บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

ความรู้เรื่องการขบฉัน (๐๑)

ความรู้เรื่องการขบฉัน (๐๗)

————————–

อาหารต้องห้าม 

…………

พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ พระไตรปิฎกเล่ม ๕ ข้อ ๘๐-๘๑ มีเรื่องเล่าไว้ดังนี้

…………….

ก็โดยสมัยนั้นแล พระนครเวสาลีมีภิกษาหารมาก มีข้าวกล้างอกงาม บิณฑบาตก็หาง่าย ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำได้ง่าย 

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงพระปริวิตกอย่างนี้ว่า ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คือ อาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้นภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือหนอ?

ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ประทับพักเร้นแล้ว รับสั่งถามพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ภัตตาหารเหล่านั้นภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือ?

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ยังฉันอยู่พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง…เหล่านั้นเราห้ามจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

น  ภิกฺขเว  อนฺโตวุตฺถํ  อนฺโตปกฺกํ  สามํปกฺกํ  อุคฺคหิตปฏิคฺคหิตกํ  ปริภุญฺชิตพฺพํ  โย  ปริภุญฺเชยฺย  อาปตฺติ  ทุกฺกฏสฺส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มเอง อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

น  จ  ภิกฺขเว  ตโต  นีหฏํ  ปุเรภตฺตํ  ปฏิคฺคหิตํ  วนฏฺฐํ  โปกฺขรฏฺฐํ  ภุตฺตาวินา  ปวาริเตน  อนติริตฺตํ  ปริภุญฺชิตพฺพํ  โย  ปริภุญฺเชยฺย  ยถาธมฺโม  กาเรตพฺโพ. 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ยังไม่เป็นเดน ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ไม่พึงฉัน รูปใดฉันพึงปรับอาบัติตามธรรม.

——————-

นักบวช-รวมทั้งภิกษุในพระพุทธศาสนา-มีคำเรียกว่า “อนาคาริก” แปลว่า ผู้ไม่มีบ้านเรือน

เมื่อไม่มีบ้านเรือน ก็ไม่มีครัวไฟสำหรับหุงต้มอาหาร

แต่สิ่งมีชีวิตต้องกิน ตามกฎที่ว่า “สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา – สัตว์ทั้งปวงดำรงชีพได้ด้วยอาหาร” นักบวชจึงมีวัฒนธรรมขออาหาร

นักบวชในพระพุทธศาสนาใช้วิธีขอแบบอารยะ คือไม่เอ่ยปากขอ แต่บอกให้รู้โดยใช้กิริยาถือภาชนะ-คือบาตร-ยืนนิ่ง 

ปัตตวรรคที่ ๓

๓.  ภิกษุรับประเคนเภสัชทั้ง ๕  คือ  เนยใส  เนยข้น  น้ำมัน

น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย  แล้วเก็บไว้ฉันได้เพียง ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง  ถ้าให้ล่วง

๗  วันไป  ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

โภชนวรรคที่ ๔  มี ๑๐ สิกขาบท 

           ๑.  อาหารในโรงทานที่ทั่วไปไม่นิยมบุคคล  ภิกษุไม่เจ็บไข้  ฉันได้แต่เฉพาะวันเดียวแล้ว  ต้องหยุดเสียในระหว่าง  ต่อไปจึงฉันได้อีก  ถ้าฉันติด ๆ  กันตั้งแต่สองวันขึ้นไป  ต้องปาจิตตีย์.

           ๒.  ถ้าทายกเขามานิมนต์  ออกชื่อโภชนะทั้ง ๕  อย่าง  คือข้าวสุกขนมสด  ขนมแห้ง  ปลา  เนื้อ  อย่างใดอย่างหนึ่ง  ถ้าไปรับของนั้นมาหรือฉันของนั้นพร้อมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป  ต้องปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่สมัย  คือ  เป็นไข้อย่าง ๑  หน้าจีวรกาลอย่าง ๑  เวลาทำจีวรอย่าง ๑ เดินทางไกลอย่าง ๑  ไปทางเรืออย่าง ๑  อยู่มากด้วยกันบิณฑบาตไม่พอฉันอย่าง ๑  โภชนะเป็นของสมณะอย่าง ๑.

           ๓.  ภิกษุรับนิมนต์แห่งหนึ่ง  ด้วยโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว  ไม่ไปฉันในที่นิมนต์นั้น  ไปฉันเสียที่อื่น  ต้องปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่ยกส่วนที่รับนิมนต์ไว้ก่อนนั้นให้แก่ภิกษุอื่นเสีย  หรือหน้าจีวรกาลและเวลาทำจีวร.

           ๔.  ภิกษุเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ทายกเขาเอาขนมมาถวายเป็นอันมาก  จะรับได้เป็นอย่างมากเพียง ๓  บาตรเท่านั้น  ถ้ารับให้เกินกว่านั้น  ต้องปาจิตตีย์.  ของที่รับมามากเช่นนั้น  ต้องแบ่งให้ภิกษุอื่น.

           ๕.  ภิกษุฉันค้างอยู่  มีผู้เอาโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามาประเคน  ห้ามเสียแล้ว  ลุกจากที่นั่งนั้นแล้ว  ฉันของเคี้ยวของฉันซึ่งไม่เป็นเดนภิกษุไข้  หรือไม่ได้ทำวินัยกรรม  ต้องปาจิตตีย์. 

           ๖.  ภิกษุรู้อยู่ว่า  ภิกษุอื่นห้ามข้าวแล้ว  [ ตามสิกขาบทหลัง ]คิดจะยกโทษเธอ  แกล้งเอาของเคี้ยวของฉันที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้  ไปล่อให้เธอฉัน  ถ้าเธอฉันแล้ว  ต้องปาจิตตีย์.  

๗.  ภิกษุฉันของเคี้ยวของฉันที่เป็นอาหารในเวลาวิกาล  คือตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงวันใหม่  ต้องปาจิตตีย์.

           ๘.  ภิกษุฉันของเคี้ยวของฉันที่เป็นอาหารซึ่งรับประเคนไว้ค้างคืนต้องปาจิตตีย์.

           ๙.  ภิกษุขอโภชนะอันประณีต คือ  ข้าวสุก  ระคนด้วยเนยใสเนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย  ปลา  เนื้อ  นมสด  นมส้ม  ต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา  เอามาฉัน  ต้องปาจิตตีย์.

         ๑๐.  ภิกษุกลืนกินอาหารที่ไม่มีผู้ให้  คือยังไม่ได้รับประเคน  ให้ล่วงทวารปากเข้าไป ต้องปาจิตตีย์.  เว้นไว้แต่น้ำและไม้สีฟัน.


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *