โสทรเชษฐภคินี (บาลีวันละคำ 359)
โสทรเชษฐภคินี
อ่านว่า โส-ทอน-เชด-ถะ-พะ-คิ-นี
ประกอบด้วยคำว่า โสทร + เชษฐ + ภคินี
“โสทร” บาลีอ่านว่า โส-ทะ-ระ ประกอบขึ้นจากคำว่า สมาน + อุทร
“สมาน” (สะ-มา-นะ) แปลว่า เสมอกัน, เท่ากัน, เหมือนกัน ลดรูปเหลือเพียง “ส”
“อุทร” แปลว่า ท้อง แปลง อุ เป็น โอ = โอทร : ส + โอทร = โสทร แปลตามศัพท์ว่า “ท้องเสมอกัน” หมายถึงเกิดในท้องเดียวกัน คือมีพ่อและแม่คนเดียวกัน
“เชษฐ” บาลีเป็น “เชฏฺฐ” (เชด-ถะ) แปลว่า ดีกว่า (สิ่งหรือผู้อื่น), ดีที่สุด, เลิศ, ยอด; หัวปี; พี่ชายหรือพี่สาวคนโต, แก่กว่า, แก่ที่สุด
“ภคนี” แปลว่า พี่สาว หรือน้องสาว (ในที่นี้มีคำว่า เชษฐ ขยายอยู่ข้างหน้า จึงต้องหมายถึง “พี่สาว”)
โสทร + เชษฐ + ภคินี = โสทรเชษฐภคินี จึงมีความหมายว่า “พี่สาวคนโตที่ร่วมท้องเดียวกัน”
วันที่ 6 พฤษภาคม เป็นวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นพระโสทรเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองพระองค์ (ประสูติ 6 พฤษภาคม 2466)
บาลีวันละคำ (359)
6-5-56
โสทร = พี่น้องท้องเดียวกัน, ผู้ร่วมท้อง (สคพฺภ, โสทริย) (ศัพท์วิเคราะห์)
สมาโนทเร ชาโต โสทโร ผู้เกิดในอุทรเดียวกัน
สมาน + อุทร + ณ แปลง สมาน เป็น ส พฤทธิ์ อุ เป็น โอ
โสทริยาติ สมาเน อุทเร วุฑฺฒภาเวน โส เต อาลปนฺโต อาห.
วิฆาสาทชาดก ชาตกัฏฐกถา ภาค ๕ หน้า ๑๒๓
โสทร ค.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
ผู้เกิดร่วมท้องเดียวกัน.
เชฏฺฐ (บาลี-อังกฤษ)
(คุณ.ชั้นวิเสสและอติวิเสส) ดีกว่า (สิ่งหรือผู้อื่น), ดีที่สุด, เลิศ, ยอด; หัวปี; พี่ชายหรือพี่สาวคนโต, แก่กว่า, แก่ที่สุด
ภคินี พี่หรือน้องสาว
โสทร
[-ทอน] น. พี่น้องร่วมท้องกัน. (ป., ส.).
เชษฐ- ๑
[เชดถะ-] น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺ; ส. เชฺยษฺ).ว. “เจริญที่สุด”. (ส.; ป. เชฏฺ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดา หมายถึง พี่ชาย, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย.
ภคินี
[พะ-] น. พี่หญิง, น้องหญิง. (ป., ส.).
(1) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันมหิดลขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา ในฐานะที่เป็นพระราชโสทรเชษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จึงประกาศเฉลิมพระเกียรติยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478[8] [9
(2) เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงว่า พระพี่นางกัลยาณิวัฒนา เป็นพระโสทรเชษฐภคินีอันสนิทและทรงมีอุปการคุณแด่พระองค์
(3) ในวโรกาสสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็นพระโสทรเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง 2 พระองค์ ด้วยทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์มาโดยลำดับ รวมทั้งทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงชนชาวไทยทั่วไป