บาลีวันละคำ

อรุโณทัย – อโณทัย (บาลีวันละคำ 1,942)

อรุโณทัย – อโณทัย

มีขึ้น ก็มีลง

อ่านว่า อะ-รุ-โน-ไท / อะ-โน-ไท

แยกศัพท์เป็น อรุณ + อุทัย

(๑) “อรุณ

บาลีอ่านว่า อะ-รุ-นะ รากศัพท์มาจาก อรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อุณ ปัจจัย

: อรฺ + อุณ = อรุณ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “แสงที่เป็นไปโดยมีแสงแดงอ่อนๆ” “มีแสงแดงอ่อนๆ” “แสงที่เป็นไปโดยเป็นสีทอง

อรุณ” มีความหมาย ๒ อย่างคือ (1) ดวงอาทิตย์ (the sun) (2) รุ่งอรุณ (the dawn)

บาลี “อรุณ” สันสกฤตก็เป็น “อรุณ” เช่นกัน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

อรุณ : (คำนาม) นามพระอาทิตย์; เช้า; สีหรือแสงอรุณ; ชายใบ้; name of the sun; the dawn; the colour of the sun; a dumb man.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อรุณ : (คำนาม) เวลาใกล้พระอาทิตย์จะขึ้น มี ๒ ระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดงเรื่อ ๆ (แสงทอง), เวลายํ่ารุ่ง. (ป., ส.).”

(๒) “อุทัย

บาลีเป็น “อุทย” (อุ-ทะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก อุ (คำอุปสรรค = ขึ้น, บน, นอก) อิ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ลง อาคมระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (อุ + + อิ), แปลง อิ เป็น อย

: อุ + + อิ = อุทิ > อุทย + = อุทย (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การขึ้นไป” หมายถึง การขึ้น, ความเจริญ; การเพิ่มพูน; รายได้, ผลประโยชน์ (rise, growth; increment, increase; income, revenue, interest)

บาลี “อุทย” สันสกฤตก็เป็น “อุทย” เช่นกัน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

อุทย : (คำนาม) การขึ้นแห่งดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์ทั่วไป; ภูเขาตวันออก, เชื่อกันว่าแดดขึ้นจากหลังภูเขานั้น; การขึ้น; แสง; ความงาม; ความรุ่งเรือง; โชคดี; เงินผลประโยชน์ซึ่งไหลเข้า; the rising of the sun and planets in general; the eastern mountain, behind which the sun is supposed to rise; rising; ascending; light; splendour; prosperity; good fortune; income.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุทัย : (คำนาม) การเกิดขึ้น เช่น สุโขทัย = การเกิดขึ้นแห่งความสุข, การตั้งขึ้น เช่น อรุโณทัย = การตั้งขึ้นแห่งอรุณ. (คำกริยา) เริ่มส่องแสง ในคำว่า อาทิตย์อุทัย. (ป., ส.).”

อรุณ + อุทย = อรุโณทย แปลว่า “การขึ้นไปแห่งอรุณ” หมายถึง พระอาทิตย์ขึ้น (the rising of the sun, sunrise)

ข้อสังเกต :

ในบาลี ศัพท์สมาสที่คำหลังขึ้นต้นสระ อุ นิยมแผลง อุ เป็น โอ เช่น –

สุข + อุทย = สุโขทัย > สุโขทัย

นร + อุตฺตม (อุดม) = นรุตฺตม > นโรตฺตม > นโรดม

และในที่นี้ อรุณ + อุทย = อรุโณทย > อรุโณทัย

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อรุโณทัย : (คำนาม) เวลาตั้งขึ้นแห่งอรุณ, เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลาเช้าตรู่, ใช้ว่า อโณทัย ก็มี. (ป.).”

ได้ความว่า “อโณทัย” แปลงรูปมาจาก “อรุโณทัย

ดังนั้น เมื่อเห็น “อโณทัย” ที่ไหน ก็พึงทราบว่าเป็นคำเดียวกับ “อรุโณทัย” นั่นเอง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เมื่อเห็นอรุโณทัย จงมองให้ไกลไปถึงอาทิตย์อัสดงคต

: เมื่อเห็นตำแหน่งลาภยศ จงมองไปถึงวันเริดร้างแรมรา

#บาลีวันละคำ (1,942)

3-10-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย