บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง ชุดหมอชีวก

จากตักศิลามาเป็นแพทย์หลวง

——————————-

หมอชีวกรับเงิน ๑๖,๐๐๐ กหาปณะ กับคนใช้ชายหญิงและรถม้าจากบ้านเศรษฐีเมืองสาเกต เดินทางมุ่งกลับพระนครราชคฤห์ รอนแรมไปจนถึงพระนครราชคฤห์โดยลำดับ แล้วเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย กราบทูลว่า

“เงิน ๑๖,๐๐๐ กหาปณะ กับคนใช้ชายหญิงและรถม้านี้เป็นผลงานครั้งแรกของเกล้ากระหม่อม ขอใต้ฝ่าพระบาทจงทรงพระกรุณาโปรดรับค่าเลี้ยงดูเกล้ากระหม่อมเถิด พระเจ้าข้า”

เจ้าชายอภัยรับสั่งว่า

“อย่าเลย พ่อชีวก ทรัพย์นี้จงเป็นของเจ้าคนเดียวเถิด และเจ้าจงสร้างบ้านอยู่ภายในบริเวณวังของเราเถิด”

หมอชีวกทูลรับพระบัญชาเจ้าชายอภัยว่า “เป็นพระกรุณายิ่ง พระเจ้าข้า” แล้วได้สร้างบ้านอยู่ภายในบริเวณวังของเจ้าชายอภัย

ต่อไปนี้ เชิญสดับสำนวนจากพระไตรปิฎก แปลแบบไม่ตอกไข่ ไม่ใส่สี รสเดิมแท้ๆ จากบาลี มีกลิ่นโรตีพอหอมปากหอมคอ

…………………

ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามคธราชทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก พระภูษาเปื้อนพระโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพากันทูลล้อเลียนว่า

“บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนักพระองค์จักประสูติ”

พระราชาทรงเก้อเขินเพราะคำล้อเลียนของพวกพระสนมนั้น ต่อมาท้าวเธอได้ตรัสเล่าความนั้นแก่เจ้าชายอภัยว่า

“พ่ออภัย พ่อป่วยเป็นโรคเช่นนั้นถึงกับผ้านุ่งเปื้อนโลหิต พวกนางสนมเห็นแล้วพากันเย้ยหยันว่า ‘บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนักพระองค์จักประสูติ’ เอาเถอะ พ่ออภัย เจ้าช่วยหาหมอชนิดที่พอจะรักษาพ่อได้ให้ทีเถิด”

“ขอเดชะ นายชีวกผู้นี้เป็นหมอประจำข้าพระพุทธเจ้า ยังหนุ่ม ทรงคุณวุฒิ เธอจักรักษาพระองค์ได้”

“พ่ออภัย ถ้าเช่นนั้นเธอจงสั่งหมอชีวก เขาจักได้รักษาพ่อ”

ครั้นแล้วเจ้าชายอภัยจึงสั่งหมอชีวกว่า “พ่อชีวก เธอจงไปรักษาพระเจ้าอยู่หัว”

หมอชีวกรับสนองพระบัญชาว่า “รับด้วยเกล้าพระเจ้าข้า” แล้วเอาเล็บจิกยา(*) เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร กราบทูลว่า

“พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักตรวจโรคของพระองค์”

ครั้งนั้นแล หมอชีวกรักษาโรคริดสีดวงงอกของพระเจ้าพิมพิสารหายขาดด้วยทายาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ครั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงหายประชวรแล้ว จึงรับสั่งให้สตรี ๕๐๐ นางแต่งเครื่องประดับพร้อมสรรพ แล้วให้เปลื้องออกทำเป็นห่อ มีพระราชโองการแก่หมอชีวกว่า

“พ่อชีวก เครื่องประดับทั้งปวงของสตรี ๕๐๐ นางนี้จงเป็นของเจ้าเถิด”

หมอชีวกกราบทูลว่า

“อย่าเลยพระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์จงทรงโปรดระลึกว่าเป็นหน้าที่ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด”

“ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงคอยรักษาพยาบาลเรากับพวกฝ่ายใน และภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเถิด”

หมอชีวกทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า “รับด้วยเกล้าพระพุทธเจ้าข้า”

………….

หมอชีวกได้รับตำแหน่งแพทย์หลวงและยังเป็นแพทย์ประจำคณะสงฆ์อีกหน้าที่หนึ่ง ด้วยประการฉะนี้

………….

(*) ต้นฉบับใช้คำว่า “นเขน  เภสชฺชํ  อาทาย” แปลตามตัวว่า “ถือเอายาด้วยเล็บ” ความไทยว่า “เอาเล็บจิกยา”

หมอชีวกย่อมรู้ตัวแล้วว่าจะต้องไปรักษาอาการประชวรของพระเจ้าแผ่นดิน ตามหลักก็จะต้องเตรียมเครื่องมือทางการแพทย์ไปให้พร้อมที่สุด แต่หมอชีวกทำเพียง “ถือเอายาด้วยเล็บ” เข้าไปเท่านั้น จะให้แปลว่าอย่างไร?

ก็แปลว่าหมอชีวกต้อง “ทำการบ้าน” มาแล้วเป็นอย่างดี การสืบอาการป่วยและภูมิหลังของผู้ป่วยเป็นเคล็ดลับชั้นสูงของหมอชีวก แค่ “หาข่าว” เท่านั้นก็แทบจะวินิจฉัยโรคได้ทะลุ

สมัยเป็นเด็ก ผมเคยได้ยินหมอไทยมือดีรุ่นเก่าคุยกันว่า ไปถึงบ้านคนป่วย แค่มองไปใต้ถุนบ้านก็รู้ว่าคนป่วยกินอะไรที่แสลงโรคไปบ้าง เพราะเห็นเปลือกผลไม้ที่กินแล้วทิ้งลงมา นี่คือหมอที่ดีต้องเป็นนักสังเกตที่ดีอย่างยิ่ง

เรื่องพระเจ้าพิมพิสารประชวรด้วยโรคริดสีดวงนั้นหมอชีวกต้องรู้และรู้อย่างลึกด้วย จึงมั่นใจเต็มที่ว่า อาการที่ทรงประชวรนั้น แค่ “ถือเอายาด้วยเล็บ” เข้าไปเท่านั้นก็เรียบร้อย

แล้วก็เรียบร้อยจริงๆ พระไตรปิฎกใช้คำว่า “ภคนฺทลาพาธํ  เอเกเนว  อาเลเปน  อปกฑฺฒิ” แปลว่า-รักษาโรคริดสีดวงหายขาดด้วยทายาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น!

………….

แปลจาก: จีวรขันธกะ มหาวรรค วินัยปิฎก

พระไตรปิฎกเล่ม ๕ ข้อ ๑๓๑-

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๑ เมษายน ๒๕๖๓

๑๗:๓๕

ช่วงวันเวลาที่คนไทยต้องร่วมกันให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ของไทยและของโลก

———

บาลีบางตอน

วินย. มหาวคฺโค (๒) – หน้าที่ 177

     [๑๓๑]   เตน   โข   ปน  สมเยน  รญฺโญ  มาคธสฺส  เสนิยสฺส 

พิมฺพิสารสฺส   ภคนฺทลาพาโธ  โหติ  ฯ  สาฏกา  โลหิเตน  มกฺขิยนฺติ  ฯ 

เทวิโย    ทิสฺวา    อุปฺผณฺเฑนฺติ   อุตุนีทานิ   เทโว   ปุปฺผํ   เทวสฺส 

อุปฺปนฺนํ   นจิรสฺเสว๑  เทโว  วิชายิสฺสตีติ  ฯ  เตน  ราชา  มงฺกุ 

โหติ  ฯ  อถโข  ราชา  มาคโธ  เสนิโย  พิมฺพิสาโร  อภยํ  ราชกุมารํ 

เอตทโวจ   มยฺหํ   โข   ภเณ   อภย   ตาทิโส   อาพาโธ   สาฏกา 

โลหิเตน    มกฺขิยนฺติ    เทวิโย    ทิสฺวา    อุปฺผณฺเฑนฺติ    อุตุนีทานิ 

เทโว   ปุปฺผํ   เทวสฺส   อุปฺปนฺนํ  นจิรสฺเสว  ๒  เทโว  วิชายิสฺสตีติ 

อิงฺฆ   ภเณ   อภย  ตาทิสํ  เวชฺชํ  ชานาหิ  โย  มํ  ติกิจฺเฉยฺยาติ  ฯ 

อยํ   เทว   อมฺหากํ   ชีวโก   เวชฺโช   ตรุโณ   ภทฺรโก  โส  เทวํ 

ติกิจฺฉิสฺสตีติ    ฯ   เตนหิ   ภเณ   อภย   ชีวกํ   เวชฺชํ   อาณาเปหิ 

โส    มํ    ติกิจฺฉิสฺสตีติ    ฯ   อถโข   อภโย   ราชกุมาโร   ชีวกํ 

โกมารภจฺจํ   อาณาเปสิ   คจฺฉ   ภเณ   ชีวก  ราชานํ  ติกิจฺฉาหีติ  ฯ 

เอวํ   เทวาติ   โข   ชีวโก   โกมารภจฺโจ   อภยสฺส   ราชกุมารสฺส 

ปฏิสฺสุณิตฺวา    นเขน    เภสชฺชํ    อาทาย   เยน   ราชา   มาคโธ 

เสนิโย    พิมฺพิสาโร    เตนุปสงฺกมิ   อุปสงฺกมิตฺวา   ราชานํ   มาคธํ 

เสนิยํ  พิมฺพิสารํ  เอตทโวจ  อาพาธํ  เต  เทว  ปสฺสามีติ ๓ ฯ อถโข 

ชีวโก    โกมารภจฺโจ    รญฺโญ    มาคธสฺส   เสนิยสฺส   พิมฺพิสารสฺส 

ภคนฺทลาพาธํ   เอเกเนว   อาเลเปน   อปกฑฺฒิ   ฯ   อถโข   ราชา 

#๑-๒ โป. ม. นจีรํ ฯ ๓ ยุ. อาพาธํ เทว ปสฺสามาติ ฯ 

วินย. มหาวคฺโค (๒) – หน้าที่ 178

มาคโธ   เสนิโย   พิมฺพิสาโร   อโรโค   สมาโน   ปญฺจ   อิตฺถีสตานิ  

สพฺพาลงฺการํ   วิภูสาเปตฺวา๑  โอมุญฺจาเปตฺวา  ปุญฺชํ  การาเปตฺวา  ชีวกํ    โกมารภจฺจํ    เอตทโวจ    เอตํ    ภเณ    ชีวก   ปญฺจนฺนํ 

อิตฺถีสตานํ   สพฺพาลงฺการํ   ตุยฺหํ   โหตูติ  ฯ  อลํ  เทว  อธิการํ  เม 

เทโว   สรตูติ  ฯ  เตนหิ  ภเณ  ชีวก  มํ  อุปฏฺฐห  ๒  อิตฺถาคารญฺจ 

พุทฺธปฺปมุขํ  ภิกฺขุสงฺฆญฺจาติ  ฯ  เอวํ  เทวาติ  โข  ชีวโก  โกมารภจฺโจ 

รญฺโญ มาคธสฺส เสนิยสฺส พิมฺพิสารสฺส ปจฺจสฺโสสิ ฯ 

#๑ ยุ. ภูสาเปตฺวา ฯ ๒ โป. ม. อุปฏฺฐาหิ ฯ 

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 248

กับทาส  ทาสี   และรถม้านี้เป็นการกระทำครั้งแรกของเกล้ากระหม่อม    ขอให้

ฝ่าพระบาทจงทรงพระกรุณาโปรดรับด่าเลี้ยงดูเกล้ากระหม่อมเถิด   พระเจ้าข้า.

           พระราชกุมารรับสั่งว่า   อยู่เลย    พ่อชีวก    ทรัพย์นี้จงเป็นของเจ้า

คนเดียวเถิด   และเจ้าจงสร้างบ้านอยู่ในวังของเราเถิด.

           ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับพระบัญชาเจ้าชายอภัยว่า  เป็นพระกรุณายิ่งพระ

เจ้าข้า  แล้วได้สร้างบ้านอยู่ในวังของเจ้าชายอภัย.

          เรื่องพระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก

           [๑๓๑]   ก็โดยสมัยนั้นแล   พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรง

ประชวรโรคริดสีดวงงอก  พระภูษาเบื้อนพระโลหิต  พวกพระสนมเห็นแล้วพา

กันเย้ยหยันว่า  บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู  ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์

แล้ว  ไม่นานเท่าไรนัก  พระองค์จักประสูติ   พระราชาทรงเก้อเพราะคำเย้ยหยัน

ของพวกพระสนมนั้น  ต่อมาท้าวเธอได้ตรัสเล่าความนั้นแก่เจ้าชายอภัยว่า  พ่อ

อภัย   พ่อป่วยเป็นโรคเช่นนั้นถึงกับภูษาเปื้อนโลหิต    พวกพระสนมเห็นแล้ว

พากันเยย้หยันว่า  บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู   ย่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระ-

องค์แล้ว   ไม่นานเท่าไรนัก   พระองค์จักประสูติ  เอาเถอะ  พ่ออภัย  เจ้าช่วยหา

หมอชนิดที่พอจะรักษาพ่อได้ให้ทีเถิด.

           อ.  ขอเดชะ    นายชีวกผู้นี้เป็นหมอประจำข้าพระพุทธเจ้า    ยังหนุ่ม

ทรงคุณวุฒิ   เธอจักรักษาพระองค์ได้.

           พ.  พ่ออภัย  ถ้าเช่นนั้นพ่อจงสั่งหมอชีวก  เขาจักได้รักษาพ่อ.

           ครั้งนั้นเจ้าชายอภัย    สั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า    พ่อชีวก    เจ้าจงไป

รักษาพระเจ้าอยู่หัว     ชีวกโกมารภัจจ์รับสนองพระบัญชาว่าอย่างนั้นพระเจ้าข้า

แล้วเอาเล็บตักยาเดินไปในราชสำนัก    ครั้นถึงแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอม

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 249

เสนามาคธราช    แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า 

พระพุทธเจ้าข้า      ข้าพระพุทธเจ้าจักตรวจโรคของพระองค์      แล้วรักษาโรค

ริดสีควงงอกของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช     หายขาดด้วยทายาเพียง

ครั้งเดียวเท่านั้น.

           ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช     ทรงหายประชวรจึงรับสั่ง

ให้สตรี  ๕๐๐  นาง    ตกแต่งเครื่องประดับทั้งปวง   ให้เปลื้องออกทำเป็นห่อแล้ว

ได้มีพระราชโองการแก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า    พ่อชีวก     เครื่องประดับทั้งปวง

ของสตรี  ๕๐๐  นางนี้จงเป็นของเจ้า.

           ชี.   อย่าเลย     พระพุทธเจ้าข้า      ขอพระองค์ทรงโปรดระลึกว่าเป็น

หน้าที่ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด.

           พ.   ถ้าอย่างนั้น   เจ้าจงบำรุงเรากับพวกฝ่ายใน   และภิกษุสงฆ์มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุข.

           ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า    เป็นอย่างนั้น

พระพุทธเจ้าข้า.

อรรถกถา

ประโยค๖ – สมนฺตปาสาทิกา นาม วินยฏฺฐกถา (ตติโย ภาโค) – หน้าที่ 223

กสฺมา ฯ    ตสฺส    กิร   เอตทโหสิ   อยํ   มหากุลสฺส   ปุตฺโต

คตมตฺโตเยว   ปิตุปิตามหานํ   สนฺติกา   มหาสกฺการํ   ลภิสฺสติ   ตโต

มยฺหํ   วา   สิปฺปสฺส   วา   คุณํ   น   ชานิสฺสติ  อนฺตรามคฺเค  ปน

ขีณปาเถยฺโย    สิปฺปํ   ปโยเชตฺวา   อวสฺสํ   มยฺหญฺจ   สิปฺปสฺส   จ

คุณํ   ชานิสฺสตีติ   ปริตฺตํ   ทาเปสิ ฯ  ปสเตนาติ  เอกหตฺถปูเฏน ฯ

ปิจุนาติ   กปฺปาสปฏเลน ฯ   ยตฺร   หิ   นามาติ   ยา   นาม ฯ

กิมฺปิมายนฺติ   กิมฺปิ   เม  อยํ ฯ  สพฺพาลงฺการํ  ตุยฺหํ  โหตูติ  ราชา

กิร   สเจ   อิมํ   คณฺหิสฺสติ   ปมาณยุตฺเต   ฐาเน   ตํ   ฐเปสฺสามิ

สเจ   น   คณฺหิสฺสติ  อพฺภนฺตริกํ  นํ  วิสฺสาสิกํ  กริสฺสามีติ  จินฺเตตฺวา

เอวมาห ฯ    อภยราชกุมารสฺสาปิ   นาฏกานมฺปิ   จิตฺตํ   อุปฺปชฺชิ

อโห   วต   น  คณฺเหยฺยาติ ฯ  โสปิ  เตสํ  จิตฺตํ  ญตฺวา  วิย  อิทํ

เม   เทว   อยฺยิกานํ   อาภรณํ   น   ปนิทํ  มยฺหํ  คณฺหิตุํ  ปฏิรูปนฺติ

วตฺวา   อลํ   เทวาติอาทิมาห ฯ   ราชา   ปสนฺโน  สพฺพาลงฺการ-

สมฺปนฺนํ    เคหญฺจ    อมฺพวนุยฺยานญฺจ   อนุสํวจฺฉรํ   สตสหสฺสอุฏฺฐานกํ  คามญฺจ    มหาสกฺการญฺจ    ทตฺวา    เตนหิ    ภเณติอาทิมาห ฯ  อธิการํ   เม   เทโว   สรตูติ   กตสฺส   อุปการํ  สรตูติ  อตฺโถ ฯ

สีสจฺฉวึ   อุปฺปาเฏตฺวาติ  สีสจมฺมํ  อปเนตฺวา ฯ  สิพฺพินึ  วินาเมตฺวาติ

สิพฺพินึ   วิวริตฺวา ฯ   สกฺขสิ   ปน  ตฺวํ  คหปตีติ  กสฺมา  อาห ฯ

อิริยปถสมฺปริวตฺตเนน    กิร    มตฺถลุงฺค    น   สณฺฐาติ   ตสฺส   จ

ตีหิ    สตฺตาเหหิ    นิจฺจลสฺส    นิปนฺนสฺส    มตฺถลุงฺคํ   สณฺฐหิสฺสตีติ

ญตฺวา   อปฺเปวนาม   สตฺต   สตฺต   มาเส  ปฏิชานิตฺวา  สตฺต  สตฺต

ประโยค๖ – ตติยสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย มหาวรรค  ตอน ๒ – หน้าที่ 330

           บทว่า  ปสเทน  คือ  ฟายมือหนึ่ง.

           บทว่า  ปิจุนา  คือ  ปุยฝ้าย.

           บทว่า  ยตฺร  หิ  นาม  คือชื่อใด ?

           บทว่า  กิมฺปิมายํ  ตัดบทเป็น  กิมฺปิ  เม  อยํ.

           สามบทว่า  สพฺพาลงฺการํ  ตุยฺหํ  โหตุ  มีความว่า  ได้ยินว่า

พระราชาทรงดำริว่า  “หากว่า  หมอชีวกจักถือเอาเครื่องประดับทั้งปวง

นี้ไซร้,  เราจักตั้งเขาในตำแหน่งพอประมาณ;  หากว่า  เขาจักไม่รับเอา

ไซร้,  เราจักตั้งเขาให้เป็นคนสนิทภายในวัง”  ดังนี้  จึงตรัสอย่างนั้น.

           อภัยราชกุมารก็ดี  พวกนางระบำทั้งหลายก็ดี  บังเกิดความคิดว่า

“ไฉนหนอ  ชีวกจะไม่พึงถือเอา ?”  ถึงเขาก็ดูเหมือนจะทราบความคิด

ของชนเหล่านั้น  จึงกราบทูลว่า  “ข้าแต่สมมติเทพ นี้เป็นเครื่องประดับ

ของอัยยิกาหม่อนฉัน,  อันเครื่องประดับนี้  ไม่สมควรที่หม่อมฉันจะรับ

ไว้”  ดังนี้แล้ว  กราบทูลว่า  อลํ เทว  เป็นอาทิ.

           พระราชาทรงเสื่อมใส  พระราชทานเรือนอันพร้อมสรรพด้วย

เครื่องประดับทั้งปวง  สวนอัมพวัน บ้านมีส่วยแสนหนึ่งประจำปี และ

สักการะใหญ่  แล้วตรัสคำเป็นต้นว่า เตนหิ ภเณ.

           หลายบทว่า   อธิการํ  เม  เทโว  สรตุ  มีความว่า  ขอจงทรง

ระลึกถึงอุปการะแห่งกิจการที่หม่อมฉันได้ทำไว้.

           สองบทว่า  สีสจฺฉวึ  เม  เทโว  สรตุ  มีความว่า  ขอจงทรง

           สองบทว่า  สิพฺพินึ  วินาเมตฺวา  ได้แก่  เปิดรอยประสาน.

           ถามว่า  เพราะเหตุไร  หมอชีวกจึงกล่าวว่า “คฤหบดี  ท่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *