วนอื่นๆ ได้อีก เมื่อคนหนึ่งกลุ่มหนึ่งปฏิเสธได้ คนอื่นกลุ่มอื่นก็ปฏิเสธได้อีก จนในที่สุดก็ปฏิเสธได้ทั้งหมด

หลักของบัณฑิตแต่ปางก่อนก็คือ ส่วนไหนที่ตนไม่เชื่อก็วางลงไว้ที่เดิม ไม่ไปเพิกถอนทำลายหรือจับโยนทิ้ง อย่างแรงที่สุดก็บอกเพียงว่า “น คเหตพฺพํ” (ไม่พึงถือเอา) เพื่อให้คนภายหลังได้เห็นร่องรอยและระมัดระวัง

ท่าทีและทัศนะปฏิเสธเช่นนี้ ถ้าเป็นของคนนอกศาสนาก็จะไม่แปลกอะไร เพราะเขาอยู่ข้างนอก 

คนข้างนอกไม่ได้ปฏิเสธเฉพาะพระไตรปิฎก หากแต่ปฏิเสธพระพุทธเจ้านั่นเลยว่าไม่มีจริง ไม่ใช่ผู้ตรัสรู้จริง ปฏิเสธพระพุทธศาสนาทั้งศาสนานั่นเลยว่าไม่ใช่ศาสนาที่ดีจริง-แบบนี้ก็มีอยู่เป็นอเนกอนันต์ ไม่แปลกอะไร

แต่นี่เป็นทัศนะที่มาจากคนที่เข้ามาอยู่ในพระศาสนานี้แล้ว 

จะให้เข้าใจว่ากระไร? 

ก็ต้องเข้าใจว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพื่อจะตั้งใจน้อมรับเอาไปปฏิบัติ ไม่ใช่-แม้แต่จะศึกษาเพื่อความรู้เพื่อความเรืองปัญญา

หากแต่ศึกษาเพื่อเลือกหาสิ่งที่จะสนอง “ทิฏฐิ” ของตัวเองที่ยึดไว้อย่างมั่นคงนั่นเอง

อะไรตรงไหนที่ขัดกับทิฏฐิ-ความเห็นของตน ก็จะไม่เอา ไม่ยอมรับ หรือถึงกับปฏิเสธหรือคัดค้านไปเลย

หลักการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้อง คือ เรียนเพื่อรู้ให้ชัด แล้วปรับความเห็นของตนให้ตรงกับพระธรรมวินัย 

ไม่ใช่เอาความเห็นของตนเป็นที่ตั้ง แล้วปรับพระธรรมวินัยให้ตรงกับความเห็นของตน 

ประเด็นเยื้องแย้ง-หากมี พึงใช้วิธี “ปริปุจฉา” คือสอบถามทบทวนปรึกษาหารือกันโดยสามัคคีธรรม (เช่นหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์) เพื่อหาข้อยุติที่ถูกต้อง ไม่ใช่ยึดความเห็นของตัวเองเป็นที่ตั้งแบบไม่ยอมปล่อย แล้วถือดุ่ยไปตามลำพัง

อย่ากลัวเสียหน้า-ถ้าจะต้องเปลี่ยนความเห็น

เสียหน้า-ถ้าจะเสีย-ก็เพียงชั่วครู่

แต่ท่านจะได้หน้า คือได้รับความนับหน้าถือตาจากสังคมไปชั่วกาลนาน

แม้การเที่ยวเอาปัญหาไปขอให้ใครวินิจฉัยก็ควรใช้หลักการเดียวกัน คือหวังคำวินิจฉัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ไม่ใช่เกณฑ์ให้ได้คำวินิจฉัยที่ตรงกับความเห็นของตน

การเกณฑ์ให้ได้คำวินิจฉัยที่ตรงกับความเห็นของตนนั้นไม่เป็นผลดีอันใด 

ถ้าความเห็นของตนผิด ก็จะได้แต่คำวินิจฉัยที่ย้ำความเห็นผิดนั้นให้ตกลึกลงไป

ถ้าใครวินิจฉัยไม่ตรงกับความเห็นของตน ก็จะได้แต่ความขัดข้องขุ่นเคือง อาจถึงกับตั้งตัวเป็นคู่อริกันไปเลย

ขอให้พิจารณาถึงหลักของบรรดาเจ้าลัทธิทั้งหลาย นั่นคือ เมื่อมั่นใจในทิฏฐิหรือลัทธิของตน ก็จะประกาศลัทธิออกไปอย่างองอาจ ไม่ไปเที่ยววิ่งหาคำรับรองหรือคำวินิจฉัยจากใครใดอีก 

แต่ถ้าเข้าไปเป็น “สาวก” ของลัทธิใด ก็มีหน้าที่ศึกษาลัทธินั้นให้เข้าใจจะด้วยวิธีสอบถามขอคำวินิจฉัยจากผู้ที่ตนเชื่อถือในความรู้ในลัทธินั้นก็ได้ เมื่อได้ความรู้ที่ถูกต้องแล้วก็ตั้งใจปฏิบัติตาม

ที่มีปัญหาในพระศาสนาของเราทุกวันนี้ก็เกิดจากผู้ที่เข้ามาในพระศาสนาในฐานะสาวก แต่เมื่อเข้ามาแล้วแทนที่จะศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัยให้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วตั้งใจปฏิบัติตาม ก็กลับเข้ามาประกาศแสดงลัทธิของตนด้วยการประพฤติปฏิบัติที่วิปริตผิดแปลกต่างๆ หรือไม่ก็ชูทิฏฐิของตนเป็นหลักแล้วพยายามตีความคำสอนและแสวงหาแนวร่วมที่จะสนับสนุนว่าทิฏฐิของตนถูกต้อง 

โปรดสังเกตเถิดว่า พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ท่านไม่เคยขัดแย้งกันในหลักคำสอนและหลักปฏิบัติ หากจะเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนท่านก็จะปรับแก้ทิฏฐิของตน ไม่ใช้วิธีหาพวกหรือหาเสียงสนับสนุนทิฏฐิของตน 

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ท่านไม่เคยแยกตัวไปตั้งนิกายใหม่ เพราะอริยธรรมอริยวินัยอันเป็นสัจธรรมย่อมเป็นหนึ่งเดียวกันเสมอ

จะเป็นเช่นนั้นได้ ต้องเริ่มด้วยการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้องให้ถูกต้อง (ตัวพระธรรมวินัยเองก็ต้อง “ถูกต้อง” ก่อน แล้วผู้ศึกษาก็ต้องเรียนรู้เข้าใจอย่าง “ถูกต้อง” ด้วย)

จึงขอร้องมา ณ ที่นี้ว่า ชาวพุทธทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ เมื่อเข้ามาอยู่ในพระศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขอได้โปรดวางทิฏฐิของตนลง แล้วศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้องเพื่อตั้งใจปฏิบัติตาม 

การไม่ศึกษา-ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใดๆ คือการทำให้พระศาสนาอันตรธานเร็วขึ้น

……………

(มีต่อ)

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๓

๑๔:

………………………………..

ถ้าไม่ตื่น ก็จงหลับไปชั่วนิรันดร [๙]

—————————–

ตอนที่ ๖ – วางทิฏฐิลงก่อนที่จะศึกษา 

———

ตอนนี้ผมมีข้อสังเกตส่วนตัวบางประการ

พระสมัยก่อนท่านจะระแวงไว้ก่อนว่า “ทำอย่างนี้ผิด”

แต่พระสมัยนี้ตรงกันข้าม ท่านจะอ้างเข้าข้างตัวเองไว้ก่อนว่า “อย่างนี้ทำได้”

คือพระสมัยก่อนท่านจะพยายามหาเหตุผลเพื่อที่จะไม่ทำเช่นนั้นเช่นนี้ เพราะท่านกลัวผิด

แต่พระสมัยนี้ท่านจะพยายามหาเหตุผลมาอ้างว่าทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ ไม่ผิด ไม่เสียหายอะไร

จะเห็นได้ว่าวิธีคิดหรือมุมมองต่างกันคนละขั้ว

ฝ่ายหนึ่งคิดวิธีที่จะรักษาพระธรรมวินัย

อีกฝ่ายหนึ่งคิดวิธีที่จะละเมิดพระธรรมวินัย 

ประเด็นนี้ย่อมเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งที่เรียกกันว่า “ทัศนคติ” หรือ “มุมมอง” หรือ “อัตตา” หรือคำพระเรียกว่า “ทิฏฐิ” ของแต่ละคนด้วย 

เพราะฉะนั้น ผมจึงขออนุญาตที่จะเสนอแนะด้วยความเคารพว่า ในการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ขอได้โปรดวางหรือทิ้ง “ทัศนคติ” หรือ “มุมมอง” หรือ “อัตตา” หรือ “ทิฏฐิ” ของตนๆ ลงเสียก่อน

กรุณาอย่าแบก “ทิฏฐิ” เข้าไปด้วย

เพราะถ้าแบกทิฏฐิของตนเข้าไปด้วยแล้ว เป้าหมายของการศึกษาเรียนรู้จะเบี่ยงเบนไปทันที 

จะไม่ใช่การศึกษาเพื่อหาความรู้บริสุทธิ์ คือเพื่อรู้สิ่งที่ตนยังไม่รู้ และเพื่อเอาความรู้ไปเป็นหลักประพฤติดีปฏิบัติชอบ

แต่จะกลายเป็นการศึกษาเพื่อหาข้ออ้างหรือหาข้อสนับสนุนทิฏฐิของตน

คือศึกษาเพื่อจะเอาไปอ้างหรือเอาไปยืนยันว่า ที่ข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ทำอย่างนี้ นั้นถูกต้องแล้ว เพราะมีข้ออ้างตรงนั้นตรงนี้ว่าอย่างนั้นอย่างนี้รับรอง

อะไรที่แม้จะไม่ตรงกับประเด็นที่ตนเชื่อถืออยู่ ก็จะพยายาม “ตีความ” เพื่อให้สอดรับกับทิฏฐิของตนให้จงได้ 

การศึกษาพระธรรมวินัยด้วยทิฏฐิที่เบี่ยงเบนมักเกิดจากสาเหตุที่บุคคลที่เข้ามาอยู่ในพระศาสนาได้สร้างตัวตนหรือแสดงตัวตนคือประกาศคำสอนหรือได้ประพฤติปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยึดถือความคิดเห็นบางอย่างไวในใจ หรือตัวของผู้นั้นได้ “เป็น” อะไรอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นในสังคม 

ต่อจากนั้นก็พยายามสร้างความชอบธรรมให้แก่ตัวเองหรือกลุ่มของตัวโดยวิธีหาเหตุผลหรือหลักฐานจากพระธรรมวินัยพระไตรปิฎกมาสนับสนุนยืนยันว่าที่ตนทำเช่นนั้น สอนเช่นนั้น หรือเป็นเช่นนั้นถูกต้องแล้ว หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่ขัดกับพระธรรมวินัย 

อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูว่าสอดคล้องกับตัวตนของตนของกลุ่มตน ก็จะยกขึ้นมาเชิดชู

อะไรในพระธรรมวินัยที่พอจะตีความให้เข้ากับตัวตนของตนของกลุ่มตนได้ ก็จะตีความให้เป็นประโยชน์แก่ตน

อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูท่าว่าจะขัดกับตัวตนของตนของกลุ่มตน ก็จะมองข้าม ไม่เอามาคำนึง หรือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไปเลย 

แต่ที่ร้ายขึ้นไปก็คือ อะไรในพระธรรมวินัยที่ดูท่าว่าจะขัดกับทฤษฎีที่ตนยืดถือหรือแสดงตัวตนออกไปแล้ว ก็จะพยายามหาทางปฏิเสธ “ไม่เอา” เช่นบางสำนักไม่เอาอรรถกถาเป็นต้น

บางกลุ่มก็ตั้งทฤษฎีปฏิเสธพระธรรมวินัยพระไตรปิฎกบางส่วนบางเล่มว่าไม่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่พระพุทธพจน์ 

ที่แสดงทัศนะออกมาตรงๆ ว่าไม่เชื่อพระไตรปิฎกก็มีแล้ว โดยบอกว่า พระไตรปิฎกเป็นเอกสารโบราณมีอายุเป็นพันปี เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ พิสูจน์ไม่ได้ ระหว่างเวลาตั้งพันปีนั้นใครจะแอบแทรกเสริมเติมแต่งอะไรลงไปบ้างก็ไม่มีใครรู้ 

ก็คือหาเหตุผลที่จะปฏิเสธพระไตรปิฎก เริ่มจากบางสูตร บางส่วน บางเล่มก่อน แล้วค่อยๆ ขยายวงออกไป

ที่ว่านี้ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องเชื่อพระไตรปิฎกทุกตัวอักษร แต่มองในแง่ที่ว่าเมื่อปฏิเสธส่วนหนึ่งได้ ต่อไปก็ปฏิเสธส่วนอื่นๆ ได้อีก เมื่อคนหนึ่งกลุ่มหนึ่งปฏิเสธได้ คนอื่นกลุ่มอื่นก็ปฏิเสธได้อีก จนในที่สุดก็ปฏิเสธได้ทั้งหมด

หลักของบัณฑิตแต่ปางก่อนก็คือ ส่วนไหนที่ตนไม่เชื่อก็วางลงไว้ที่เดิม ไม่ไปเพิกถอนทำลายหรือจับโยนทิ้ง อย่างแรงที่สุดก็บอกเพียงว่า “น คเหตพฺพํ” (ไม่พึงถือเอา) เพื่อให้คนภายหลังได้เห็นร่องรอยและระมัดระวัง

ท่าทีและทัศนะปฏิเสธเช่นนี้ ถ้าเป็นของคนนอกศาสนาก็จะไม่แปลกอะไร เพราะเขาอยู่ข้างนอก 

คนข้างนอกไม่ได้ปฏิเสธเฉพาะพระไตรปิฎก หากแต่ปฏิเสธพระพุทธเจ้านั่นเลยว่าไม่มีจริง ไม่ใช่ผู้ตรัสรู้จริง ปฏิเสธพระพุทธศาสนาทั้งศาสนานั่นเลยว่าไม่ใช่ศาสนาที่ดีจริง-แบบนี้ก็มีอยู่เป็นอเนกอนันต์ ไม่แปลกอะไร

แต่นี่เป็นทัศนะที่มาจากคนที่เข้ามาอยู่ในพระศาสนานี้แล้ว 

จะให้เข้าใจว่ากระไร? 

ก็ต้องเข้าใจว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพื่อจะตั้งใจน้อมรับเอาไปปฏิบัติ ไม่ใช่-แม้แต่จะศึกษาเพื่อความรู้เพื่อความเรืองปัญญา

หากแต่ศึกษาเพื่อเลือกหาสิ่งที่จะสนอง “ทิฏฐิ” ของตัวเองที่ยึดไว้อย่างมั่นคงนั่นเอง

อะไรตรงไหนที่ขัดกับทิฏฐิ-ความเห็นของตน ก็จะไม่เอา ไม่ยอมรับ หรือถึงกับปฏิเสธหรือคัดค้านไปเลย

หลักการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้อง คือ เรียนเพื่อรู้ให้ชัด แล้วปรับความเห็นของตนให้ตรงกับพระธรรมวินัย 

ไม่ใช่เอาความเห็นของตนเป็นที่ตั้ง แล้วปรับพระธรรมวินัยให้ตรงกับความเห็นของตน 

ประเด็นเยื้องแย้ง-หากมี พึงใช้วิธี “ปริปุจฉา” คือสอบถามทบทวนปรึกษาหารือกันโดยสามัคคีธรรม (เช่นหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์) เพื่อหาข้อยุติที่ถูกต้อง ไม่ใช่ยึดความเห็นของตัวเองเป็นที่ตั้งแบบไม่ยอมปล่อย แล้วถือดุ่ยไปตามลำพัง

อย่ากลัวเสียหน้า-ถ้าจะต้องเปลี่ยนความเห็น

เสียหน้า-ถ้าจะเสีย-ก็เพียงชั่วครู่

แต่ท่านจะได้หน้า คือได้รับความนับหน้าถือตาจากสังคมไปชั่วกาลนาน

แม้การเที่ยวเอาปัญหาไปขอให้ใครวินิจฉัยก็ควรใช้หลักการเดียวกัน คือหวังคำวินิจฉัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ไม่ใช่เกณฑ์ให้ได้คำวินิจฉัยที่ตรงกับความเห็นของตน

การเกณฑ์ให้ได้คำวินิจฉัยที่ตรงกับความเห็นของตนนั้นไม่เป็นผลดีอันใด 

ถ้าความเห็นของตนผิด ก็จะได้แต่คำวินิจฉัยที่ย้ำความเห็นผิดนั้นให้ตกลึกลงไป

ถ้าใครวินิจฉัยไม่ตรงกับความเห็นของตน ก็จะได้แต่ความขัดข้องขุ่นเคือง อาจถึงกับตั้งตัวเป็นคู่อริกันไปเลย

ขอให้พิจารณาถึงหลักของบรรดาเจ้าลัทธิทั้งหลาย นั่นคือ เมื่อมั่นใจในทิฏฐิหรือลัทธิของตน ก็จะประกาศลัทธิออกไปอย่างองอาจ ไม่ไปเที่ยววิ่งหาคำรับรองหรือคำวินิจฉัยจากใครใดอีก 

แต่ถ้าเข้าไปเป็น “สาวก” ของลัทธิใด ก็มีหน้าที่ศึกษาลัทธินั้นให้เข้าใจจะด้วยวิธีสอบถามขอคำวินิจฉัยจากผู้ที่ตนเชื่อถือในความรู้ในลัทธินั้นก็ได้ เมื่อได้ความรู้ที่ถูกต้องแล้วก็ตั้งใจปฏิบัติตาม

ที่มีปัญหาในพระศาสนาของเราทุกวันนี้ก็เกิดจากผู้ที่เข้ามาในพระศาสนาในฐานะสาวก แต่เมื่อเข้ามาแล้วแทนที่จะศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัยให้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วตั้งใจปฏิบัติตาม ก็กลับเข้ามาประกาศแสดงลัทธิของตนด้วยการประพฤติปฏิบัติที่วิปริตผิดแปลกต่างๆ หรือไม่ก็ชูทิฏฐิของตนเป็นหลักแล้วพยายามตีความคำสอนและแสวงหาแนวร่วมที่จะสนับสนุนว่าทิฏฐิของตนถูกต้อง 

โปรดสังเกตเถิดว่า พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ท่านไม่เคยขัดแย้งกันในหลักคำสอนและหลักปฏิบัติ หากจะเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนท่านก็จะปรับแก้ทิฏฐิของตน ไม่ใช้วิธีหาพวกหรือหาเสียงสนับสนุนทิฏฐิของตน 

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ท่านไม่เคยแยกตัวไปตั้งนิกายใหม่ เพราะอริยธรรมอริยวินัยอันเป็นสัจธรรมย่อมเป็นหนึ่งเดียวกันเสมอ

จะเป็นเช่นนั้นได้ ต้องเริ่มด้วยการศึกษาสอบสวนค้นคว้าเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้องให้ถูกต้อง (ตัวพระธรรมวินัยเองก็ต้อง “ถูกต้อง” ก่อน แล้วผู้ศึกษาก็ต้องเรียนรู้เข้าใจอย่าง “ถูกต้อง” ด้วย)

จึงขอร้องมา ณ ที่นี้ว่า ชาวพุทธทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ เมื่อเข้ามาอยู่ในพระศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขอได้โปรดวางทิฏฐิของตนลง แล้วศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้องเพื่อตั้งใจปฏิบัติตาม 

การไม่ศึกษา-ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใดๆ คือการทำให้พระศาสนาอันตรธานเร็วขึ้น

……………

(มีต่อ)

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๓

๑๔:

………………………………..

ถ้าไม่ตื่น ก็จงหลับไปชั่วนิรันดร [๙]

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

………………………………..

ถ้าไม่ตื่น ก็จงหลับไปชั่วนิรันดร [๑๑]

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *