บาลีวันละคำ

อนธการ (บาลีวันละคำ 4,274)

อนธการ

ไม่ใช่ อนธกาล

อ่านว่า อน-ทะ-กาน

อนธการ” เขียนแบบบาลีเป็น “อนฺธการ” (มีจุดใต้ นฺ) อ่านว่า อัน-ทะ-กา-ระ ประกอบด้วย อนฺธ + การ 

โปรดสังเกตว่า บาลีอ่านว่า อัน-ทะ- ไม่ใช่ อน-ทะ-

(๑) “อนฺธ” 

อ่านว่า อัน-ทะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อนฺธ (ธาตุ = มืดมิด, เสียการเห็น) + (อะ) ปัจจัย

: อนฺธ + = อนฺธ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มืดมิด

(2) อมฺ (ธาตุ = เจ็บไข้, ป่วย) + ปัจจัย แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ + = อมธ > อนฺธ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ป่วยทางจักษุ” (คือตาพิการ)

อนฺธ” ปกติใช้เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า –

(1) บอด, ถูกทำให้แลไม่เห็น, ถูกปิดตา (blind, blinded, blindfolded)

(2) มืดมนทางใจ, มีใจไม่สดใส, โง่, แลไม่เห็น (mentally blinded, dull of mind, foolish, not seeing)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อันธ– : (คำวิเศษณ์) มืด, มืดมน, เช่น อันธกาล; โง่, ทึบ, เช่น อันธปัญญา; มองไม่เห็น, บอด, เช่น อันธจักษุ. (ป., ส.).”

(๒) “การ

บาลีอ่านว่า กา-ระ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุด้วยอำนาจปัจจัยเรื่องด้วย ” คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (กร > การ

: กรฺ + = กรณ > กร > การ แปลตามศัพท์ว่า “การทำ” มีความหมายว่า –

(1) การกระทำ, กิริยาอาการ, วิธีทำ (doing, manner, way)

(2) กรรม, การบริการ, การกระทำที่แสดงความเมตตา หรือความเคารพ หรือความนับถือ (deed, service, act of mercy or worship, homage)

(3) ผู้ทำ, หรือผู้จัดการหรือผู้ค้า (one who does, handles or deals)

ในภาษาไทย เรานำคำว่า “การ” มาใช้และกลายเป็นคำไทยจนแทบจะไม่ได้นึกว่าเป็นบาลี เช่นคำว่า “จัดการ” “เผด็จการ” เป็นต้น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “การ” ในภาษาไทยไว้ว่า –

(1) การ ๑ : (คำนาม) งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทำ, มักใช้เข้าคู่กับคำ งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทำกริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.

(2) –การ ๒ : (คำนาม) ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

(3) –การ ๓ : คำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.

อนฺธ + การ = อนฺธการ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “กระทำความมืด” หมายถึง ความบอด, ความมืด, ความไม่แหลมคมหรือสุกใส, ความพิศวงงงงวย (blindness, darkness, dullness, bewilderment)

บาลี “อนฺธการ” อ่านว่า อัน-ทะ-กา-ระ ใช้ในภาษาไทยเป็น “อนธการ” (ไม่มีจุดใต้ น) อ่านว่า อน-ทะ-กาน ก็มี เป็น “อันธการ” อ่านว่า อัน-ทะ-กาน ก็มี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อนธการ : (คำนาม) ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาค่ำ; ความเขลา; อันธการ ก็ว่า. (ป.).

(2) อันธการ : (คำนาม) ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาค่ำ; ความเขลา; อนธการ ก็ว่า. (ป.).

ขยายความ :

ในภาษาไทย ที่ใช้เป็น “อนธการ” เข้าใจว่าเพื่อให้รับสัมผัสกับคำว่า “มืดมน” เมื่อพูดควบกันเป็น “มืดมนอนธการ” อ่านว่า มืด-มน-อน-ทะ-กาน

ส่วนที่ใช้เป็น “อันธการ” เป็นการใช้ตามรูปและเสียงคำเดิมในบาลี และอาจใช้ต่อท้ายคำที่ลงท้ายด้วยเสียง-อัน เช่น “โมหันอันธการ” เป็นต้น 

แต่ “โมหัน” พจนานุกรมฯ สะกดเป็น “โมหันธ์” เพราะฉะนั้น จะเขียนเป็น “โมหันอันธการ” ไม่ได้ ครั้นจะเขียนเป็น “โมหันธ์อันธการ” ก็กลายเป็นมี “อันธ” ซ้อนกัน 2 คำ ไม่เหมาะ เพราะฉะนั้น “อันธการ” ก็ต้องใช้ต่อท้ายคำอื่นที่รับสัมผัสกันได้ตามลีลา “คำคล้องจอง” ในภาษาไทย

โปรดสังเกตว่า “อนธการ” และ “อันธการ” –การ ร เรือ ไม่ใช่ –กาล ล ลิง อย่าสะกดผิด

เช่น “มืดมนอนธการ” อย่าสะกดเป็น “มืดมนอนธกาล” 

และกรุณาอย่าบิดเบือนความหมาย เช่นอธิบายไปว่า “มืดมนอนธกาล” (-กาล ล ลิง) น่าจะใช้ได้และเหมาะสมกว่า คือหมายถึง “เวลาที่มืดมน” ดีกว่า “-อนธการ” (-การ ร เรือ) ที่แปลว่า “กระทำความมืด” ซึ่งไม่ชัดเจนว่าคืออะไร

เพราะ “อนธการ” คำนี้มาจากบาลี และความหมายเช่นนี้ในบาลีไม่มีศัพท์ว่า “อนฺธกาล” (-กาล ล ลิง) มีแต่ “อนฺธการ” (-การ ร เรือ) 

การบอกว่า “อนธกาล” (-กาล ล ลิง) ก็ใช้ได้ ย่อมมีโทษอย่างน้อย 3 ประการ คือ –

1 ทำให้เกิดความสับสนว่าคำนี้สะกดอย่างไรกันแน่ –การ หรือ –กาล 

2 ถ้าบอกว่าใช้ได้ทั้งสองคำ ก็เป็นการให้ความรู้ที่ผิด ผิดทั้งหลักฐานและหลักวิชา เป็นการประทุษร้ายทางปัญญาต่อสังคม

3 เป็นการทำให้คำผิดกลายเป็นคำถูกเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเวลานี้มีผู้ทำเช่นนั้นมากพอแล้ว และผู้ที่เจริญแล้วไม่พึงทำ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คนพาลทำบาปได้ทั้งในที่มืดและที่สว่าง

: บัณฑิตก็ทำบุญได้ทั้งในที่สว่างและที่มืด

#บาลีวันละคำ (4,274)

24-2-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *