บาลีวันละคำ

บาลีมุตตกะ (บาลีวันละคำ 3,123)

บาลีมุตตกะ

นอกบาลี แต่ไม่เลี่ยงบาลี

อ่านว่า บา-ลี-มุด-ตะ-กะ

ประกอบด้วยคำว่า บาลี + มุตตกะ

(๑) “บาลี

คำบาลีเดิมว่า “ปาฬิ” (ปา-ลิ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปาลฺ (ธาตุ = รักษา) + อิ ปัจจัย, แปลง เป็น

: ปาลฺ + อิ = ปาลิ > ปาฬิ แปลตามศัพท์ว่า “ภาษาที่รักษาพระพุทธพจน์ไว้

(2) ปา (ธาตุ = รักษา) + ฬิ ปัจจัย

: ปา + ฬิ = ปาฬิ แปลตามศัพท์ว่า “ภาษาที่รักษาเนื้อความในศัพท์บาลีที่กล่าวถึงปริยัติธรรมไว้

(3) ปาฬิ (ขอบ, แนว) + ปัจจัย, ลบ

: ปาฬิ + = ปาฬิณ > ปาฬิ แปลตามศัพท์ว่า “ภาษาที่เปรียบเหมือนเขื่อนใหญ่ที่มั่นคงของบึงใหญ่เพื่อรักษาน้ำภายในไว้

(4) (แทนศัพท์ว่า “ปกฏฺฐ” = ยิ่งใหญ่, สำคัญ) + อาฬิ (ถ่องแถว)

: + อาฬิ = ปาฬิ แปลตามศัพท์ว่า “ถ่องแถวแห่งวจนประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่” (วจนประพันธ์นั้นชื่อว่ายิ่งใหญ่ (1) เพราะให้รู้ความหมายแห่งศีลเป็นต้นที่ยิ่งใหญ่ และ (2) เพราะพระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้ยิ่งใหญ่ตรัสไว้)

ไขความ :

๑ คำว่า “ปาฬิ” ( จุฬา) เป็นคำเดิมในศัพท์บาลี คัมภีร์รุ่นเก่าเขียนเป็น “ปาฬิ” จนมีคำเรียก “” ว่า บาฬี แต่ต่อมาได้ชำระแก้ไขเป็น “ปาลิ” (ล ลิง) อย่างไรก็ตาม นักภาษายอมรับว่าคำนี้ใช้ได้ทั้ง “ปาฬิ” และ “ปาลิ

ในภาษาไทยนิยมใช้เป็น “บาลี” ( ลิง)

๒ “บาลี” ในภาษาไทยมีความหมาย 2 อย่าง ตามที่พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต อธิบายไว้ ดังนี้ –

…………..

1. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์”, ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ

2. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่าพระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก;

ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า “บาลี” ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ 1. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลี หรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ 2. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

…………..

(๒) “มุตตกะ

บาลีเป็น “มุตฺตก” อ่านว่า มุด-ตะ-กะ ศัพท์เดิมคือ มุตฺต +

(ก) “มุตฺต” รากศัพท์มาจาก มุจฺ (ธาตุ = หลุด, พ้น) + ปัจจัย, แปลง จฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (มุจฺ > มุตฺ)

: มุจฺ + = มุจฺต > มุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “พ้นแล้ว” เป็นคำกริยา ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ปลด, ปล่อย, ให้เป็นอิสระ (released, set free, freed)

(2) ยกเลิกหรือเลิกล้ม, ปล่อยออกมา, อุทิศ, พลี (given up or out, emitted, sacrificed)

(3) มิได้จัดระบบ, ไม่มีระบบ (unsystematised)

(ข) มุตฺต + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ)

: มุตฺต + ณฺวุ > อก = มุตฺตก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้พ้นแล้ว” คือผู้ที่พ้นจากภาระอย่างใดอย่างหนึ่ง (one who is released)

ปาลิ + มุตฺตก = ปาลิมุตฺตก แปลตามศัพท์ว่า “ข้อความที่พ้นแล้วจากพระบาลี

ปาลิมุตฺตก” เขียนแบบไทยเป็น “บาลีมุตตกะ

ขยายความ :

คำว่า “บาลีมุตตกะ” แปลตามศัพท์ว่า “ข้อความที่พ้นแล้วจากพระบาลี” แปลเอาความว่า “นอกพระบาลี” หมายถึง เรื่องที่ไม่ใช่พุทธบัญญัติโดยตรง แต่เป็นเรื่องที่พระเถระที่ประชุมทำปฐมสังคายนาเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรกำหนดเป็นแบบแผนไว้

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงแล้ว 3 เดือน พระอรหันตเถระ 500 องค์ได้ประชุมกันรวบรวมพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ตรัสสั่งสอนตลอดพระชนมชีพ 45 พรรษาขึ้นไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกกันว่าทำปฐมสังคายนา

ในการทำสังคายนาครั้งนั้น นอกจากรวบรวมพระธรรมวินัยที่เรียกว่า “พระไตรปิฎก” แล้ว ยังได้รวบรวมคำอธิบายพระธรรมวินัยที่เรียกว่า “อรรถกถา” ขึ้นไว้ด้วย

บาลีมุตตกะ” ที่กล่าวถึงนี้อยู่ในจำพวกที่เรียกว่าอรรถกถา แต่เป็นอรรถกถาที่มีมาตั้งสมัยทำปฐมสังคายนา ไม่ใช่อรรถกถาที่เกิดขึ้นในสมัยหลังเมื่อประมาณ 1000 ปีหลังพุทธปรินิพพาน

คัมภีร์สารัตถทีปนี ฎีกาพระวินัย ขยายความคำว่า “ปาลิมุตฺตก” ไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้ –

…………..

ปาลิมุตฺตกวินิจฺฉเยเนวาติ  วินยลกฺขณํ  วินา  เกวลํ  ธมฺมเทสนามตฺตวเสเนวาติ  อตฺโถ. เยนาปิ  วินิจฺฉเยนาติ  ปาลิมุตฺตกวินิจฺฉยเมว  สนฺธาย  วุตฺตํ.

ที่มา: สารัตถทีปนี ฎีกาพระวินัย ภาค 4 หน้า 503

คำว่า ด้วยวินิจฉัยนอกจากพระบาลีแท้ๆ (ปาลิมุตฺตกวินิจฺฉเยเนว) มีความว่า ด้วยอำนาจเพียงการแสดงธรรมอย่างเดียว เว้นลักษณะแห่งวินัยนั่นเอง.

คำว่า เฉพาะด้วยวินิจฉัยแม้ใด (เยนาปิ  วินิจฺฉเยน) ท่านกล่าวหมายถึงการวินิจฉัยนอกพระบาลีนั่นเอง.

ที่มา: สารัตถทีปนี ฎีกาพระวินัย ภาค 4 แปล หน้า 456

นายสิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.9 แปล

…………..

แม้ว่า “บาลีมุตตกะ” จะไม่เป็นพุทธบัญญัติโดยตรง แต่ก็เป็นส่วนที่เสริมพุทธบัญญัติให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ท่านจึงนับถือกันมาแต่โบราณกาล

เคยได้ยินคนเก่าเรียกสั้นๆ ว่า “บาลีมุต

คำว่า “บาลีมุตตกะ” ยังไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ก็ไม่ได้เก็บคำนี้ไว้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เลี่ยงบาลีได้

: แต่เลี่ยงนรกไม่ได้

#บาลีวันละคำ (3,123)

30-12-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย