บาลีวันละคำ

บรรณารักษ์ (บาลีวันละคำ 2,953)

บรรณารักษ์

ไม่ใช่มีค่าแค่ผู้รักษาหนังสือ

อ่านว่า บัน-นา-รัก

ประกอบด้วยคำว่า บรรณ + อารักษ์

(๑) “บรรณ

บาลีเป็น “ปณฺณ” (ปัน-นะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปูรฺ (ธาตุ = เต็ม) + (อะ) ปัจจัย, แปลง ปูรฺ เป็น ปณฺณ

: ปูรฺ + = ปูร > ปณฺณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ทำให้เต็ม” (คือทำให้ต้นไม้เต็มต้น)

(2) ปตฺ (ธาตุ = ตกไป) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น ณฺณ

: ปตฺ + = ปต > ปณฺณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะร่วงไปโดยไม่นาน

(3) ปณฺณฺ (ธาตุ = เขียวสด) + (อะ) ปัจจัย

: ปณฺณฺ + = ปณฺณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เขียวสด

ปณฺณ” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ใบไม้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบพลู) (a leaf [esp. betel leaf])

(2) ใบไม้ที่ใช้เขียน, ใบไม้ที่มีหนังสือจารึกอยู่, จดหมาย; ของบริจาค, เครื่องบรรณาการ (a leaf for writing upon, written leaf, letter; donation, bequest)

(3) ขนนก, ปีกนก (a feather, wing)

ชั้นเดิมศัพท์นี้หมายถึง “ใบไม้” แต่ต่อมาความหมายขยายไปถึง “หนังสือ” อาจเป็นเพราะแต่เดิมมนุษย์ใช้ใบไม้เป็นที่ขีดเขียนลายลักษณ์ลงไป “ปณฺณ” จึงหมายถึงหนังสือไปด้วย

ปณฺณ” ในภาษาไทยใช้เป็น “บรรณ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรรณ, บรรณ– : (คำนาม) ปีก; หนังสือ; ใบไม้. (ส. ปรฺณ; ป. ปณฺณ).”

(๒) “อารักษ์

บาลีเป็น “อารกฺข” (อา-รัก-ขะ) รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + รกฺขฺ (ธาตุ = ดูแล, รักษา) + (อะ) ปัจจัย

: อา + รกฺขฺ = อารกฺขฺ + = อารกฺข แปลตามศัพท์ว่า “ดูแลทั่วไป” หมายถึง การอารักขา, การดูแล, การป้องกัน, การเอาใจใส่, การระมัดระวัง (watch, guard, protection, care)

อารกฺข” ถ้าใช้เป็นคำนามหมายถึงตัวบุคคล แปลว่า “ผู้ดูแล” “ผู้รักษา” ถ้าใช้เป็นอาการนาม มักเป็น “อารกฺขา” (อิตถีลิงค์) แปลว่า “การดูแล” “การรักษา

บาลี “อารกฺข” สันสกฤตเป็น “อารกฺษ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

อารฺกฺษ : (คำนาม) การคุ้มครองหรือรักษา; protection or preservation; (คำวิเศษณ์) อันป้องกันหรือคุ้มครองรักษาแล้ว, มีผู้อภิบาล, อันน่าอภิบาล; defended or preserved, having a protector, worthy to be preserved.”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “อารฺกฺษก” อีกคำหนึ่ง บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

อารฺกฺษก : (คำนาม) ผู้ดูแลหรือรักษา; ยามรักษาการ, ผู้เดิรยามรักษาการ; นครรักษิน (นายตำรวจนคราภิบาลก์); one who keeps ward or protects; a watchman, a patrol; a police officer.”

ในที่นี้ “อารกฺข” ใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “อารักษ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อารักษ์ : (คำนาม) การป้องกัน, ความคุ้มครอง, ความดูแล; เทวดาผู้พิทักษ์รักษา, มักใช้ว่า เทพารักษ์ หรือ อารักษเทวดา. (ส.; ป. อารกฺข).”

บรรณ + อารักษ์ = บรรณารักษ์ แปลว่า “ผู้ดูแลหนังสือ” “ผู้รักษาหนังสือ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรรณารักษ์ : (คำนาม) บุคคลที่รับผิดชอบในการบริหารและดำเนินงานในห้องสมุด.”

พจนานุกรมสอ เสถบุตร แปล “บรรณารักษ์” เป็นอังกฤษว่า a librarian

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล librarian เป็นบาลีว่า:

ganthālayādhikārī คนฺถาลยาธิการี (คัน-ถา-ละ-ยา-ทิ-กา-รี) = ผู้ทำหน้าที่สำคัญในห้องสมุด

: คนฺถ (หนังสือ, คัมภีร์, ตำรา) + อาลย (ที่อยู่, ที่เก็บ, ที่รวม) + อธิการี (ผู้ทำหน้าที่สำคัญ) = คนฺถาลยาธิการี

คนฺถาลยาธิการี” เขียนแบบไทยเป็น “คันถาลยาธิการี

ถ้าภาษาไทยใช้คำนี้ คงหาคนรู้ความหมายได้ยากเต็มที

…………..

ดูก่อนภราดา!

: หนังสือสำหรับอ่าน

: อาหารสำหรับกิน

: อย่าเก็บหนังสือเป็นวัตถุโบราณ

: อย่าเก็บอาหารเหมือนก้อนดิน

#บาลีวันละคำ (2,953)

13-7-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *