บาลีวันละคำ

เตสํ วูปสโม สุโข (บาลีวันละคำ 4,046)

เตสํ วูปสโม สุโข

รู้ไว้พอเป็นอุปนิสัยปัจจัยเมื่อได้ยินคำนี้

อ่านว่า เต-สัง วู-ปะ-สะ-โม สุ-โข

เป็นคำบาลี 3 คำ คือ “เตสํ” “วูปสโม” “สุโข

(๑) “เตสํ” 

อ่านว่า เต-สัง รูปคำเดิมเป็น “” (ตะ) เป็นศัพท์จำพวก “สัพพนาม” 

“สัพพนาม” (สรรพนาม) ในบาลีมี 2 ประเภท คือ –

(1) “ปุริสสัพพนาม” (ปุริสสรรพนาม) คือคำแทนชื่อ มี 3 บุรุษ คือ –

1. ปฐมบุรุษ หมายถึงผู้ที่เราพูดถึง เช่น เขา มัน (he, she, they; it) บาลีใช้ศัพท์ว่า “” (ตะ) นิยมเรียก “-ศัพท์” 

2. มัธยมบุรุษ หมายถึงผู้ที่เราพูดด้วย เช่น แก เจ้า มึง (you) บาลีใช้ศัพท์ว่า “ตุมฺห” (ตุม-หะ) นิยมเรียก “ตุมฺห-ศัพท์” 

3. อุตตมบุรุษ หรือ อุดมบุรุษ หมายถึงเราซึ่งเป็นผู้พูด เช่น ฉัน ข้า กู (I, we) บาลีใช้ศัพท์ว่า “อมฺห” (อำ-หะ) นิยมเรียก “อมฺห-ศัพท์” 

(2) “วิเสสนสัพพนาม” (วิเสสนสรรพนาม) คือคำคุณศัพท์ทำหน้าที่ขยายคำนาม ในบาลีมีหลายคำ เช่น (ใด) (นั้น) อญฺญ (อื่น) ปร (อื่น) กตร (คนไหน, สิ่งไหน

ในที่นี้ “” เป็น “วิเสสนสัพพนาม” แปลว่า “นั้น” ตามสูตรแล้วเป็นคำที่คู่กับ “” (ยะ) แปลว่า “ใด” นิยมเรียกคู่กันว่า “ยะตะ” มีสูตรที่นักเรียนบาลีต้องจำได้ คือ “มีใด ต้องมีนั้น” คือ ถ้าความท่อนแรกมี “” ความท่อนหลังต้องมี “” เรียกกันว่า “รับยะ รับตะ”

ในที่นี้ “” หมายถึง “สงฺขารา” ซึ่งกล่าวถึงในข้อความท่อนต้น (อนิจฺจา  วต  สงฺขารา) เมื่อจะพูดถึง “สงฺขารา” อีก จึงใช้ “-ศัพท์” แทน

” แจกด้วยวิภัตตินามที่หก (ฉัฏฐีวิภัตติ) พหุวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “เตสํ” เวลาแปลต้องเติม “สงฺขารานํ” เข้ามา 

สงฺขารานํ” ก็คือ “สงฺขารา” ในข้อความท่อนต้น รูปคำเดิมเป็น “สงฺขาร” แจกด้วยวิภัตตินามที่หก พหุวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “สงฺขารานํ” 

” เป็นคำขยาย “สงฺขาร” จึงต้องเปลี่ยนรูปเป็น “เตสํ” ตาม “สงฺขารานํ

เตสํ (สงฺขารานํ)” แปลว่า “สังขารทั้งหลายเหล่านั้น

(๒) “วูปสโม” 

อ่านว่า วู-ปะ-สะ-โม รูปคำเดิมเป็น “วูปสม” (วู-ปะ-สะ-มะ) รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + สมุ (ธาตุ = สงบ) + (อะ) ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือ อุ ที่ สมุ (สมุ > สม)

วิ + อุป + สม ใช้สูตร “ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง” คือลบ อิ ที่ วิ (วิ > ) และทีฆะ อุ ที่ อุป เป็น อู (อุป > อูป)

: วิ > + อุป = วุป + สมุ = วุปสมุ > วูปสมุ > วูปสม + = วูปสม (ปุงลิงค์ แปลตามศัพท์ว่า “ความเข้าไปสงบอย่างวิเศษ” 

วูปสม” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การบรรเทา, การปลดเปลื้อง, การระงับหรือดับ, การเอาชนะ, การหยุดยั้ง, ความเยือกเย็น (allaying, relief, suppression, mastery, cessation, calmness) 

(2) การดับความกระหาย (quenching of thirst)

วูปสม” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “วูปสโม

(๓) “สุโข

อ่านว่า สุ-โข รูปคำเดิมเป็น “สุข” อ่านว่า สุ-ขะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, สะดวก) + ขมฺ (ธาตุ = อดทน, อดกลั้น) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขมฺ = สุขมฺ + กฺวิ = สุขมกฺวิ > สุขม > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ทนได้ง่าย

(2) สุ (ดี, งาม, สะดวก) + ขนฺ (ธาตุ = ขุด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขนฺ = สุขนฺ + กฺวิ = สุขนกฺวิ > สุขน > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ขุดความทุกข์ด้วยดี

(3) สุ (ดี, งาม, สะดวก) + ขาทฺ (ธาตุ = เคี้ยวกิน) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ, ลดเสียง อา ที่ ขา-(ทฺ) เป็น อะ

: สุ + ขาทฺ = สุขาทฺ + กฺวิ = สุขาทกฺวิ > สุขาท > สุขา > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่เคี้ยวกินความทุกข์ด้วยดี

(4) สุขฺ (ธาตุ = สุขสบาย) + (อะ) ปัจจัย

: สุขฺ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ยังบุคคลให้สุขสบาย

(5) สุ (ง่าย, สะดวก) + (โอกาส

: สุ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ให้โอกาสได้ง่าย

สุข” เราแปลทับศัพท์กันจนอาจจะไม่เคยคิดว่าหมายถึงอะไร

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สุข” ไว้ดังนี้ –

(1) agreeable, pleasant, blest (เป็นที่พอใจ, รื่นรมย์, ได้รับพร)

(2) wellbeing, happiness, ease (ความผาสุก, ความสุข, ความสบาย)

(3) ideal, success (อุดมคติ, ความสำเร็จ)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สุข, สุข– : (คำนาม) ความสบายกายสบายใจ เช่น ขอให้อยู่ดีมีสุข เกิดมาก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เป็น เช่น ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้เป็นสุข ๆ นะ. (คำวิเศษณ์) สบายกายสบายใจ เช่น เดี๋ยวนี้เขาอยู่สุขสบายดี. (ป., ส.).”

สุข” ในบาลี ถ้าใช้เป็นคำนาม เป็นนปุงสกลิงค์ ถ้าใช้เป็นขยายคำนามหรือคำวิเศษณ์ (บาลีเรียก “วิเสสนะ”) เปลี่ยนลิงค์ไปตามคำนามที่ตนขยาย 

– เป็น “สุโข” เช่น สุโข ปุญญสฺส อุจฺจโย = การสั่งสมบุญนำสุขมาให้

– เป็น “สุขา” เช่น สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี = ความพร้อมเพรียงของหมู่ ให้เกิดสุข

– เป็น “สุขํ” เช่น อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก = ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก

ในที่นี้ “สุข” เป็นคำขยาย “วูปสโม” จึงเปลี่ยนรูปเป็น “สุโข

สุโข” เป็นคำที่คุ้นปากคนไทยคำหนึ่ง แต่เมื่อพูดเป็นไทยๆ มักมีผู้เขียนเป็น “สุขโข” โดยเข้าใจว่าเป็นคำว่า สุข + โข โปรดทราบว่าไม่ใช่คำที่ถูกต้องในบาลี

ขยายความ :

เตสํ  วูปสโม  สุโข” เป็นคำบาลีที่คุ้นหูคนไทยมากคำหนึ่ง เป็นข้อความบาทหนึ่งหรือวรรคหนึ่งในคาถา ( = คำประพันธ์) 4 วรรค หรือ 1 บท จะได้ยินเวลาไปร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตาย เช่น สวดพระอภิธรรม ตอนพระทำพิธีบังสุกุล 

คาถาบทนี้มีข้อความเต็มๆ ดังนี้ –

…………..

อนิจฺจา  วต  สงฺขารา

อุปฺปาทวยธมฺมิโน

อุปฺปชฺชิตฺวา  นิรุชฺฌนฺติ

เตสํ  วูปสโม  สุโข.

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ

มีการเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา

สังขารทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

การเข้าไประงับดับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นความสุข

ที่มา: มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 147

…………..

ต่อไปนี้ เวลาได้ยินพระท่านกล่าวคำชักผ้าบังสุกุลขึ้นต้นว่า “อนิจฺจา  วต  สงฺขารา” คงพอระลึกได้ว่า คำจบที่ว่า “เตสํ  วูปสโม  สุโข” แต่ลำคำมีความหมายว่าอย่างไร

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ดับความอยาก-ได้

: ดับความยากได้

#บาลีวันละคำ (4,046)

11-7-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *