บาลีวันละคำ

อนาคาริก (บาลีวันละคำ 1,938)

อนาคาริก

รูปแบบหนึ่งของผู้ทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา

ภาษาไทยอ่านว่า อะ-นา-คา-ริก

อนาคาริก” บาลีอ่านว่า อะ-นา-คา-ริ-กะ รูปคำเดิมมาจาก อน + อคาร + ณิก ปัจจัย

(๑) “อน” (อะ-นะ) แปลงมาจาก “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

แปลง เป็น อน ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “อคาร” ( < อาคาริก) ขึ้นต้นด้วยสระ จึงต้องแปลง เป็น อน

(๒) “อคาร

บาลีอ่านว่า อะ-คา-ระ (ศัพท์นี้บาลีเป็น “อาคาร” ก็มี) รากศัพท์มาจาก อค (สิ่งที่ไม่ไป, สิ่งที่ไปไหนไม่ได้) + รา (ธาตุ = ถือเอา, ยึดไว้) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ทีฆะ อะ ที่ (อ)- เป็น อา (อค > อคา), ลบ อา ที่สุดธาตุ (รา > )

: อค + รา = อครา + กฺวิ = อครากฺวิ >อคารากฺวิ > อคารา > อคาร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ยึดเสาไว้ไม่ให้ไป” หมายความว่า เสา ฝา หลังคา และเครื่องประกอบต่างๆ ถูกยึดไว้ตรงนั้น ไปไหนไม่ได้ ที่ตรงนั้นจึงชื่อว่า “อคาร

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อคาร” ว่า house or hut (บ้าน หรือกระท่อม)

ภาษาบาลีเป็น “อคาร” แต่ในภาษาไทยใช้ว่า “อาคาร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

อาคาร : เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ. (ป., ส. อาคาร, อคาร).”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับปรุงคำนิยามใหม่เป็นดังนี้ –

อาคาร : เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น. (ป., ส. อาคาร, อคาร).”

การประสมคำ :

(1) อคาร + ณิก ปัจจัย, ลบ (ณิก > อิก), ทีฆะต้นศัพท์ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (อคาร > อาคาร)

: อคาร + ณิก > อิก = อคาริก > อาคาริก แปลว่า “ผู้อยู่ในบ้านเรือน” คือผู้ครองเรือน ผู้มีครอบครัว

(2) + อาคาริก แปลง เป็น อน

: > อน + อาคาริก = อนาคาริก แปลว่า “ผู้ไม่อยู่ในบ้านเรือน” คือผู้ไม่ครองเรือน

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต แปล “อนาคาริก” เป็นอังกฤษดังนี้ –

อนาคาริก (Anāgārika) : lit. a homeless one; one who enters the homeless life without formally entering the Sangha.”

คำว่า “อนาคาริก” ยังไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

…………..

ขยายความ :

คำว่า “อนาคาริก” ตามรูปศัพท์ควรหมายถึงผู้ที่สละบ้านเรือนออกไปถือเพศเป็นบรรพชิต ถ้าในพระพุทธศาสนาก็คือพระภิกษุสามเณร หรือเรียกเป็นคำรวมว่า “นักบวช” (ปัจจุบันอาจรวมแม่ชีเข้าไปด้วย ตามค่านิยมของสังคม แต่กฎหมายยังไม่รับรองว่าแม่ชีเป็นนักบวช)

แต่ตามที่นิยมใช้กัน เมื่อพูดว่า “อนาคาริก” มักหมายถึงชาวบ้านที่ยังไม่ได้ถือเพศเป็นบรรพชิต แต่มีวัตรปฏิบัติบางประการคล้ายบรรพชิต เช่นไม่มีคู่ครอง ไม่ประกอบอาชีพหาทรัพย์ ถือศีลบางข้อเพิ่มขึ้นจากอุบาสกอุบาสิกาทั่วไป ถ้าเรียกเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายก็คือ ครองชีวิตกึ่งพระกึ่งชาวบ้าน คล้ายกับเตรียมตัวที่จะเป็นบรรพชิตในอนาคต

ในประวัติศาสตร์พุทธศาสนายุคใหม่ “อนาคาริก” ที่มีชื่อเป็นที่นับถือทั่วไป คือ “อนาคาริก ธัมมปาละ” ชาวศรีลังกา (1864-1933) ผู้รณรงค์ทวงคืน “พุทธคยา” จากกลุ่มพราหมณ์ลัทธิมหันต์ซึ่งถือครองถือสิทธิเหนือ “มหาโพธิ” มายาวนานได้สำเร็จ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ชาวบ้านครองชีวิตอย่างสมณะ เหมือนดอกบัวบาน

: สมณะครองชีวิตอย่างชาวบ้าน เหมือนดอกบัวโรย

——————

(ภาพประกอบและข้อมูลจากเฟซบุ๊กของ ศ.ดร. Uthit Siriwan)

#บาลีวันละคำ (1,938)

29-9-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย