บาลีวันละคำ

บาทบริจาริกา (บาลีวันละคำ 3,430)

บาทบริจาริกา

ภาษาบอกค่านิยมตามยุคสมัย

อ่านว่า บาด-บอ-ริ-จา-ริ-กา

(ตามพจนานุกรมฯ)

แยกศัพท์เป็น บาท + บริจาริกา 

(๑) “บาท” 

บาลีเป็น “ปาท” อ่านว่า ปา-ทะ รากศัพท์มาจาก ปท (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ -(ทฺ) เป็น อา (ปทฺ > ปาท)

: ปทฺ + = ปทณ > ปท > ปาท (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องดำเนินไป” 

ปาท” ในบาลีใช้ในความหมาย ดังนี้ – 

(1) เท้า (the foot)

(2) เชิงเขาหรือส่วนล่างของภูเขา (foot or base of a mountain)

(3) ส่วนหนึ่งในสี่ของคำร้อยกรองหนึ่งบท (ซึ่งตามปกติมีบทละ 4 บาท) (the fourth part of a verse)

(4) เหรียญที่ใช้ในการซื้อขาย (a coin)

ปาท” ในภาษาไทยใช้ว่า “บาท” (บาด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “บาท” ไว้ดังนี้ –

(1) ตีน, เท้า, เช่น ทวิบาท จตุบาท, ราชาศัพท์ว่า พระบาท.

(2) มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท.

(3) ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑๕ กรัม.

(4) ส่วนหนึ่งของบทแห่งคําประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่งมี ๔ บาท.

(5) ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที.

ในที่นี้ “ปาทบาท” ใช้ในความหมายตามข้อ (1) ที่แปลตามศัพท์ที่ว่า “เครื่องดำเนินไป

(๒) “บริจาริกา” 

บาลีเป็น “ปริจาริกา” อ่านว่า ปะ-ริ-จา-ริ-กา รากศัพท์มาจาก ปริ (คำอุปสรรค = รอบ) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ, ไป, เที่ยวไป) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ) + อิ อาคม + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ปริ + จรฺ = ปริจรฺ + ณฺวุ > อก = ปริจรก > ปริจารก : ปริจาร + อิ + = ปริจาริก + อา = ปริจาริกา 

อีกนัยหนึ่ง แปลง ณฺวุ เป็น อก แล้วแปลง อก เป็น อิกา เพื่อทำให้เป็นอิตถีลิงค์

: ปริ + จรฺ = ปริจรฺ + ณฺวุ > อก = ปริจรก > ปริจารก > ปริจาริก > ปริจาริกา 

ปริจาริกา” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ปรนนิบัติทั่วไป” หมายถึงผู้ทำหน้าที่รับใช้

ปริจาริก” (ปุงลิงค์) หมายถึง คนรับใช้, ผู้ติดตาม (servant, attendant) 

ปริจาริกา” (อิตถีลิงค์) หมายถึง –

(1) สาวใช้, หญิงรับใช้, นางพยาบาล, คนติดตามรับใช้ [ส่วนตัว] (a maid-servant, handmaiden, nurse, [personal] attendant)

(2) ความระมัดระวัง, การเอาใจใส่, ความยินดี, การพักผ่อนหย่อนใจ [อาจเป็นอีกรูปหนึ่งของ ปริจาริยา] (care, attention; pleasure, pastime)

ปริจาริกา” เมื่อใช้เป็นคุณศัพท์ของสตรี และแปลว่า “ปรนนิบัติ” หรือ “บำเรอ” ในภาษาไทยจึงมักเข้าใจกันในความหมายว่า หญิงที่ทำหน้าที่อำนวยความสุข (มีแนวโน้มไปในทางเพศ) ให้แก่ชาย

ปริจาริกา” ใช้ในภาษาไทยเป็น “บริจาริกา” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บริจาริกา : (คำนาม) หญิงรับใช้, ประกอบกับคำ บาท เป็น บาทบริจาริกา หมายถึง ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์ กรมพระราชวังบวร และเจ้าฟ้า, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัดใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).”

ปาท + ปริจาริกา = ปาทปริจาริกา (ปา-ทะ-ปะ-ริ-จา-ริ-กา) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ปรนนิบัติเท้า” หรือ “ผู้บำเรอเท้า” หมายถึง ภริยา (“serving on one’s feet,” i. e. a wife)

ปาทปริจาริกา” ใช้ในภาษาไทยเป็น “บาทบริจาริกา” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

บาทบริจาริกา : (คำนาม) หญิงที่มีหน้าที่รับใช้ปฏิบัติพระเจ้าแผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปาริจาริกา).”

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับปรุงคำนิยามใหม่เป็นดังนี้ –

บาทบริจาริกา : (คำนาม) ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์ กรมพระราชวังบวร และเจ้าฟ้า. (ป., ส. ปาทปริจาริกา).”

…………..

บาทบริจาริกา” เป็นคำที่เกิดขึ้นตามวัฒนธรรมหรือค่านิยมในสังคมสมัยหนึ่ง ถ้าเอาค่านิยม “ความเสมอภาค” ที่เกิดขึ้นในสมัยนี้เข้าไปจับ ก็คงจะถูกมองว่าเป็นคำของพวกศักดินา เป็นคำที่แสดงความกดขี่ทางเพศ และเป็นคำที่เลวทราม

แต่คนที่ฉลาดแท้ย่อมไม่ใช้ค่านิยมของคนในสมัยหนึ่งเป็นมาตรฐานไปตัดสินค่านิยมของคนอีกสมัยหนึ่ง ทั้งนี้เพราะยุคสมัยต่างกัน ค่านิยมก็ย่อมต่างกัน หน้าที่ของคนฉลาดคือศึกษาให้รู้ความเป็นจริง แล้วรู้เท่าทันตามความเป็นจริงนั้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าเราคิดว่าคนในอดีตโง่

: เราก็คือคนโง่สำหรับคนในอนาคต

#บาลีวันละคำ (3,430)

2-11-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *