แพทย์-แพศย์

บาลีวันละคำ

แพทย์-แพศย์ (บาลีวันละคำ 799)

แพทย์-แพศย์

อ่านว่า แพด เหมือนกัน แต่สะกดต่างกัน ความหมายก็ต่างกัน

(๑) “แพทย์” (-ทย์) บาลีเป็น “เวชฺช” (เวด-ชะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) วิชฺชา ( = ความรู้ทางยา) + ณ ปัจจัย, แผลง อิ ที่ วิชฺ-เป็น เอ, ลบ ณ และลบสระท้ายคำหน้า : วิชฺชา > วิชฺช

: วิชฺชา + ณ = วิชฺชา > เวชฺชา > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้วิชาทางยา”

(2) วิทฺ (ธาตุ = รู้) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณ, แผลง อิ ที่ วิ-เป็น เอ, แปลง ทฺย เป็น ชฺช

: วิทฺ + ณฺย = วิทฺย > เวทฺย > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้การเยียวยา”

“เวชฺช” หมายถึง หมอรักษาโรค

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เวชฺช” ว่า a physician, doctor, medical man, surgeon (หมอ, แพทย์, หมอยา, ศัลยแพทย์)

“เวชฺช” สันสกฤตเป็น “ไวทฺย” ใช้ในภาษาไทยว่า “แพทย์”
จะเห็นว่าคำนี้เราเขียนอิงไปทางสันสกฤต

(๒) “แพศย์” (-ศย์) บาลีเป็น “เวสฺส” (เวด-สะ) รากศัพท์มาจาก วิสฺ (ธาตุ = ไป, เข้าไป) + ส ปัจจัย, แผลง อิ ที่ วิ-เป็น เอ

: วิสฺ + ส = วิสฺส > เวสฺส แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ไปทางโน้นทางนี้ด้วยความอยากได้ทรัพย์” (2) “ผู้เข้าไป” ( = เข้าไปติดต่อทำกิจการต่างๆ)

Read More