บาลีวันละคำ

พาฬมฤค (บาลีวันละคำ 3,918)

พาฬมฤค

พาฬมฤค

รูปลึก แต่ไม่ยากที่จะรู้ความหมาย

อ่านว่า พา-ละ-มะ-รึก

ประกอบด้วยคำว่า พาฬ + มฤค

(๑) “พาฬ” 

บาลีเป็น “วาฬ” อ่านว่า วา-ละ รากศัพท์มาจาก

(1) วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อาลฺ (ธาตุ = ถือเอา) + (อะ) ปัจจัย, ลบ อิ ที่ วิ (วิ > ), แปลง เป็น

: วิ > + อาลฺ = วาลฺ + = วาล > วาฬ แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่ถือเอาชีวิตโดยพิเศษ” (คือกัดตายโดยพลันได้) 

(2) วา (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อล ปัจจัย, แปลง เป็น

: วา + อล = วาล > วาฬ แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่เป็นไปตามปกติ” 

(3) วลฺ (ธาตุ = ระวัง, ป้องกัน) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (วลฺ > วาล), แปลง เป็น

: วลฺ + = วลณ > วล > วาล > วาฬ แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่ผู้คนระวังตนออกห่าง” หรือ “ผู้ที่คนระวังตนออกห่าง” 

“วาฬ” ในบาลีหมายถึง 

(1) งู (a snake) 

(2) สัตว์กินสัตว์อื่น (a beast of prey)

บาลี “วาฬ” ในภาษาไทยแผลง เป็น ตามหลักนิยม ใช้เป็น “พาฬ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

พาฬ, พาฬ– : (คำนาม) สัตว์ร้าย, ช้างร้าย, สิงโต, งู, เสือ. (ป. พาล, วาฬ; ส. วฺยาฑ, วฺยาล).”

(๒) “มฤค” 

บาลีเป็น “มิค” (มิ-คะ) รากศัพท์มาจาก มิ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย

: มิ + = มิค (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์อันมนุษย์ที่กินเนื้อและสัตว์ที่แข็งแรงกว่าเบียดเบียน” 

มิค” ในบาลี หมายถึง –

(1) สัตว์ป่า, สัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติ (a wild animal, an animal in its natural state)

(2) กวาง, เลียงผา, เนื้อทราย (a deer, antelope, gazelle)

มิค” ในบาลี เป็น “มฺฤค” ในสันสกฤต พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

มฤค, มฤค– : (คำนาม) สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค).”

วาฬ + มิค = วาฬมิค (วา-ละ-มิ-คะ) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สัตว์ที่ร้ายต่อมฤค” (2) “มฤคที่ดุร้าย” (หมายถึงดูรูปกายภายนอกคล้ายมฤค เช่นมี 4 เท้าเหมือนกัน แต่เป็นมฤคที่ดุร้าย)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วาฬมิค” ว่า a beast of prey, predaceous animal, like tiger, leopard, etc. (สัตว์ที่กินสัตว์ อื่น เช่น เสือ, เสือดาว, ฯลฯ)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

วาฬมิค : (คำนาม) พาฬมฤค, สัตว์ร้าย. (ป.).”

วาฬมิค” ในภาษาไทยแผลง เป็น ตามหลักนิยม ใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “พาฬมฤค” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

พาฬมฤค : (คำนาม) สัตว์ร้าย, สัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร. (ป. พาฬมิค; ส. วฺยาลมฺฤค).”

ขยายความ :

คัมภีร์ปปัญจสูทนี ภาค 3 หน้า 276 ตอนอธิบายพรหมายุสูตร กล่าวถึง นกการเวกว่ามีเสียงร้องไพเราะจับใจ สัตว์ใดได้ยินเป็นต้องหลงใหล รวมทั้ง “พาฬมฤค” ด้วย 

ขอยกข้อความมาเสนอไว้ประดับความรู้ปัญญา ดังนี้ –

…………..

กรวิกสกุเณ  กิร  มธุรรสํ  อมฺพปกฺกํ  มุขตุณฺฑเกน  ปหริตฺวา  ปคฺฆริตรสํ  สายิตฺวา  ปกฺเขน  ตาลํ  ทตฺวา  วิกูชมาเน  

ได้ยินว่าเมื่อนกการเวกจิกมะม่วงสุกอันมีรสหวานอร่อยด้วยจะงอยปาก ลิ้มรสที่ไหลออกแล้วให้จังหวะด้วยปีกขานขันอยู่

จตุปฺปทาทีนิ  มตฺตานิ  วิย  ลฬิตุํ  อารภนฺติ. 

สัตว์จตุบาทเป็นต้นย่อมเหมือนเคลิบเคลิ้มเริ่มงงงวย

โคจรปฺปสุตาปิ  จตุปฺปทา  มุขคตานิปิ  ติณานิ  ฉฑฺเฑตฺวา  ตํ  สทฺทํ  สุณนฺติ. 

สัตว์จตุบาทแม้ที่กำลังหากินก็ทิ้งหญ้าทั้งที่อยู่ในปากเสีย ฟังเสียงนกนั้น

วาฬมิคาปิ   ขุทฺทกมิเค  อนุพนฺธมานา  อุกฺขิตฺตปาทํ  อนุกฺขิปิตฺวาว  ติฏฺฐนฺติ. 

แม้พาฬมฤคกำลังติดตามเนื้อน้อย ๆ อยู่ เท้าที่ยกขึ้นแล้วก็ไม่ยอมย่างกลับหยุดฟังอยู่

อนุพทฺธมิคาปิ  มรณภยํ  หิตฺวาปิ  ติฏฺฐนฺติ. 

แม้เนื้อที่ถูกติดตามเล่าก็เลิกกลัวตายหยุดฟังอยู่ 

อากาเส  ปกฺขนฺนปกฺขิโนปิ  ปกฺเข  ปสาเรตฺวา  ติฏฺฐนฺติ.

แม้นกที่บินไปในอากาศก็กางปีกหยุดเฉยอยู่

อุทเก  มจฺฉาปิ  กณฺณปฏลํ  น  อปฺโปเฐนฺตา  ตํ  สทฺทํ  สุณมานาว  ติฏฺฐนฺติ. 

ทั้งปลาในน้ำเล่าก็ไม่โบกครีบ หยุดแหวกว่ายฟังแต่เสียงนกนั้น

เอวํ  มญฺชุรุตา  กรวิกา. 

นกการเวกร้องไพเราะด้วยประการฉะนี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แม้จะดุอย่างเสือ

: ก็อย่ากินเนื้อพวกเดียวกัน

#บาลีวันละคำ (3,918)

5-3-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *