บาลีวันละคำ

ทานสาม – ตามคัมภีร์ (บาลีวันละคำ 3,164)

ทานสาม – ตามคัมภีร์

มีหรือไม่?

คำว่า “ทาน” ตามคัมภีร์ที่เราเรียนกันมามี 2 อย่าง คือ “อามิสทาน” และ “ธรรมทาน” แต่ก็มีผู้นำเอาทานอีกอย่างหนึ่งมาพูดถึงด้วย นั่นคือ “อภัยทาน” รวมกันแล้วกลายเป็น 3 ทาน คือ อามิสทาน ธรรมทาน อภัยทาน

จึงเกิดคำถามว่า “ทานสาม ตามคัมภีร์” มีหรือไม่?

ในคัมภีร์ปรมัตถทีปนี อรรถกถาจริยาปิฎก อธิบายถึงทานบารมี มีข้อความตอนหนึ่งดังนี้ –

…………..

กา  ปฏิปตฺตีติ?  ทานปารมิยา  ตาว  สุขูปกรณสรีรชีวิตปริจฺจาเคน  ภยาปนุทเนน  ธมฺโมปเทเสน  จ  พหุธา  สตฺตานํ  อนุคฺคหกรณํ  ปฏิปตฺติ.  ตตฺถ  อามิสทานํ  อภยทานํ  ธมฺมทานนฺติ  ทาตพฺพวตฺถุวเสน  ติวิธํ  ทานํ.

แปลว่า

อะไรเป็นข้อปฏิบัติ (ในทานบารมี)?

การทำความอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายโดยส่วนมากด้วยการสละเครื่องอุปกรณ์ความสุข ร่างกาย และชีวิต ด้วยการกำจัดภัยและด้วยการชี้แจงแสดงธรรม เป็นข้อปฏิบัติในทานบารมี.

ในทานบารมีนั้น ว่าโดยสิ่งที่ควรให้ ทานก็มี 3 อย่าง คือ อามิสทาน อภัยทาน ธรรมทาน.

ที่มา: ปกิณณกกถา ปรมัตถทีปนี อรรถกถาจริยาปิฎก หน้า 352

…………..

เป็นอันว่า การกล่าวถึงทาน 3 อย่างเป็นชุดเดียวกัน คือ “อามิสทาน อภัยทาน ธรรมทาน” มีที่ไปที่มาในคัมภีร์ ไม่ใช่มีใครจับมาเข้าชุดกันเอาเอง เมื่ออ้างถึงทาน 3 อย่าง จึงอ้างได้อย่างมั่นใจ

ต่อไปก็หาความรู้เกี่ยวกับถ้อยคำ คือ “อามิส” “อภัย” “ธรรม” และ “ทาน

(๑) “อามิส

บาลีอ่านว่า อา-มิ-สะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อา (คำอุปสรรค = ภายใน) + มิ (ธาตุ = ใส่) + สก ปัจจัย, ลบ (สก > )

: อา + มิ = อามิ + สก = อามิสก > อามิส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาใส่ไว้ภายใน” (คือใส่ไว้ล่อ)

(2) อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + มสฺ (ธาตุ = จับต้อง) + (อะ) ปัจจัย, แปลง ที่ -(สฺ) เป็น อิ (มสฺ > มิส)

: อา + มสฺ = อามสฺ + = อามส > อามิส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันความตายจับต้อง

อามิส” (นปุงสกลิงค์) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เนื้อสด (raw meat)

(2) ดิบ, ไม่ได้ตระเตรียม, ไม่มีการปลูกฝัง (raw, unprepared, uncultivated)

(3) มีเนื้อ, วัตถุ, อามิส (fleshy, material, physical)

(4) อาหาร, อาหารที่ถูกปาก, อาหารสำหรับกินเพื่อความเอร็ดอร่อย, อาหารอันโอชะ (food, palatable food, food for enjoyment, dainties

(5) เหยื่อ (bait)

(6) ลาภ, รางวัล, เงิน, สินบน, เงินรางวัล, การให้รางวัล (gain, reward, money, douceur, gratuity, tip)

(7) ความเพลิดเพลิน (enjoyment)

(8) ความโลภ, ความอยากได้, ตัณหา (greed, desire, lust)

บาลี “อามิส” สันสกฤตเป็น “อามิษ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

อามิษ : (คำนาม) เนื้อ; การเสพ; ของโปรด, ของชอบใจ; ของงาม; สินบล; ความมักได้, ความใคร่; รูป; กาม; อาหาร; flesh; enjoyment; an object of enjoyment, a pleasing object, a beautiful object; a bribe; coveting, desire or longing for; form; lust; food.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “อามิษ” และ “อามิส” บอกไว้ดังนี้ –

อามิษ, อามิส, อามิส– : (คำนาม) สิ่งของวัตถุเครื่องล่อใจมีเงินเป็นต้น, เช่น อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง. (ส. อามิษ; ป. อามิส).”

(๒) “อภัย

บาลีเป็น “อภย” อ่านว่า อะ-พะ-ยะ รูปคำเดิมมาจาก + ภย

(ก) “” อ่านว่า อะ คำเดิมคือ “” (นะ) เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า “ ไม่ โน ไม่ มา อย่า เทียว” ( [นะ] = ไม่, โน = ไม่, มา = อย่า, [วะ] = เทียว)

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(ข) “ภย” อ่านว่า พะ-ยะ รากศัพท์มาจาก ภี (ธาตุ = กลัว) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อี (ที่ ภี) เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: ภี + = ภีณ > ภี > เภ > ภย แปลตามศัพท์ว่า “ความกลัว

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภย” เป็นอังกฤษว่า fear, fright, dread (ความกลัว, ความหวาดหวั่น, สิ่งที่น่ากลัว)

+ ภย

ตามกฎไวยากรณ์บาลีในการประสมคำ :

(1) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ท่านให้แปลง “” เป็น “” (อะ)

(2) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ท่านให้แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ)

ในที่นี้ “ภย” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ดังนั้นจึงต้องแปลง “” เป็น “

: + ภย = นภย > อภย แปลตามศัพท์ “ไม่มีภัย

อภย” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ใช้เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า ปลอดจากความกลัวหรืออันตราย, ไม่มีความกลัว, ปลอดภัย (free from fear or danger, fearless, safe)

(2) ใช้เป็นคำนาม มีความหมายว่า ความไม่กลัว, ความไว้วางใจ, ความปลอดภัย (absence of fear, confidence, safety)

(๓) “ธรรม

บาลีเป็น “ธมฺม” อ่านว่า ทำ-มะ รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “กรรมที่ทรงไว้ซึ่งความดีทุกอย่าง” (หมายถึงบุญ)

(2) “สภาวะที่ทรงผู้ดำรงตนไว้มิให้ตกไปในอบายและวัฏทุกข์” (หมายถึงคุณธรรมทั่วไปตลอดจนถึงโลกุตรธรรม)

(3) “สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งสัตว์ผู้บรรลุมรรคเป็นต้นมิให้ตกไปในอบาย” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

(4) “สภาวะที่ทรงลักษณะของตนไว้ หรืออันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้” (หมายถึงสภาพหรือสัจธรรมทั่วไป)

(5) “สภาวะอันพระอริยะมีโสดาบันเป็นต้นทรงไว้ ปุถุชนทรงไว้ไม่ได้” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

คำแปลตามศัพท์ที่เป็นกลางๆ “ธมฺม” คือ “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ธรรม” ไว้ดังนี้ –

(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม

(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า

(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม

(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม

(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม

(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ

(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ

(8) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม

ในที่นี้ “ธรรม” มีความหมายเน้นที่-คําสั่งสอนและหลักประพฤติปฏิบัติในพระพุทธศาสนา

(๔) “ทาน

บาลีอ่านว่า ทา-นะ รากศัพท์มาจาก ทา (ธาตุ, = ให้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ทา + ยุ > อน = ทาน แปลตามศัพท์ว่า “การให้” “สิ่งของสำหรับให้

ทาน” มีความหมายว่า –

(1) การให้, ยกมอบแก่ผู้อื่น, ให้ของที่ควรให้ แก่คนที่ควรให้ เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

(2) สิ่งที่ให้, ทรัพย์สินสิ่งของที่มอบให้หรือแจกออกไป

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ทาน” ว่า giving, dealing out, gift; almsgiving, liberality, munificence (การให้, การแจกให้, ของขวัญ; การให้ทาน, การมีใจคอกว้างขวาง)

ทาน” ใช้ในรูปเดียวกันทั้งบาลีและสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ทาน : (คำนาม) ‘ทาน’, การให้, การบริจาค; มันเหลวซึ่งเยิ้มออกจากขมับช้างตกน้ำมัน; การอุปถัมภ์, การบำรุง; วิศุทธิ, นิรมลีกรณ์; การตัด, การแบ่ง; ทักษิณา, ของถวาย, ของให้เปนพิเศษ; การตี, การเฆาะ; อรัณยมธุ, น้ำผึ้งป่า; giving, gift, donation; fluid that flows from the temples of an elephant in rut; nourishing, cherishing; a present, a special gift; striking, beating; wild honey.”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความคำว่า “ทาน” ไว้ว่า –

ทาน : การให้, ยกมอบแก่ผู้อื่น, ให้ของที่ควรให้ แก่คนที่ควรให้ เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น; สิ่งที่ให้, ทรัพย์สินสิ่งของที่มอบให้หรือแจกออกไป.”

การประสมคำและความหมาย :

(๑) อามิส + ทาน = อามิสทาน (อา-มิ-สะ-ทา-นะ) > อามิสทาน (อา-มิด-สะ-ทาน)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [11] ทาน 2 แปล “อามิสทาน” ว่า การให้สิ่งของ (material gift)

(๒) อภย + ทาน = อภยทาน (อะ-พะ-ยะ-ทา-นะ) > อภัยทาน (อะ-ไพ-ยะ-ทาน)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า

อภัยทาน : ให้ความไม่มีภัย, ให้ความปลอดภัย.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อภัยทาน : (คำนาม) การให้ความไม่มีภัย เช่น ให้อภัยทาน (คำวิเศษณ์) ที่ให้ความไม่มีภัย เช่น เขตอภัยทาน”

ในภาษาไทย ถ้าพูดว่า “ให้อภัย” (เป็นคำแปลตรงตัวของ “อภัยทาน”) เราเข้าใจกันว่า หมายถึง ไม่คุมแค้นเมื่อมีผู้ทำให้เดือดร้อน เสียหาย หรือทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับผิดหรือไม่ก็ตาม

แต่ “อภัยทาน” ในภาษาบาลีมีความหมายลึกล่วงหน้าไปอีกชั้นหนึ่ง คือ ไม่ว่าจะมีใครมาทำให้เดือดร้อนเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะไม่เป็นฝ่ายไปทำให้ใครเดือดร้อนเสียหายเสียเองตั้งแต่แรก นั่นคือไม่ทำเหตุอันจะต้องไป “ขออภัย” ต่อใครในภายหลังนั่นเลยทีเดียว

(๓) ธมฺม + ทาน = ธมฺมทาน (ทำ-มะ-ทา-นะ) > ธรรมทาน (ทำ-มะ-ทาน)  

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [11] ทาน 2 แปล “ธรรมทาน” ว่า การให้ธรรม, การให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน (gift of Truth; spiritual gift)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า

ธรรมทาน : การให้ธรรม, การสั่งสอนแนะนำเกี่ยวกับธรรม, การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง.”

หมายเหตุ :

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “อภัยทาน” ไว้ แต่ไม่ได้เก็บคำว่า “อามิสทาน” และ “ธรรมทาน”ไว้

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต เก็บคำว่า “อภัยทาน” และ “ธรรมทาน”ไว้ แต่ไม่ได้เก็บคำว่า “อามิสทาน” ไว้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ให้ไม่ได้ เพราะไม่มีจะให้ เป็นเรื่องของคนยากจน

: มีพอจะให้ได้ แต่ไม่ให้ เป็นเรื่องของคนเข็ญใจ

#บาลีวันละคำ (3,164)

9-2-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย