บาลีวันละคำ

จักรวาลนฤมิต (บาลีวันละคำ 3,463)

จักรวาลนฤมิต

มีฤทธิ์สร้างจักรวาลได้

อ่านว่า จัก-กะ-วาน-นะ-รึ-มิด

ประกอบด้วยคำว่า จักรวาล + นฤมิต

(๑) “จักรวาล

บาลีเป็น “จกฺกวาฬ” (จัก-กะ-วา-ละ) แยกศัพท์เป็น จกฺก + วาฬ 

(ก) “จกฺก” (จัก-กะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (แทนศัพท์ว่า “คมน” = การไป) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ, ซ้อน กฺ ระหว่าง + กรฺ

: + กฺ + กรฺ + กฺวิ = จกฺกรกฺวิ > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องทำให้เคลื่อนไปได้” หมายถึง ล้อ, วงล้อ, ชิ้นส่วนที่เป็นวงกลม

(2) จกฺก (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย

: จกฺก + = จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียนแผ่นดิน” (คือบดแผ่นดิน) หมายถึง ล้อ, วงล้อ และหมายถึง กงจักร คืออาวุธรูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ สำหรับขว้างไปสังหาร

(3) กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ทำ ต้นธาตุให้เป็นสองอักษร (ภาษาไวยากรณ์ว่า “ทเวภาวะ” = ภาวะที่เป็นสอง : กรฺ > กกรฺ) แล้วแปลง ที่เกิดใหม่เป็น (กกรฺ > จกรฺ), แปลง เป็น กฺก, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ

: กรฺ + = กร > กกร > จกร > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเหตุให้ทำการยึดครองได้” หมายถึง กองทัพ, กำลังพล, กำลังรบ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จกฺก” ไว้ดังนี้ –

1 a wheel [of a carriage] (ล้อ [รถ])

2 a discus used as a missile weapon (แผ่นหินแบนกลมใช้เป็นอาวุธสำหรับขว้างไป)

3 a disc, a circle (แผ่นกลม, วงกลม)

4 an array of troops (ขบวนทหาร)

5 collection, set, part; succession; sphere, region, cycle (หมู่, กลุ่ม, ชุด, ส่วน; การสืบลำดับ; ถิ่น, เขตแดน, รอบ)

6 a vehicle, instrument, means & ways; attribute, quality; state, condition, esp. good condition [fit instrumentality] (ยานพาหนะ, เครื่องมือ, หนทางและวิถีทาง; คุณสมบัติ, คุณภาพ, สถานะ, สภาพ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงื่อนไขที่ดี [เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมได้]) 

(ข) จกฺก + วา (ธาตุ = ไป) + อล ปัจจัย, แปลง เป็น  

: จกฺก + วา = จกฺกวา + อล = จกฺกวาล > จกฺกวาฬ (ปุงลิงค์; นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่หมุนไปเหมือนล้อ” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จกฺกวาฬ” ว่า a circle, a sphere, esp. a mythical range of mountains supposed to encircle the world (จักรวาล, วงกลม, โลก, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูเขาซึ่งล้อมรอบโลกไว้) 

บาลี “จกฺกวาฬ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “จักรวาล” (-วาล ล ลิง) แต่ในคัมภีร์บาลีเองที่สะกดเป็น “จกฺกวาล” (-วาล ล ลิง) ก็มีบ้าง 

เมื่อพูดถึงคำว่า “จักรวาล” เป็นภาษาอังกฤษ เราคุ้นกับคำว่า universe แต่โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ซึ่งฝรั่งชาติอังกฤษเป็นผู้ทำ ไม่ได้แปล “จกฺกวาฬ” ว่า universe

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จักรวาล : (คำนาม) ปริมณฑล; ประชุม, หมู่; เทือกเขาในนิยาย เป็นกําแพงล้อมรอบโลกและเป็นเขตกั้นแสงสว่างกับความมืด, บริเวณโดยรอบของโลก, ทั่วโลก. (ส.; ป. จกฺกวาล).”

(๒) “นฤมิต” 

อ่านว่า นะ-รึ-มิด บาลีเป็น “นิมฺมิต” อ่านว่า นิม-มิ-ตะ รากศัพท์มาจาก นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง) + มา (ธาตุ = วัด, กะ, ประมาณ) + ปัจจัย, ซ้อน มฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (นิ + มฺ + มา), แปลง อา ที่ มา เป็น อิ (มา > มิ

: นิ + มฺ + มา = นิมฺมา + = นิมฺมาต > นิมฺมิต แปลตามศัพท์ว่า “อันเขาวัดเอาไว้” หมายถึง วัดเอาไว้, กะแผน, วางแผน; เนรมิต [โดยอิทธิฤทธิ์]; สร้างสรรค์, ดลบันดาล (measured out, planned, laid out; created [by supernatural power, iddhi]; measured, stately)

นิมฺมิต” เป็นรูปกิริยากิตก์ รูปกิริยาอาขยาตสามัญ (กัตตุวาจก ปัจจุบันกาล ปฐมบุรุษ เอกพจน์) เป็น “นิมฺมินาติ” (นิม-มิ-นา-ติ) 

เพื่อให้เห็นความหมายของ “นิมฺมิต” ชัดขึ้น ขอให้ดูความหมายของ “นิมฺมินาติ” ที่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลไว้ดังนี้ 

นิมฺมินาติ : to measure out, fashion, build, construct, form; make by miracle, create, compose; produce, lay out, plan (วัดไว้, บันดาล, สร้าง, ประกอบขึ้น, เนรมิต; สร้างด้วยฤทธิ์, วางรูป, ประดิษฐ์; ผลิต, วางแผน) 

บาลี “นิมฺมิต” สันสกฤตเป็น “นิรฺมิต” ในที่นี้เราใช้เป็น “นฤมิต” (นะ-รึ-มิด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

นฤมิต : (คำกริยา) สร้าง, แปลง, ทํา. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).”

จักรวาล + นฤมิต = จักรวาลนฤมิต 

จักรวาลนฤมิต” เป็นศัพท์ที่บัญญัติเทียบคำอังกฤษ metaverse ผู้เขียนบาลีวันละคำได้เห็นมีผู้ให้ความหมายว่า “จักรวาลที่ถูกเปลี่ยนแปลงหรือสร้างขึ้นมาใหม่” ยังไม่อาจยืนยันได้ว่าเป็นความหมายที่ถูกต้องตามนี้ หรือเป็นเพียงความเข้าใจเป็นส่วนตัว

อภิปรายขยายความ :

คำว่า metaverse จะมีความหมายอย่างไร ขอให้เป็นเรื่องของผู้คิดคำนี้ขึ้นมาจะตีกรอบตามที่ต้องการ ผู้เขียนบาลีวันละคำขออภิปรายเฉพาะในแง่ภาษา คือความหมายของคำว่า “จักรวาลนฤมิต” เท่าที่รูปศัพท์จะพึงเข้าใจได้เท่านั้น

จักรวาล” เป็นคำนาม “นฤมิต” เป็นคำกริยา และใช้เป็นคำวิเศษณ์หรือคุณศัพท์ได้ด้วย

ความหมายที่อาจแปลได้ก็คือ –

๑ จักรวาล (จักรวาล) ไปเนรมิตคือสร้าง (นฤมิต) อะไรอย่างหนึ่งขึ้นมา = พูดถึงจักรวาลว่าสามารถสร้างอะไรขึ้นมาได้ > จักรวาลเป็นผู้สร้าง

๒ มีอะไรอย่างหนึ่งสร้าง (นฤมิต) จักรวาล (จักรวาล) ขึ้นมา = พูดถึงอะไรอย่างหนึ่งที่สร้างจักรวาล > จักรวาลถูกสิ่งนั้นสร้างขึ้น

ความหมายนี้เทียบได้กับคำว่า “เทเวศรนฤมิตร” (เป็นชื่อเฉพาะ ถ้าสะกดตามอักขรวิธีปัจจุบันก็คือ “เทเวศนฤมิต”) อันเป็นชื่อสะพานแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ (ดูภาพประกอบ) ซึ่งมีความหมายว่า “สะพานที่เทวดาผู้ใหญ่สร้างขึ้น”

เทเวศนฤมิต” = (สะพาน) ที่เทวดาผู้ใหญ่สร้างขึ้น

จักรวาลนฤมิต” = (อะไรอย่างหนึ่ง) ที่จักรวาลสร้างขึ้น

๓ จักรวาล (จักรวาล) ที่ถูกสร้าง (นฤมิต) ขึ้น = พูดถึงจักรวาลที่ถูกสร้างขึ้น เป็นจักรวาลจำลอง ไม่ใช่ของจริง 

ความหมายนี้ “นฤมิต” เป็นคำวิเศษณ์หรือคุณศัพท์ขยายคำว่า “จักรวาล” หมายถึง มีใครหรือมีอะไรอย่างหนึ่งที่มีความสามารถยิ่งใหญ่มาก ใครหรืออะไรนั้นได้ไปสร้างจักรวาลขึ้นมา จักรวาลที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นจึงเรียกว่า “จักรวาลนฤมิต” แปลสั้นๆ ตรงตัวว่า “จักรวาลที่สร้างขึ้น

จักรวาลที่สร้างขึ้น > จักรวาลนฤมิต > metaverse จะหมายถึงอะไร เป็นเรื่องที่ผู้รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จะต้องปฏิบัติจัดการกันต่อไป 

เราในฐานะผู้รับสารหรือเสพสาร พึงใช้สติปัญญาเลือกรับเลือกเสพแต่สิ่งที่สมควรแก่ความเป็นมนุษย์ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน และดำรงอยู่ในความไม่ประมาท รู้เท่า รู้ทัน รู้ทั่ว จงทั่วกันเถิด

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มีความรู้สร้างอะไรได้ทั้งจักรวาล

: ถ้าไม่รู้จักพอประมาณจะหาความสุขได้ดังฤๅ

#บาลีวันละคำ (3,463)

5-12-64 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *