บาลีวันละคำ

ภาพพจน์ (บาลีวันละคำ 360)

ภาพพจน์

(บาลีไทย-ศัพท์บัญญัติ)

ภาพพจน์” อ่านว่า พาบ-พด ประกอบด้วยคำว่า ภาพ + พจน์

ภาพ” บาลีเป็น “ภาว” (พา-วะ) แปลว่า ความมี, ความเป็น, ภาวะ (condition), ธรรมชาติ, การปลูกฝัง หรือการผลิตผลด้วยความคิด, ภาวะทางใจ

พจน์” บาลีเป็น “วจน” (วะ-จะ-นะ) แปลว่า คำพูด, การเปล่งเสียง, ถ้อยคำ, การร้องเรียก

ภาว + วจน แปลง เป็น พ = ภาพพจน การัต์ที่ = ภาพพจน์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า “ภาพพจน์” บัญญัติเทียบคำอังกฤษว่า figure of speech ให้ความหมายไว้ 2 นัย คือ –

(1) ถ้อยคำที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็นภาพ

(2) ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา

โปรดสังเกตว่า “ภาพ” ในคำนี้ แม้จะเป็นบาลี แต่เราเอามาให้ความหมายใหม่ คือ

(1) รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน

(2) สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย

ซึ่งไม่ใช่ความหมายในภาษาบาลี

: จะ “สร้างภาพ” หรือ “สร้างภาพพจน์” ก็ไม่งามหมดจดเท่ากับทำได้จริงอย่างจริงใจ

—————-

(สนองเมตตาจิต ของท่านอาทิตฺตเมธี ภิกฺขุ)

บาลีวันละคำ (360)

7-5-56

อาทิตฺตเมธี ภิกฺขุ ๖ พ.ค.๕๖

ภาพพจน์

 [พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็นภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).

การใช้คำพูดที่ผิดแผกจากภาษาตรงๆ เช่น การอุปมา การเยาะเย้ย แดกดัน, รูปแห่งภาษา, ภาษาภาพ, ภาพพจน์

ภาว (บาลี-อังกฤษ)

๑ ความมี, ความเป็น, ภาวะ (condition), ธรรมชาติ

๒ การปลูกฝัง หรือการผลิตผลด้วยความคิด (cultivation or production by thought), ภาวะทางใจ

วจน

คำพูด, การเปล่งเสียง, ถ้อยคำ, การร้องเรียก

ภาพ, ภาพ-

 [พาบ, พาบพะ-] น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).

พจน์ ๒

 (คณิต) น. สัญลักษณ์ที่แทนจํานวนจริงหรือจํานวนเชิงซ้อน ซึ่งจะเป็นจํานวนเดียวหรือหลายจํานวนคูณหรือหารกันก็ได้. (อ. term).

พจน-, พจน์ ๑

 [พดจะนะ-, พด] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป. วจน).

figure (พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี)

(คำนาม)

๑ ปฏิพิมฺพ, สณฺฐาน

๒ องฺค, สงฺขฺยารูป

๓ วากฺยาลงฺการ

๔ เทห, สรีร

(คำกิริยา)

๑ รูปานิ อาลิขติ

๒ องฺคานิ ลิขติ

figurative (1) เป็นอุปมา, โดยอุปมา (2) (ศิลปะ) ที่แสดงรูปร่าง เช่น การวาดเขียนและสลักปั้น อลงฺการิก, รูปกายตฺต

figurine ขุทฺทกปฏิมา

picture จิตฺตกมฺม, ปฏิรูป

figure of speech อาจหมายถึง “ลักษณะของโวหาร”

ทำนองเดียวกับโวหารทั้ง ๔ ในตำราเรียงความ

เทศนาโวหาร

น. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนาของพระ.

พรรณนาโวหาร

น. สำนวนเขียนที่กล่าวเป็นเรื่องราวอย่างละเอียดเพื่อให้ผู้อ่านนึกเห็นเป็นภาพ. [-ทก] ก. ยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น. (ป.; ส. ว่า ช่วยทํา, ทําให้สําเร็จ).

บรรยาย

 [บันยาย, บันระยาย] ก. ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟังเป็นต้น, เล่าเรื่อง เช่น ภาพยนตร์มีอักษรไทยบรรยายกํากับไว้. (ส.).

อุปมาโวหาร

น. สํานวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบประกอบ.

สาธกโวหาร

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย