บาลีวันละคำ

จ-ศัพท์ (บาลีวันละคำ 2,554)

-ศัพท์

ตัวเดียว อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

อักษร “” ( จาน) ตัวเดียว บาลีอ่านว่า “จะ” (ไม่ใช่ “จอ”) นักเรียนบาลีในเมืองไทยนิยมเรียกเต็มๆ ว่า “-ศัพท์” อ่านว่า จะ-สับ

-ศัพท์” เป็นศัพท์จำพวก “นิบาต” หลักของศัพท์จำพวกนิบาตคือไม่แจกด้วยวิภัตติเหมือนคำนาม อยู่ที่ไหนก็คงรูปเดิม เช่น “” ก็คงเป็น “” ไม่เปลี่ยนรูปเป็น โจ เจ จํ จา … เหมือนคำนาม

ตำราบาลีไวยากรณ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเรียกนิบาตหมวดนี้ว่า “นิบาตสำหรับผูกศัพท์และประโยคมีอัตถะเป็นอเนก” (นอกจาก “” แล้วยังมีคำอื่นอีก)

นักเรียนบาลีท่องจำกันว่า “ (จะ) = ด้วย, อนึ่ง, ก็, จริงอยู่

คำแปลของ “-ศัพท์” ที่ควรทราบพอเป็นพื้นเบื้องต้น คือ –

(1) ใช้ควบคำนาม:

– แปลโดยพยัญชนะว่า “ด้วย” เช่น “มาตา ปิตา ” แปลว่า “อันว่าแม่ด้วย อันว่าพ่อด้วย

– แปลโดยอรรถว่า “และ” – “มาตา ปิตา ” แปลว่า “แม่และพ่อ

(2) ใช้ควบประโยค:

เช่น “สพฺเพ สตฺตา ชายนฺติ มรนฺติ ” แปลว่า “สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงย่อมเกิดด้วย, (สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง) ย่อมตายด้วย

(3) ใช้เป็นคำเปิดประโยค:

แปลว่า “อนึ่ง” “ก็” “จริงอยู่” (จะใช้คำไหนแล้วแต่บริบท) เช่น “วโส โลเก อิสฺสริยํ โหติ” แปลว่า “จริงอยู่ อำนาจย่อมเป็นใหญ่ในโลก

หลักไวยากรณ์: กรณีที่ใช้เป็นคำเปิดประโยคนี้ ต้องมีคำอื่นนำหน้ามาก่อนเสมอ “” จะไม่อยู่เป็นคำแรกในประโยค

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “-ศัพท์” ดังนี้ (ในที่เช่นไร ควรแปลอย่างไร ขึ้นอยู่กับบริบท) –

(1) ever, whoever, what-ever, etc. (ก็ตาม, ใครก็ตาม, อะไรก็ตาม, ฯลฯ)

(2) and, then, now (และ, แล้ว, ทีนี้)

(3) but [esp. after a negation] (แต่ [โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังคำปฏิเสธ])

(4) if (ถ้าว่า)

แถม :

ในบทกรวดน้ำของเก่าที่ขึ้นต้นว่า “อิมินา ปุญฺญกมฺเมน” มีข้อความตอนหนึ่งว่า –

สุริโย จนฺทิมา ราชา

คุณวนฺตา นราปิ

พฺรหฺมมารา อินฺทา

โลกปาลา เทวตา.

(สุริโย จันทิมา ราชา

คุณะวันตา นะราปิ จะ

พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ

โลกะปาลา จะ เทวะตา)

แปลว่า –

พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระราชา

และคนทั้งหลายผู้ทรงคุณ

พรหม มาร และพระอินทร์

และเทพยดาผู้คุ้มครองโลก

ตรงคำว่า “อินฺทา โลกปาลา ” ซึ่งแปลว่า “พระอินทร์และเทพยดาผู้คุ้มครองโลก

คำสวดบางฉบับเป็น “อินฺทา จตุโลกปาลา ” คือจากคำเดิม “อินฺทา โลก…” มีผู้เติม “ตุ” เข้าไปเป็น “อินฺทา จตุโลก…” ความหมายก็เปลี่ยนไปจาก “พระอินทร์และเทพยดาผู้คุ้มครองโลก” กลายเป็น “พระอินทร์และท้าวจตุโลกบาล

จาก “และ” (“”) กลายเป็น “สี่” (“จตุ”) เพราะอักษรตัวเดียว!

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อักษรตัวเดียวอาจเปลี่ยนความหมายได้ทั้งประโยค

: โลกทั้งโลกอาจเปลี่ยนได้ด้วยคนคนเดียว

#บาลีวันละคำ (2,554)

10-6-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *