บาลีวันละคำ

อเนสนา (บาลีวันละคำ 1,943)

อเนสนา

อ่านว่า อะ-เน-สะ-นา

อเนสนา” รูปคำเดิมมาจาก อน + เอสนา

(๑) “อน” (อะ-นะ) แปลงมาจาก “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

แปลง เป็น อน ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “เอสนา” ขึ้นต้นด้วยสระ จึงต้องแปลง เป็น อน

(๒) “เอสนา

อ่านว่า เอ-สะ-นา รากศัพท์มาจาก อิสฺ (ธาตุ = ปรารถนา; แสวงหา) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แผลง อิ ที่ อิ-(สฺ) เป็น เอ (อิสฺ > เอส) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: อิสฺ + ยุ > อน = อิสน > เอสน + อา = เอสนา แปลตามศัพท์ว่า (1) “ความปรารถนา” (2) “การแสวงหา” หมายถึง ความปรารถนา, ความอยาก, ความต้องการ; การแสวงหา (desire, longing, wish; looking for)

> อน + เอสนา = อเนสนา แปลตามศัพท์ว่า “ไม่ใช่การแสวงหา” หมายถึง ไม่เป็นการแสวงหาที่ถูกต้อง คือ การแสวงหาอันไม่สมควร (impropriety)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “อเนสนา” ไว้ดังนี้ –

อเนสนา : การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ, เลี้ยงชีวิตผิดสมณะ เช่น หลอกลวงเขาด้วยการอวดอุตตริมนุสสธรรม ทำวิญญัติคือออกปากขอต่อคนที่ไม่ควรขอ ใช้เงินลงทุนหาผลประโยชน์ ต่อลาภด้วยลาภ คือให้แต่น้อยเพื่อหวังตอบแทนมาก เป็นหมอเวทมนต์เสกเป่า เป็นต้น.

ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ (ขุททกปาฐะเป็นพระไตรปิฎก) แสดงวิธีทำ “อเนสนา” ไว้ 21 รายการ ดังนี้-

1 เวฬุทานํ ให้ไม้ไผ่

2 ปตฺตทานํ ให้ใบไม้

3 ปุปฺผทานํ ให้ดอกไม้

4 ผลทานํ ให้ผลไม้

5 ทนฺตกฏฺฐทานํ ให้ไม่ชำระฟัน รวมหมากพลูเข้าด้วย

6 มุโขทกทานํ ให้น้ำบ้วนปากหรือน้ำล้างหน้า

7 สินานทานํ ให้เครื่องสนานเครื่องสำอาง

8 จุณฺณทานํ ให้จุรณสำหรับทา

9 มตฺติกาทานํ ให้ดิน

10 ปาตุกมฺยตํ พูดสอพลอเพื่อให้รัก

11 มุคฺคสูปฺยตํ พูดเท็จปนจริงจริงปนเท็จ

12 ปาริภฏฺยตํ ประจบอุ้มลูกหลานชาวบ้าน

13 ชงฺฆเปสนิกํ รับเป็นตัวแทนติดต่อ

14 เวชฺชกมฺมํ เป็นหมอรักษาโรค

15 ทูตกมฺมํ เป็นคนสื่อสาส์น

16 ปหิณคมนํ ไปในที่ที่เขาใช้ไป (รับใช้เขา)

17 ปิณฺฑปฏิปิณฺฑํ ให้อาหารแลกอาหาร

18 ทานานุปฺปทานํ ให้ของใช้แลกของใช้

19 วตฺถุวิชฺชา เป็นหมอดูลักษณะที่ตั้งบ้านเรือน

20 นกฺขตฺตวิชฺชา เป็นหมอดูฤกษ์ยาม

21 องฺควิชฺชา เป็นหมอดูลักษณะชายหญิง

ที่มา: คัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ หน้า 326

…………..

โดยเนื้อหา “อเนสนา” ก็คือการทุจริต หรือ corruption ประเภทหนึ่งของนักบวชนั่นเอง

อเนสนา” ว่าในทางภาษา สังคมชาวพุทธชาวบ้านอาจไม่คุ้นกับคำนี้ แต่ในทางปฏิบัติหรือพฤติกรรมที่ปรากฏ ย่อมเป็นที่คุ้นเคยและมองเห็นกันทั่วไปทั้งในสังคมโลกและสังคมธรรม

สมัยใดผู้ปกครองปล่อยปละละเลยไม่ห้ามปรามกวดขัน

สมัยนั้น อเนสนาย่อมระบาดกลาดเกลื่อนทั่วไปทุกวงการ

สมัยใดผู้ปกครองเข้มงวดกวดขันหมั่นอบรมฝึกหัดขัดเกลา

สมัยนั้น อเนสนาย่อมซบเซาเบาบางจางหายไปจากสังคม

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สุกรที่เขมือบภักษ์จนอ้วนพี ย่อมถูกเชือดก่อน ฉันใด

: สมณะที่แสวงลาภผิดวิสัย ย่อมไปนรกก่อน ฉันนั้น

——————

(ขยายความจากคำของ ราเชนทร์ ศิวะเสาร์แก้ว)

#บาลีวันละคำ (1,943)

4-10-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย