บาลีวันละคำ

ภวตุ สพฺพมงฺคลํ (บาลีวันละคำ 3,124)

ภวตุ สพฺพมงฺคลํ

ขอสรรพมงคลจงมี

อ่านว่า พะ-วะ-ตุ สับ-พะ-มัง-คะ-ลัง

เป็นคำบาลีที่ชาวพุทธคุ้นหูมากที่สุด แต่ก็มีลักษณะเหมือน “หญ้าปากคอก” มากที่สุดด้วย คือคุ้นมาก แต่รู้จักน้อย

มีคำบาลีที่ควรเรียนรู้ 3 คำ คือ “ภวตุ” “สพฺพ” และ “มงฺคลํ

(๑) “ภวตุ

อ่านว่า พะ-วะ-ตุ เป็นคำกริยา (ปฐมบุรุษ [ = ผู้ที่ถูกพูดถึง], เอกพจน์) รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + (อะ) ปัจจัยประจำหมวดธาตุ + ตุ วิภัตติอาขยาต แผลง อู ที่ ภู เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว (ภู > โภ > ภว)

: ภู + = ภู + ตุ = ภูตุ > โภตุ > ภวตุ แปลว่า “จงมี

(๒) “สพฺพ”  

อ่านว่า สับ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สรฺ (ธาตุ = เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง เป็น , แปลง รฺ ที่ สรฺ เป็น พฺ (สรฺ > สพฺ)

: สรฺ + = สรฺว > สรฺพ > สพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไป

(2) สพฺพฺ (ธาตุ = เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย

: สพฺพฺ + = สพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไป

สพฺพ” (คุณศัพท์) หมายถึง ทั้งหมด, ทั้งปวง, ทั้งสิ้น, ทุกอย่าง (whole, entire; all, every)

สพฺพ” ในภาษาไทยใช้เป็น “สรรพ” แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สรรพ” “สัพ” และ “สัพพะ” บอกไว้ว่า –

(1) สรรพ, สรรพ– : (คำวิเศษณ์) ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด, เช่น พร้อมสรรพ งามสรรพ เสร็จสรรพ สรรพสิ่ง สรรพสินค้า. (ส. สรฺว; ป. สพฺพ).

(2) สัพ, สัพพะ : (คำวิเศษณ์) สรรพ, ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด. (ป. สพฺพ; ส. สรฺว).

(๓) “มงฺคลํ

อ่านว่า มัง-คะ-ลัง รูปคำเดิมเป็น “มงฺคล” (มีจุดใต้ งฺ) อ่านว่า มัง-คะ-ละ รากศัพท์มาจาก –

(1) มคิ (ธาตุ = ถึง, ไป, เป็นไป) + อล ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ -(คิ) แล้วแปลงนิคหิตเป็น งฺ (มคิ > มํคิ > มงฺคิ), ลบสระที่สุดธาตุ (มคิ > มค)

: มคิ > มํคิ > มงฺคิ > มงฺค + อล = มงฺคล แปลตามศัพท์ว่า (1) “เหตุให้ถึงความเจริญ” (2) “เหตุเป็นเครื่องถึงความบริสุทธิ์แห่งเหล่าสัตว์

(2) มงฺค (บาป) + ลุ (ธาตุ = ตัด) + (อะ) ปัจจัย, ลบสระหน้า (คือ อุ ที่ ลุ ที่อยู่หน้า ปัจจัย : ลุ > )

: มงฺค + ลุ = มงฺคลุ > มงฺคล + = มงฺคล แปลตามศัพท์ว่า “เหตุที่ตัดความชั่ว

มงฺคล” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) มีฤกษ์งามยามดี, รุ่งเรือง, มีโชคดี, มีมหกรรมหรืองานฉลอง (auspicious, prosperous, lucky, festive)

(2) ลางดี, ศุภมงคล, งานรื่นเริง (good omen, auspices, festivity)

มงฺคล” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ นปุงสกลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “มงฺคลํ

สพฺพ + มงฺคล = สพฺพมงฺคล > สพฺพมงฺคลํ แปลว่า “มงคลทั้งปวง

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มงคล, มงคล– : (คำนาม) เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).”

มงคล” ตามหลักพระพุทธศาสนาหมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ

รวมทั้ง3 คำเข้าเป็นประโยค “ภวตุ สพฺพมงฺคลํ” เขียนแบบคำอ่านเป็น “ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง

ขยายความ :

ภวตุ สพฺพมงฺคลํ” เป็นคำขึ้นต้นบทสวดที่ชื่อว่า “สัพพมงคลคาถา” หรือ “มังคลโสตถิคาถา” มักเรียกกันสั้นๆ เป็นเสมือนภาษาปากว่า “ภะวะตุสัพ” ข้อความเต็มๆ มีดังนี้ –

(บทแรกเขียนแบบคำอ่าน อีก 2 บทเขียนแบบบาลีให้ลองฝึกอ่านโดยใช้บทแรกเป็นแนว)

…………..

ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง

รักขันตุ  สัพพะเทวะตา

สัพพะพุทธานุภาเวนะ

สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต.

ภวตุ  สพฺพมงฺคลํ

รกฺขนฺตุ  สพฺพเทวตา

สพฺพธมฺมานุภาเวน

สทา  โสตฺถี  ภวนฺตุ  เต.

ภวตุ  สพฺพมงฺคลํ

รกฺขนฺตุ  สพฺพเทวตา

สพฺพสงฺฆานุภาเวน

สทา  โสตฺถี  ภวนฺตุ  เต.

…………..

คำบาลีพร้อมทั้งคำแปล :

ภวตุ  สพฺพมงฺคลํ

ขอสรรพมงคลจงมี (แก่ท่าน)

รกฺขนฺตุ  สพฺพเทวตา

ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษา (ท่าน)

สพฺพพุทฺธานุภาเวน

ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง

…………………….

…………………….

สพฺพธมฺมานุภาเวน

ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง

…………………….

…………………….

สพฺพสงฺฆานุภาเวน

ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง

สทา  โสตฺถี  ภวนฺตุ  เต.

ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ (เทอญ).

…………..

ภะวะตุสัพ” เป็นบทสุดท้ายในจำนวนบทสวดต่างๆ ที่พระสงฆ์นำมาสวดในการเจริญพระพุทธมนต์หรือในพิธีอนุโมทนา

พอขึ้นบท “ภะวะตุสัพ” ชาวบ้านที่คุ้นกับการฟังพระสวดมนต์ก็จะรู้ว่าการสวดมนต์หรือการอนุโมทนากำลังจะจบ คือพอจบบท “ภะวะตุสัพ” ที่ลงท้ายว่า “ภะวันตุ เต” ก็เป็นอันจบ (มีบางกรณีที่พระจะขึ้นบท “นักขัตตะยักขะภูตานัง” ต่อจากบท “ภะวะตุสัพ” เป็นการปิดท้ายอีกทีหนึ่ง)

ต่อไปนี้ เมื่อได้ยินพระสวดบท “ภะวะตุสัพ” นอกจากจะรู้ว่าพระท่านสวดคำให้พรแล้ว เราคงพอจะรู้ความหมายของคำให้พรนั้นอย่างน้อยก็ 3 คำ

ส่วนคำอื่นๆ ก็ค่อยๆ หาความรู้กันต่อไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ปีสิ้นไป

: แต่สังสารวัฏยังอยู่อีกยาวนาน

#บาลีวันละคำ (3,124)

31-12-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย