บาลีวันละคำ

หิรัญยาราม (บาลีวันละคำ 4,045)

หิรัญยาราม

นามนี้ท่านได้แต่ใดมา

ผู้เขียนบาลีวันละคำได้เห็นชื่อวัดแห่งหนึ่งทางหน้าเฟซบุ๊ก ชื่อวัดราชคีรีหิรัญยาราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

คำอื่นไม่ติดใจ แต่ติดใจคำว่า “หิรัญยาราม” ติดใจว่าทำไมจึงสะกดอย่างนี้

หิรัญยาราม” แยกศัพท์เป็น หิรัญย + อาราม 

อาราม” เป็นคำที่เราคุ้นกันดี ทบทวนรากศัพท์กันหน่อยก็ยิ่งดี

อาราม” บาลีอ่านว่า อา-รา-มะ รากศัพท์มาจาก อา (ทั่วไป, ยิ่ง) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ -(มฺ) เป็น อา (รมฺ > ราม)

: อา + รมฺ = อารมฺ + = อารมณ > อารม > อาราม แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มายินดี

อาราม” ในภาษาบาลีมีความหมายดังนี้ –

(1) คำนาม : สถานที่อันน่ารื่นรมย์, สวน, อุทยาน (a pleasure-ground, park, garden)

(2) คำนาม : ความยินดี, ความชอบใจ, ความรื่นรมย์ (pleasure, fondness of, delight)

(3) คำคุณศัพท์ : ชอบใจ, เพลิดเพลิน, สบอารมณ์ (delighting in, enjoying, finding pleasure in)

นักบวชสมัยพุทธกาลพอใจที่จะพักอาศัยอยู่ตามป่าไม้ซึ่งปกติเป็นที่ร่มรื่น อันเป็นความหมายของ “อาราม” ดังนั้น คำว่า “อาราม” จึงหมายถึงสถานที่พักอาศัยของนักบวชด้วย 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อาราม ๑ : (คำนาม) วัด; สวนเป็นที่น่ารื่นรมย์. (ป., ส.).

(2) อาราม ๒ : (คำนาม) ความยินดี, ความรื่นรมย์, ความเพลิดเพลิน.

ในที่นี้ “อาราม” หมายถึง วัด

หิรัญย + อาราม = หิรัญยาราม 

คำที่เป็นปัญหาคือ “หิรัญย” 

คำบาลีที่อ่านว่า หิ-รัน-ยะ รูปศัพท์บาลีเป็น “หิรญฺญ” ( หญิง 2 ตัว) รากศัพท์มาจาก –

(1) หรฺ (ธาตุ = แสวงหา, นำไป) + ปัจจัย, ซ้อน ญฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (หรฺ + ญฺ + ), แปลง ะ ที่ -(รฺ) เป็น อิ (หรฺ > หิร)

: หรฺ + ญฺ + = หรญฺญ > หิรญฺญ แปลตามศัพท์ว่า (1) “วัตถุอันคนแสวงหากันเพราะเป็นของล้ำค่า” (2) “วัตถุที่ดึงดูดใจสัตว์โลก

(2) หา (ธาตุ = ละ, ทิ้ง, ถึง) + ญฺญ ปัจจัย, แปลง หา เป็น หิร

: หา > หิร + ญฺญ = หิรญฺญ แปลตามศัพท์ว่า (1) “วัตถุที่สละประโยชน์เพื่อสัตว์โลก” (เสมือนวัตถุชนิดนั้นสละตัวเองเพื่อประโยชน์ของผู้คน) (2) “วัตถุที่ถึงความล้ำค่า

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “หิรญฺญ” ว่า gold, gold-piece (ทอง, ชิ้นทองหรือชิ้นเงิน) 

บาลี “หิรญฺญ” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “หิรัญ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

หิรัญ, หิรัญ– : (คำนาม) เงิน, บางแห่งว่า ทอง ก็มี แต่โดยทั่วไปหมายถึง เงิน. (ป. หิรญฺญ; ส. หิรณฺย).”

ถ้า “หิรัญย” ในชื่อวัดมาจากคำบาลี ก็ควรสะกดเป็น “หิรัญญาราม” คือเป็น หญิงทั้ง 2 ตัว 

ตัวแรกเป็นตัวสะกด –รัญ– 

ตัวหลังเป็นตัวควบสระอา = +

แต่ถ้าต้องการให้ตัวหลังเป็น ยักษ์ ก็เป็นได้ แต่ต้องสะกดตามรูปสันสกฤต คือเป็น “หิรัณยาราม” (หน้า – เป็น เณร ไม่ใช่ หญิง)

บาลี “หิรญฺญ” สันสกฤตเป็น “หิรณฺย” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

หิรณฺย : (คำนาม) ‘หิรัณย์,’ ทองครรม; เงิน; มาตรา; บุรุษเรตัส, น้ำกามแห่งบุรุษ; อนัศวรพัสดุ, นิตยพัสดุ; พัสดุ; ทรัพย์, สมบัติ; gold; silver; a measure; semen; virile; an imperishable matter, an eternal matter; thing or substance; wealth, property.”

ในภาษาไทย ใช้เป็น “หิรัณย” ตามรูปสันสกฤตก็มี พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

หิรัณย-, หิรัณย์ : (คำนาม) ทองคํา, เงิน. (ส.).”

พจนานุกรมฯ ยังเก็บคำที่สะกดเป็น “หิรัณย” ไว้อีก คือ

หิรัณยการ = ช่างทอง.

หิรัณยเกศ = มีผมสีทอง.

หิรัณยรัศมี = มีสีผ่องดั่งเงินอย่างสีช้างเผือก.

เพราะฉะนั้น ชื่อวัดแห่งนั้น —

ถ้าเขียนตามบาลี ก็เขียนเป็น “หิรัญญาราม” ( หญิง ทั้ง 2 ตัว)

ถ้าเขียนตามสันสกฤต ก็เขียนเป็น “หิรัณยาราม” ( เณร สะกด ตามด้วย ยักษ์)

เขียนเป็น “หิรัญยาราม” ( หญิง สะกด ตามด้วย ยักษ์) จะเป็นบาลีก็ไม่ใช่ จะเป็นสันสกฤตก็ไม่ใช่ และไม่มีใครบอกได้ว่าทำไมเขียนอย่างนี้

ทั้งนี้ เว้นไว้แต่จะบอกว่าเป็นชื่อเฉพาะ (proper name) เช่นบอกที่มาว่า ตั้งตามชื่อผู้สร้างวัด คนหนึ่งชื่อ “หิรัญ” อีกคนหนึ่งชื่อ “ยา” เอาคำว่า “หิรัญ” มารวมกับ “ยา” จึงเป็น “หิรัญยาราม” 

ผู้เขียนบาลีวันละคำพยายามตรวจดูเท่าที่พอจะตรวจได้ ก็ไม่พบว่ามีการบอกเล่าทำนองนี้ไว้ในประวัติวัด มีแต่บอกว่าไม่ทราบชื่อผู้สร้างวัด

เรื่องเช่นนี้ ไม่ควรจนหรือไม่ควรจบ แบบ :

– เจ้าหน้าที่เขาเขียนให้มาอย่างนี้

– หลวงพ่อท่านให้เขียนแบบนี้

– ก็ไม่รู้ เห็นเขียนอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว

…………..

ชื่อ “วัดราชคีรีหิรัญยาราม” จึงควรเป็นข้อเตือนใจว่า ชื่อวัด-ตลอดจนชื่อสถานที่ต่างๆ ควรมีประวัติชี้แจงแสดงเหตุผลกำกับไว้ด้วยให้ชัดเจนว่า ทำไมจึงชื่อนี้ และทำไมจึงสะกดอย่างนี้ เพื่อมิให้คนภายหลังต้องมาถกเถียงกันถึงที่มาของชื่อ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เพราะภาษาเป็นเรื่องสมมุติ

: จึงเป็นโอกาสดีที่สุดที่จะช่วยกันสมมุติให้ถูกต้องงดงาม

#บาลีวันละคำ (4,045)

10-7-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *