บาลีวันละคำ

วิญญาณ (บาลีวันละคำ 386)

วิญญาณ

อ่านว่า วิน-ยาน

บาลีเป็น “วิญฺญาณ” อ่านว่า วิน-ยา-นะ

วิญฺญาณ” รากศัพท์คือ วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + ญา (ธาตุ = รู้) + ยุ (ปัจจัย แปลงเป็น อน [อะ-นะ] แปลง เป็น ) : วิ + (ซ้อน ) + ญา + (ยุ = อน =) อณ = วิญฺญาณ  แปลว่า ความรู้แจ้ง

คำนี้ไม่มีปัญหาในการเขียนหรืออ่าน แต่มีปัญหาในทางความเข้าใจ

พจน.42 บอกไว้ว่า “วิญญาณ” คือ สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่

ตามหลักพุทธศาสนาเถรวาท วิญญาณที่อยู่ในกายเมื่อมีชีวิต ก็คือความรับรู้อารมณ์ คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งที่กระทบกาย (เช่น เย็นร้อนอ่อนแข็งเป็นต้น) และรู้เรื่องที่ใจนึกคิด

และพระพุทธศาสนาเถรวาทไม่ได้สอนว่า เมื่อตาย วิญญาณจะออกจากร่างล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ แต่บอกว่า เมื่อจุติจิตเกิดแล้วดับไป (คือตาย) ถ้ายังมีกิเลสอยู่ จุติจิตจะเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดติดต่อกันไปทันที (คือเกิดใหม่)

เมื่อพูดว่า “วิญญาณ” เราจะแปลเป็นอังกฤษว่า soul และพอเห็นคำว่า soul ก็จะแปลกันว่า “วิญญาณ”

แต่ฝรั่งที่ทำพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ไม่ได้แปล “วิญญาณ” ว่า soul และไม่ได้แปล soul เป็นบาลีว่า “วิญฺญาณ

หลัก :

วิญญาณไม่ใช่เรื่องของความเชื่อ แต่เป็นเรื่องของความจริง

เมื่อใดทำความเห็นให้ตรงกับความจริง (ยถาภูตํ ปชานาติ) เมื่อนั้นก็จะรู้ว่าวิญญาณคืออย่างไร

ชี้ทาง : ตายแล้ววิญญาณออกจากร่าง จริงหรือ – อ่านที่นี่ —

(อดทนอ่าน แล้วจะเข้าใจว่าตายแล้ววิญญาณไปไหน)

(ตามข้อเสนอของ Sunant Sukantharam – กราบขอบพระคุณ)

บาลีวันละคำ (386)

4-6-56

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย