บาลีวันละคำ

อโสโก ภิกฺขุ (บาลีวันละคำ 3,556)

อโสโก ภิกฺขุ

ใช้กระแสเป็นสื่อไปหาความรู้คำบาลี

ช่วงเวลานี้มีนักแสดงชาวอินเดียคนหนึ่งมาอุปสมบทเป็นภิกษุอยู่ในเมืองไทย

นักแสดงคนนั้นชื่อสะกดเป็นอักษรอังกฤษว่า Gagan Malik ในข่าวสะกดเป็นอักษรไทยว่า กากัน มาลิก

Gagan ถ้าสมมุติว่าเป็นภาษาของคนอินเดีย ถ่ายเป็นอักษรโรมันเช่นนี้ ควรจะสะกดเป็นอักษรไทยว่า คาคัน นี่เป็นเพียงความเห็นเฉยๆ ไม่มีเจตนาจะให้ใครไปเปลี่ยนแปลงอะไร สะกดอย่างไรก็ว่ากันไปตามนั้น 

มีข้อคิดต่อไปอีกนิดหนึ่ง คือ น่าศึกษาดูว่า Gagan ในภาษาของคนอินเดียหมายถึงอะไร ถ้ารู้ความหมาย ก็จะช่วยให้สันนิษฐานรูปศัพท์ที่ควรจะเขียนเป็นอักษรไทยได้ถูกต้องยิ่งขึ้น-โดยเฉพาะถ้าเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากบาลีสันสกฤต

Gagan Malik อุปสมบทที่วัดธาตุทอง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ตามปกติในการกล่าวถึงการอุปสมของคนไทยจะต้องบอกชื่อพระที่เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ ที่เรียกกันว่า “พระคู่สวด” กำกับไว้ด้วยเสมอ เป็นการให้ความสำคัญแก่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ 

ข่าวที่ผู้เขียนบาลีวันละคำหาได้ไม่ได้ระบุนามพระอุปัชฌาย์-คู่สวดไว้ และยังไม่เป็นโอกาสที่จะไล่ตามหา จึงบอกได้เท่านี้

เมื่ออุปสมบทได้รับฉายาว่า “อโสโก” เรียกตามนิยมว่า “อโสโก ภิกขุ” ถ้าเขียนเป็นคำบาลีก็สะกดเป็น “อโสโก ภิกฺขุ” (- ภิกฺขุ มีจุดใต้ กฺ)

อโสโก” รูปคำเดิมเป็น “อโสก” อ่านว่า อะ-โส-กะ รากศัพท์มาจาก + โสก

(๑) “” 

บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “โสก” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ จึงแปลง เป็น  

(๒) “โสก” 

อ่านว่า โส-กะ รากศัพท์มาจาก สุจฺ (ธาตุ = โศกเศร้า) + ปัจจัย, ลบ , แปลง อุ ที่ สุ-(จฺ) เป็น โอ และแปลง เป็น (สุจฺ > โสจ > โสก)

: สุจฺ + = สุจณ > สุจ > โสจ > โสก (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ความโศกเศร้า” หมายถึง ความเศร้า, ความโศก, ความทุกข์ใจ (grief, sorrow, mourning)

บาลี “โสก” ภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “โศก” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โศก ๑, โศก– : (คำนาม) ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์ มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (พระอภัยมณี). (คำกริยา) ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. (คำวิเศษณ์) เศร้า เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง. (ส.; ป. โสก).”

+ โสก = นโสก > อโสก แปลว่า “ไม่เศร้าโศก” หมายถึง ปราศจากความเศร้าโศก (without grief) 

อโสก” ในที่นี้เป็นชื่อบุคคล คือภิกษุรูปหนึ่ง ตามหลักบาลีไวยากรณ์ถือว่าเป็น “วิเสสนะ” คือคำขยายของ “ภิกฺขุ” = ภิกษุ คือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “พระ”

ภิกฺขุ” รูปศัพท์เช่นนี้เป็นปุงลิงค์ เอกพจน์ ปฐมาวิภัตติ

อโสก” ซึ่งเป็น “วิเสสนะ” ของ “ภิกฺขุ” จึงต้องแจกด้วยวิภัตติที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) ปุงลิงค์ เอกพจน์เช่นเดียวกัน 

อโสก” จึงเปลี่ยนรูปเป็น “อโสโก

เขียนรวมกันเป็น “อโสโก ภิกฺขุ

อ่านว่า อะ-โส-โก พิก-ขุ

แปลว่า “ภิกษุผู้ไม่มีความโศก

หรือ “ภิกษุชื่ออโสกะ

ชื่อนี้เขียนล้อตามชื่อที่นิยมในอินเดียว่า “อโศกภิกษุ” ก็ยังได้

เพื่อทบทวนความเข้าใจ โปรดตามไปดูเพิ่มเติมที่บาลีวันละคำตามลิงก์ข้างล่างนี้ –

………………………………………….

ฉายา

https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/297759476984463

………………………………………….

ฉายาหลวงพ่อจรัญ

https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/994580853968985

………………………………………….

ฉายาพระ

https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/1740932259333837

………………………………………….

ฉายาพระกับการันต์ในภาษาบาลี

https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/3822663131160729

………………………………………….

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ยกจิตของตนให้พ้นโลก

: สุขกับโศกย่อมสิ้นอย่าสงสัย

#บาลีวันละคำ (3,536)

16-2-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *