บาลีวันละคำ

ฤาษิกา (บาลีวันละคำ 4,291)

ฤาษิกา

มาทางไหน เชิญกลับไปทางนั้น

ผู้เขียนบาลีวันละคำได้อ่านข้อความในโพสต์ทางเฟซบุ๊กของท่านผู้หนึ่ง ท่านเขียนว่า –

…………..

ฤาษีเป็นผู้เข้าป่าและถือบวช 

มี 2 เพศ คือ ผู้ชาย เรียกว่าฤาษี หรือดาบส 

กับ ผู้หญิง เรียกว่า ฤาษิกา หรือตาปสินี

…………..

คำว่า “ฤาษี” “ดาบส” “ตาปสินี” ไม่สงสัย

แต่สงสัยคำว่า “ฤาษิกา” มีศัพท์แบบนี้ด้วยหรือ?

ใครที่เรียนบาลีหรือพอรู้บาลีสันสกฤตอยู่บ้างย่อมจะตอบได้ว่า “ฤษีฤๅษี” เป็นรูปคำสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่าอย่างไร 

แต่ถ้ายังไม่รู้อะไรเลย วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะหาคำตอบก็คือ เปิดพจนานุกรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) ฤษี : (คำนาม) ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบําเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. (ส. ฤษี ว่า ผู้เห็น, ผู้แต่งพระเวท; ป. อิสิ).

(2) ฤๅษี : (คำนาม) ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบําเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ.

ที่คำว่า “ฤษี” พจนานุกรมฯ บอกไว้ในวงเล็บตอนท้ายว่า “ป. อิสิ” 

“ป.” ย่อมาจาก “ปาลิ” คือ ภาษาบาลี 

เป็นอันได้คำตอบว่า “ฤษีฤๅษี” ภาษาบาลีว่า “อิสิ” 

ฤษี” พจนานุกรมฯ บอกว่าคือ “ฤๅษี” 

ฤๅษี” พจนานุกรมฯ บอกว่าคือ “ฤษี” 

คำนิยามความหมายก็ตรงกันทุกคำ 

ถ้า “ฤษี” บาลีเป็น “อิสิ” (ตามที่พจนานุกรมฯ บอก)

ฤๅษี” บาลีก็ต้องเป็น “อิสิ” ด้วยเช่นกัน

อิสิ” แปลว่าอะไร คราวนี้ต้องใช้ความรู้ทางภาษาบาลี 

อิสิ” อ่านเท่าตัวว่า อิ-สิ รากศัพท์มาจาก อิสฺ (ธาตุ = แสวงหา; ปรารถนา; ไป) + อิ ปัจจัย

: อิสฺ + อิ = อิสิ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้แสวงหาคุณธรรม” (2) “ผู้ปรารถนาสิวะคือพระนิพพาน” (3) “ผู้ไปสู่สุคติ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อิสิ” ว่า a holy man, one gifted with special powers of insight & inspiration, an anchoret, a Seer, Sage, Saint (คนศักดิ์สิทธิ์, ผู้มีพรสวรรค์เกี่ยวกับกำลังภายใน และผู้มีตาทิพย์, โยคี, ฤๅษี, มุนี, นักบุญ)

ในการพูดกันทั่วไปในภาษาไทย แทบจะไม่มีใครรู้จักคำว่า “อิสิ” แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ก็ยังอุตส่าห์เก็บคำว่า “อิสิ” และ “อิสี” ไว้ด้วย บอกไว้ว่า –

อิสิ, อิสี : (คำนาม) ผู้แสวงคุณความดี, ฤษี, ผู้ถือบวช. (ป.; ส. ฤษิ).”

บาลี “อิสิ” สันสกฤตเป็น “ฤษิ” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ฤษิ : (คำนาม) พระฤษี [พระฤษีมีอยู่ ๗ จำพวก คือ สฺรุตรฺษิ, กานฺทรฺษิ, ปรมรฺษิ, มหรฺษิ, ราชรฺษิ, พฺรหฺมรฺษิ, เทวรฺษิ]; พระเวท; แสง; a sanctified personage [there are seven orders of these saints, as Srutarshi, Kāntarshi, Paramrshi, Maharshi, Rājarshi, Brahmarshi, and Devarshi]; a Veda; a ray of light.”

คำว่า “ฤาษิกา” ที่ยกขึ้นตั้งไว้นั้น เป็นรูปคำสันสกฤต 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน ที่ผู้เขียนบาลีวันละคำอาศัยเป็นคู่มือค้นคำสันสกฤต มีคำว่า “ฤษิ” ที่เราเอามาใช้เป็น “ฤษี” แต่ไม่ได้เก็บคำว่า “ฤๅษิ” หรือ “ฤๅษี” ไว้ 

ฤาษิกา” ก็ไม่มีใน สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน

แต่พึงทราบว่า คำสันสกฤตที่ไม่มีใน สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน นั้น ไม่ได้หมายความว่าไม่มีในภาษาสันสกฤต ทั้งนี้เพราะ สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน ไมใช่พจนานุกรมภาษาสันสกฤตที่สมบูรณ์ที่สุด คำที่มีในภาษาสันสกฤตเป็นจำนวนมากไม่ได้เก็บไว้ใน สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน

เพราะฉะนั้น จึงต้องขอแรงท่านที่รู้ภาษาสันสกฤตกรุณาชี้แนะด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง – “ฤาษิกา” มีใช้ในสันสกฤตหรือไม่

และเมื่อพิจารณาเฉพาะคำบาลี “อิสิ” เป็นปุงลิงค์ ถ้าเปลี่ยนให้เป็นอิตถีลิงค์ ลง อินี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ ก็จะเป็น “อิสินี” 

อิสินี” คำนี้มีใช้ในคัมภีร์ เช่น –

อิสินีปพฺพชฺชํ ปพฺพชิตฺวา = บวชเป็นฤษีหญิง (ชาตกัฏฐกถา ภาค 9 หน้า 125 [มหาชนกชาดก])

อิสินีเวสํ คณฺหิ = ถือเพศเป็นฤษีหญิง (ชาตกัฏฐกถา ภาค 10 หน้า 464 [มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์วนประเวศน์])

อนึ่ง “ฤาษิกา” เทียบกลับเป็นบาลีก็จะเป็น “อิสิกา” บาลีมีศัพท์ว่า “อิสิกา” ไม่ได้หมายถึง ฤษีผู้หญิง แต่แปลว่า ไส้หญ้าปล้อง

เป็นอันว่า คำว่า “ฤาษิกา” ยังมีปัญหาอยู่ ฝากผู้รู้ให้ช่วยพิจารณาต่อไป โดยเฉพาะท่านที่นำเอาคำว่า “ฤาษิกา” มาเสนอสู่สังคม ถ้าจะกรุณาอธิบายที่ไปที่มาให้ด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

ระวัง! อย่าเขียนผิด : 

ฤษีฤๅษี” ภาษาบาลีว่าอย่างไร แก้ปัญหาได้ไม่ยาก แต่ที่แก้ยากมากก็คือ คนไทยเราเวลาเขียนคำว่า “ฤๅษี” (รือ-สี) มักเขียนเป็น “ฤาษี” 

ท่านผู้เอาคำว่า “ฤาษิกา” มาอ้างไว้ก็เขียนอย่างนี้ คือที่ตัว “ฤา-” ใช้สระ อา 

โปรดดูให้ดี “ฤาษี” กับ “ฤๅษี” ต่างกันตรงไหน

เครื่องหมายหลังตัว “” เรามักเข้าใจกันว่าเป็นสระ อา (-า) ดังนั้น พอเขียนคำว่า “ฤๅษี” เราก็เลยเขียนเป็น “ฤาษี” 

รวมไปถึงคำว่า “ฤๅ” (รือ) เราก็มักเขียนเป็น “ฤา” ไปด้วย

เปิดพจนานุกรมหาความรู้กันก่อน 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) ฤๅ ๑ : เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นเสียงยาวของ ฤ เมื่อไทยนำมาใช้ออกเสียงเป็น รือ รี เช่น ฤๅษี [รือสี] ตฤๅ [ตฺรี].

(2) ฤๅ ๒ : (คำวิเศษณ์) หรือ, อะไร, ไม่ใช่; โดยมากใช้ในบทร้อยกรอง เช่น กวีฤๅแล้งแหล่งสยาม.

เป็นอันได้ความรู้ว่า “ฤๅ” เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต ออกเสียงเป็น รือ 

คำไทยที่มีความหมายว่า หรือ, อะไร, ไม่ใช่ ในภาษาไทยเก่าหรือในบทร้อยกรอง เราก็เขียนเป็น “ฤๅ” ด้วย

ข้อที่ต้องทราบก็คือ “ฤๅ” (รือ) ตัวนี้ ไม่ใช่ + สระ  

เครื่องหมาย – เช่นนี้ไม่ใช่สระ อา หางยาว อย่างที่บางคนชอบเรียก แต่เป็นส่วนควบหรือตัวเต็ม ๆ ของตัว “ฤๅ” 

เหมือนเราเขียน หญิง ต้องมีเชิง หรือ ฐาน ก็ต้องมีเชิง 

เชิงนั้นคือส่วนควบหรือตัวเต็ม ๆ ของ และ ฉันใด 

เครื่องหมาย – ก็เป็นส่วนควบหรือตัวเต็ม ๆ ของ “ฤๅ” ฉันนั้น 

เพราะฉะนั้น คำว่า “ฤๅ” ต้องเขียนอย่างนี้

ถ้าเขียน “ฤาษี” “ฤาษิกา” หรือ “ฤา” ( + สระ ) แบบนี้คือเขียนผิด

เคยได้ยินคำแก้ตัวว่า เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์บางรุ่นบางยี่ห้อไม่สามารถพิมพ์เครื่องหมาย “-” (สระ อา หางยาว) ได้เพราะผู้ผลิตไม่ได้ตั้งโปรแกรมให้มีเครื่องหมายชนิดนี้ 

คำแก้ตัวนี้ฟังขึ้น เพราะเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่บกพร่อง-หรือเรียกให้สุภาพว่ามีข้อจำกัด-เช่นนี้มีอยู่จริง 

แต่การแก้ตัวที่ฟังขึ้นเช่นนี้ก็ไม่เป็นเหตุให้การเขียน “ฤๅ” เป็น “ฤา” กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องขึ้นมาได้เลย

วิธีแก้ไขที่ถาวรก็คือ เปลี่ยนเครื่องมือใหม่ หรือติดตั้งโปรแกรมหรือใช้วิธีพิเศษให้สามารถพิมพ์เครื่องหมาย “-” ได้ 

แต่ถ้าสุดวิสัยจริงๆ ยังจำเป็นจะต้องพิมพ์ “ฤๅ” เป็น “ฤา” ทั้งที่รู้ว่าผิด ก็ควรบอกกล่าวกำกับไว้ด้วยว่า “ฤา” เป็นคำที่เขียนผิด เพื่อให้ผู้อ่านทราบ เป็นการสกัดกั้นความเข้าใจผิดไว้ตั้งแต่ต้นทาง ทั้งเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อการใช้ภาษาตามควรแก่วิสัยที่วิญญูชนจะพึงกระทำได้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คนฉลาด อ้างความจำเป็นที่ทำผิดเพื่อหาวิธีแก้ไข

: คนจัญไร อ้างความจำเป็นเพื่อจะได้ทำผิดต่อไปอีก

#บาลีวันละคำ (4,291)

12-3-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *