บาลีวันละคำ

สัมมาวาจา (บาลีวันละคำ 3,559)

สัมมาวาจา

องค์ที่สามของมรรคมีองค์แปด

อ่านว่า สำ-มา-วา-จา

ประกอบด้วยคำว่า สัมมา + วาจา

(๑) “สัมมา” บาลีเป็น “สมฺมา” (สำ-มา) 

สมฺมา” รากศัพท์มาจาก สมุ (ธาตุ = สงบ) + ปัจจัย, ลบสระท้ายธาตุ, ซ้อน มฺ, ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สมุ > สม + = สมฺม + = สมฺม + อา = สมฺมา แปลตามศัพท์ว่า “เหตุเป็นเครื่องสงบ

หมายเหตุ :

สมฺมา” ตามรากศัพท์นี้ หมายถึง สลักของแอก (a pin of the yoke)

สมฺมา” ที่กำลังกล่าวถึงนี้น่าจะมีรากศัพท์เดียวกัน

——-

สมฺมา” เป็นคำที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “อัพยยศัพท์” คือคำที่คงรูป ไม่เปลี่ยนรูปไปตามวิธีแจกวิภัตติ แต่อาจเปลี่ยนตามวิธีสนธิได้บ้าง และทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ ขยายคำอื่น ไม่ใช้ตามลำพัง

สมฺมา > สัมมา” แปลว่า โดยทั่วถึง, โดยสมควร, โดยถูกต้อง, โดยชอบ, ในทางดี, ตามสมควร, ดีที่สุด, โดยสมบูรณ์ (thoroughly, properly, rightly; in the right way, as it ought to be, best, perfectly)

คำที่ใช้ “สัมมา” นำหน้า ที่เราคุ้นกันดีก็เช่น สัมมาสัมพุทโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัมมาทิฐิ

คำที่ตรงกันข้ามกับ “สัมมา” ก็คือ “มิจฉา” (มิด-ฉา) แปลว่า ผิด, อย่างผิดๆ, ด้วยวิธีผิด, ไม่ถูก, เก๊, หลอกๆ (wrongly, in a wrong way, wrong–, false)

(๒) “วาจา

รากศัพท์มาจาก วจฺ (ธาตุ = พูด) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(จฺ) เป็น อา ตามสูตร “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (วจฺ > วาจ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตฺถีลิงค์

: วจฺ + = วจณ > วจ > วาจ + อา = วาจา แปลตามศัพท์ว่า “คำอันเขาพูด” หมายถึง คำพูด การกล่าว, การพูด, วาจา (word, saying, speech)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

วาจา : (คำนาม) ถ้อยคํา, คํากล่าว, คําพูด, เช่น วาจาสุภาพ วาจาอ่อนหวาน วาจาสัตย์. (ป., ส.).”

สมฺมา + วาจา = สมฺมาวาจา (สำ-มา-วา-จา) ใช้ในภาษาไทยเป็น “สัมมาวาจา” แปลตามสำนวนนิยมว่า “การเจรจาชอบ” หมายถึง การใช้คำพูดที่ถูกต้องดีงาม

“ชอบ” ในภาษาไทยมักหมายถึง ถูกใจ หรือ like

“ชอบ” ในภาษาบาลีหมายถึง ถูกต้อง หรือ right

สัมมาวาจา” เป็นองค์หนึ่งในหลักธรรมที่เรียกว่า “มรรคมีองค์แปด” อันประกอบด้วย (1) สัมมาทิฏฐิ (2) สัมมาสังกัปปะ (3) สัมมาวาจา (4) สัมมากัมมันตะ (5) สัมมาอาชีวะ (6) สัมมาวายามะ (7) สัมมาสติ (8 ) สัมมาสมาธิ

ขยายความ :

ในพระไตรปิฎกท่านให้คำจำกัดความคำว่า “สัมมาวาจา” ไว้ดังนี้ – 

…………..

กตมา  จ  ภิกฺขเว  สมฺมาวาจา  ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจาคืออย่างไร

มุสาวาทา  เวรมณี

การเว้นจากการกล่าวเท็จ

ปิสุณาย  วาจาย  เวรมณี

การเว้นจากวาจาส่อเสียด

ผรุสาย  วาจาย  เวรมณี

การเว้นจากวาจาหยาบคาย

สมฺผปฺปลาปา  เวรมณี

การเว้นจากเจรจาเพ้อเจ้อ

อยํ  วุจฺจติ  ภิกฺขเว  สมฺมาวาจา  ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่าสัมมาวาจา

ที่มา: มหาสติปัฏฐานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค 

พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 299

…………..

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [293] สรุปความหมายของ “สัมมาวาจา” ไว้ดังนี้ –

…………..

3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 — Sammāvācā: Right Speech)

…………..

วจีสุจริต 4 คือ งดเว้นและประพฤติตรงข้ามกับ มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [320] กุศลกรรมบถ 10 ขยายความ “วจีสุจริต” ไว้ดังนี้ –

…………..

ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา — verbal action)

4. มุสาวาทํ ปหาย ฯเปฯ น สมฺปชานมุสา ภาสิตา โหติ (ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จเพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ — to avoid lying, not knowingly speaking a lie for the sake of any advantage)

5. ปิสุณํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ สมคฺคกรณึ วาจํ ภาสิตา โหติ (ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบกล่าวถ้อยคำที่สร้างสามัคคี — to avoid malicious speech, unite the discordant, encourage the united and utter speech that makes for harmony)

6. ผรุสํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ พหุชนมนาปา ตถารูปึ วาจํ ภาสิตา โหติ (ละคำหยาบ พูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน — to avoid harsh language and speak gentle, loving, courteous, dear and agreeable words)

7. สมฺผปฺปลาปํ ปหาย ฯเปฯ กาลวาที ภูตวาที อตฺถวาที ธมฺมวาที วินยวาที นิธานวตึ วาจํ ภาสิตา โหติ ฯเปฯ (ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริง มีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาลเทศะ — to avoid frivolous talk; to speak at the right time, in accordance with facts, what is useful, moderate and full of sense)

…………..

สรุปว่า “สัมมาวาจา” ในแง่ “ห้ามทำ” หมายถึง เว้นจากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดไร้สาระ ในแง่ “ให้ทำ” หมายถึง พูดคำสัตย์คำจริง พูดสมานสามัคคี พูดคำสุภาพอ่อนหวาน และพูดเรื่องที่มีสารประโยชน์

…………..

ดูก่อนภราดา!

: จงพูดให้ถูกต้อง

: อย่าจ้องแต่จะพูดให้ถูกใจ

#บาลีวันละคำ (3,559)

11-3-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *