บาลีวันละคำ

มัญชรี (บาลีวันละคำ 4,166)

มัญชรี

รูปงาม ความเพราะ เหมาะจะเป็นชื่อสตรี

อ่านว่า มัน-ชะ-รี

มัญชรี” เขียนแบบบาลีเป็น “มญฺชรี” อ่านว่า มัน-ชะ-รี รากศัพท์มาจาก มญฺชุ + ปัจจัย + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

(๑) “มญฺชุ” 

อ่านว่า มัน-ชุ รากศัพท์มาจาก –

(1) มนฺ (ธาตุ = รู้, เข้าใจ) + ชุ ปัจจัย, แปลง นฺ ที่สุดธาตุเป็น ญฺ

: มนฺ + ชุ = มนฺชุ > มญฺชุ แปลตามศัพท์ว่า “-อันคนเข้าใจ

(2) มน (ใจ) + ชวฺ (ธาตุ = แล่นไป) + อุ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (ชวฺ > ), แปลง เป็น ญฺ

: มน + ชวฺ = มนฺชวฺ + อุ = มนฺชวุ > มนฺชุ > มญฺชุ แปลตามศัพท์ว่า “-เป็นที่แล่นไปแห่งใจ

(3) มน (ใจ) + รญฺชฺ (ธาตุ = กำหนัด, ยินดี) + อุ ปัจจัย, ลบ ที่ ม และ ต้นธาตุ 

: มน + รญฺชฺ = มนรญฺชฺ + อุ = มนรญฺชุ > มนญฺชุ > มญฺชุ แปลตามศัพท์ว่า “-อันยังใจของผู้ฟังให้ยินดี

มญฺชุ” (คุณศัพท์) หมายถึง เป็นที่ชอบใจ, ไพเราะ, อ่อนหวาน, น่ารัก (pleasant, charming, sweet, lovely) 

โดยทั่วไป “มญฺชุ” มักใช้เป็นคำบอกลักษณะของ เสียง

มญฺชุ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “มัญชุ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

มัญชุ : (คำวิเศษณ์) ไพเราะ. (ป., ส.).”

(๒) มญฺชุ + ปัจจัย + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์, แปลง อุ ที่ (มญฺ)-ชุ เป็น (อะ) 

: มญฺชุ + = มญฺชุร + อี = มญฺชุรี > มญฺชรี แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ประกอบด้วยความน่ารัก” “สิ่งที่ประกอบด้วยความสวยงาม” หมายถึง ช่อดอกไม้, ก้านดอกไม้ที่แตกสาขาออก, หน่อ (a branching flower-stalk, a sprout)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “มญฺชริ” บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

มญฺชริ : (คำนาม) ‘มัญชริ,’ ก้านดอกไม้; ไข่มุกด์เม็ดใหญ่; a flower-stalk; a large pearl.”

มญฺชรี” ใช้ในภาษาไทยเป็น “มัญชรี” 

คำว่า “มัญชรี” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

มัญชรี” เป็นคำที่รูปงาม ความเพราะ เหมาะจะเป็นชื่อสตรี

ผู้เขียนบาลีวันละคำขออภินันทนาการคำนี้แด่นักตั้งชื่อทั้งหลาย และเป็นพิเศษแด่มวลสตรี-เพศที่ประดับโลกนี้ให้สวยสดงดงาม

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รูปงามไม่อาจทำให้ใจงามได้

: แต่ใจงามทำให้รูปงามได้

#บาลีวันละคำ (4,166)

8-11-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *