วาสนาบารมี

บาลีวันละคำ

วาสนาบารมี (บาลีวันละคำ 782)

วาสนาบารมี
(บาลีไทย)

อ่านว่า วาด-สะ-หฺนา-บา-ระ-มี
เป็นการเอาคำว่า “วาสนา” กับ “บารมี” มาพูดรวมกัน

“วาสนา” บาลีอ่านว่า วา-สะ-นา รากศัพท์มาจาก –

(1) วสฺ (ธาตุ = อยู่) + ยุ ปัจจัย + อา (ปัจจัยอิตถีลิงค์), ทีฆะต้นธาตุ คือ อ ที่ ว- เป็น อา, แปลง ยุ เป็น อน
: วสฺ > วาส + ยุ > อน = วาสน + อา = วาสนา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่อยู่ในจิต”

(2) วาสฺ (ธาตุ = อบ, บ่ม) + ยุ ปัจจัย + อา (ปัจจัยอิตถีลิงค์), แปลง ยุ เป็น อน
: วาส + ยุ > อน = วาสน + อา = วาสนา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาบ่มเพาะมา”

ขยายความว่า กิริยาอาการหรือลักษณะการพูดจาเป็นต้น ที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษหรือเฉพาะตัวของบุคคล ซึ่งนอนเนื่องอยู่ในจิตหรือได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานาน ถึงข้ามภพข้ามชาติ จนเคยชินติดเป็นพื้นนิสัยประจำตัวและแก้ไม่หายทั้งๆ ที่จิตเจตนามิได้ต้องการเป็นเช่นนั้น เช่น กิริยาเรียบร้อยหรือหลุกหลิก คำพูดกระโชกโฮกฮากหรือนุ่มนวล คำติดปากที่หยาบหรือสุภาพ เป็นต้น เหล่านี้บาลีเรียกว่า “วาสนา”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วาสนา” ว่า that which remains in the mind, tendencies of the past, impression (สิ่งที่เหลืออยู่ในใจ, แนวโน้มของอดีต, ความฝังใจหรือประทับใจ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

“วาสนา : บุญบารมี, กุศลที่ทําให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา

Read More