แขกขายนม
แขกขายนม
————-
ตอนผมไปเรียนที่ Maghadh University MU.ตอนนั้นตั้งอยู่กลางทุ่ง รั้วรอบยังไม่มี ห้องสมุดยังไม่มี ร้านอาหารไม่มี เป็นมหาวิทยาลัยบ้านนอกเต็มขั้น
ตอนเช้านักศึกษา ครูอาจารย์ส่วนใหญ่เดินทางมาจากคยา
ตอนเย็นเดินทางกลับ
กลางคืนเงียบเหมือนเมืองร้าง
ผมพักในหอพักของมหาวิทยาลัย ห้องพักอยู่ชั้น ๓ ของอาคาร
ตอนเช้าจะมีแขกขายนมหิวถังใส่น้ำนมสดมาเคาะประตูตามห้องพักนักศึกษา
แขกขายนมที่ว่านี้ก็คือชาวบ้านที่อยู่ในแถบนั้นซึ่งมีฐานะยากจน นมนั้นเป็นนมแพะ รีดกันสดๆ แต่มักจะผสมน้ำด้วยเพื่อเพิ่มปริมาณ ความสะอาดค่อนข้างต่ำ ดื่มทันทีไม่ได้ ต้องต้มก่อน
ตอนแรกผมยังไม่รู้ นึกว่าเหมือนนมสดบ้านเรา ดื่มเข้าไปแล้วพะอืดพะอมเหลือกำลัง
ผมซื้อนมที่ว่านี้เอามาต้ม ใส่น้ำตาล เป็นเครื่องดื่มหลังอาหารแบบกาแฟ หรือไม่ก็กินกับขนมให้อิ่มเป็นอาหารเช้าไปเลย
แขกขายนมพวกนี้เหลี่ยมจัดตรงที่ผสมน้ำลงไปมากๆ พวกนักศึกษาก็เลยต้องมีเครื่องมือวัดนม รูปร่างเหมือนปรอทวัดไข้ จุ่มลงไปในถังนมตัวเลขจะบอกว่ามีน้ำผสมอยู่ในอัตราส่วนเท่าไร ผมไม่ทราบว่าเครื่องมือที่ว่านี้ไปซื้อมาจากไหน แต่เห็นนักศึกษามีใช้กันแทบทุกคน
นมที่ว่านี้ออกเสียงเรียกว่า “ดู้ด” จนบัดนี้ผมก็ยังไม่ได้ค้นหาความรู้ว่าคำจริงๆ ในภาษาแขกสะกดอย่างไร
คนขายจะมีกระป๋องตวงนมมาด้วย ขายในราคากระป๋องละ ๒๐ เปซ่า (paise) (๑๐๐ เปซ่าเป็น ๑ รูปี) ตอนนั้น ๑ รูปี ประมาณ ๓ บาท (อัตราแลกเปลี่ยนนี้ผมอาจจำสับสน) ซึ่งนับว่าถูกมากๆ แต่ถ้าเทียบกับคุณภาพแล้วก็น่าจะแพงมากๆ
ผมซื้อเป็นเจ้าประจำกับแขกขายนมคนหนึ่ง จนคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอันดี
——————
ตอนไปอินเดีย สายการบินเขาแจกกระเป๋าใส่ของให้ผู้โดยสาร เหมาะสำหรับใส่เสื้อผ้าและของใช้กระจุกกระจิกในการเดินทาง หิ้วไปมาได้สะดวก รูปลักษณ์ค่อนข้างหรูหรา กระเป๋านี้เก็บไว้เฉยๆ ไม่ได้ใช้ทำอะไร ผมก็เลยตั้งใจจะยกให้แขกขายนมคนนี้
วันที่ให้นั่นแหละครับเกิดเรื่องนี้
เช้าวันนั้น แขกขายนมมาเคาะประตูห้องเหมือนเคย ผมก็ซื้อเหมือนเคย
ผมตั้งใจซื้อนมก่อน แล้วจะให้กระเป๋าทีหลัง เพราะนึกถึงปฏิปทาของพี่ชาย
————–
แถวบ้านนอกที่ผมอยู่มักมีคนเอาสินค้าสะพายไหล่ใส่หลังมาเร่ขายตามฤดูกาล
วันหนึ่งมีคนแบกเสื่อมาขาย เขามาถึงบ้านตอนเที่ยงได้เวลาอาหารกลางวันพอดี
เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ
ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ
ตอนนั้นผมยังไม่รู้หรอกว่ามีกลอนสำนวนนี้ ผมรู้แต่ว่าแถวบ้านผมเขาประพฤติกันอย่างนี้ทั้งนั้น ใครมาถึงบ้าน รู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม ได้เวลาอาหารเป็นต้องเรียกกินข้าว
มีข้าวให้กินจริงๆ ไม่ใช่เรียกตามมารยาท
พี่ชายผมซื้อเสื่อผืนหนึ่ง จ่ายสตางค์เรียบร้อยแล้วก็ชวนคนขายเสื่อกินข้าว
พี่ชายอธิบายให้ผมฟังเมื่อคนขายเสื่อกินข้าวอิ่มลาไปแล้วว่า
“เราต้องซื้อก่อน ถ้าเรียกกินข้าวก่อนแล้วซื้อทีหลัง คนขายเขาจะเกรงใจเรา ไม่กล้าคิดราคามาก จะทำให้เขาได้กำไรน้อยลง”
—————
ตวงนมให้กันเสร็จแล้ว ผมก็จะไปหยิบสตางค์มาให้เขา แต่นึกถึงกระเป๋าขึ้นมาได้ ก็เลยหยิบกระเป๋ามาให้เขาก่อน
คำว่า “ดีใจเหมือนได้แก้ว” เป็นเรื่องจริงครับ
แขกขายนมรับกระเป๋าไปแล้วหน้าบานเหมือนได้แก้วจริงๆ คว้าถังนมได้ก็รีบโกยอ้าวไปในทันทีราวกับกลัวผมจะเอาคืน
ราว ๕ นาทีผ่านไปก็มีเสียงเคาะประตู
แขกขายนมยืนยิ้มฝาดๆ อยู่หน้าห้อง
“๒๐ เปซ่า” เขาบอกเป็นภาษาแขก
ผมยื่นเงินให้เขาทันทีเพราะเตรียมไว้แล้ว และเดาไว้แล้วด้วย
เพื่อนในหอพักเล่าให้ฟังทีหลังว่า เห็นแขกขายนมคนนั้นเดินลิ่วลงไปจากชั้น ๓ ถึงชั้นล่างจนจะออกประตูหอพักอยู่แล้ว จู่ๆ พี่แกก็หันกลับเหมือนนึกอะไรขึ้นมาได้ จ้ำพรวดกลับขึ้นไปอีก
อารามดีใจทำให้เขาลืมรับเงินค่านม
แต่ธรรมชาติอันถาวรของแขกนั่นเองทำให้เขากลับขึ้นมาใหม่
ผมไม่ได้นึกอะไรทั้งนั้น นอกจากปิดประตูห้องแล้วก็หัวเราะคนเดียว
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗
————————
ข้อมูล
รูปี (อังกฤษ: Rupee; ฮินดี: रूपया) เป็นหน่วยเงินตราของประเทศอินเดีย สัญลักษณ์ที่นิยมใช้ทั่วไปแทนรูปี ก็คือ Rs หรือ ₨ ส่วนรหัส ISO 4217 สำหรับรูปีของอินเดีย คือ INR
รูปีอินเดีย แบ่งออกเป็น 100 paise
มหาวิทยาลัยมคธ (อังกฤษ: Magadh University) ชื่อย่อ: MU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาล อยู่ในตำบลโพธิคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติมหาวิทยาลัยแห่งรัฐพิหาร พ.ศ. 2519 ทั้งนี้ โดยพฤตินัยแล้วมหาวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2505 โดยนายสัตเยนทรา นารายัณ สิงห์ (อังกฤษ: Satyendra Narayan Sinha) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของอินเดีย มีวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อการเผยแผ่พุทธศาสนา มหาวิทยาลัยเปิดทำการครั้งแรกในวันที่ 2 มีนาคม ปีก่อตั้งนั้นเอง ปัจจุบัน จัดการเรียนการสอนในสาขาเศรษฐศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ คอมพิวเตอร์ศึกษา วิทยาการคอมพิวเตอร์ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และบริหารศาสตร์ นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของอินเดีย
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ดังนี้
เป็นสถานที่อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งพระพุทธศาสนา
เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม
เป็นศูนย์รวมของชาวพุทธผู้มาแสวงบุญทั่วโลก
คณะ Social Sciences “มหาวิทยาลัยมคธ”
ประวัติ
เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2505 หรือ ค.ศ. 1962 มีท่าน สารวปัล ราทะ กริชนัน (Sarvapalli Redha Khisshanan) ขณะดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของประเทศอินเดีย เป็นผู้มาวางศิลาฤกษ์ และมี ดร.เค เค ดุตต้า (Dr. K. K. Dutta) ผู้มีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์โลก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดีท่านแรก
ในระยะแรกได้ดำเนินงานด้านการศึกษา 7 ภาควิชา 2 วิทยาเขต และ 27 วิทยาลัยในเครือข่ายเท่านั้น
มหาวิทยาลัยมคธเป็นสถานที่ที่ดึงดูดนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาได้ดี ทั้งชาวอินเดียและชาวต่างประเทศ เพราะได้จัดให้มีการศึกษาขั้นสูง คือ ระดับอุดมศึกษา และงานด้านการวิจัยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เป็นต้น ต่อมามหาวิทยาลัยมคธได้ขยายสาขาออกไปอย่างกว้างขวางจนครอบคลุมถึงเมืองหลวงของรัฐพิหาร
ในปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่มาก มีวิทยาเขตถึง 45 แห่ง และวิทยาลัยในเครือข่ายอีก 96 แห่ง
นอกจากนี้ยังมีวิทยาลัยทางแพทยศาสตร์อีก 2 แห่ง วิทยาลัยทางวิศวกรรมศาสตร์อีก 2 แห่ง มีพื้นที่ก่อสร้างของมหาวิทยาลัยทั้งหมดประมาณ 500 เอเคอร์ หรือประมาณ 1,250 ไร่
มหาวิทยาลัยมคธนับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของประเทศอินเดีย และเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาลอินเดีย และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจำนวนมากกว่า 300 คน โดยคณะสังคมศาสตร์ (Social Sciences) เป็นคณะที่มีนักศึกษาไทยมากที่สุด
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2010 มีคนไทยที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปี 2007-2010 เข้าพิธีรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยมคธ จำนวน 31 คน [1]
Magadh University was established on 01 March, 1962 .
460 Acress of campus area
largest University of Bihar
Foundation by Dr sarvapali RadhaKrishnan
Dr. K.K Dutta Founder Vice- Chancellor
Post- Graduate ,Vocational Subjects
Science
arts
social science
Mathematical Science
Music & Fine Arts
Technology Medical Sc.
Commerce & Business
Management Studies
Correspondence
Education ,Law
Vocational Courses
National Level Seminars are Organized
all the student in nine hostels
distant mode of Education system
National Level Seminars are Organized regular
44 constituent and 105 affiliated colleges
————-
ความคิดเห็น
Bhanom Tiamsa-nguan, แหวนทอง บุญคำ, นรวิชญ์ ชายแดนลาว และ คนอื่นอีก 148 คน ถูกใจสิ่งนี้
ณัฐนรินทร์ เมธีวุฒินันทน์ ภาณุภัทรธนวัฒน์
อ่านจบแล้วต้องแอบอมยิ้มครับผม.
Mac ZA
แขกงกป้ะเนี่ย อาจารย์ อิอิ
Jum Kanya Rakchat
อยากฟังเรื่องเล่าในอินเดียอีก อาจารย์เอามาเล่าบ่อยๆนะคะ
Sakda Arnmanee
“แขกขี้คุย” จากข้อเขียนบอกเล่าสรุปว่า.- เช้าวันหนึ่งกลุ่มผู้แสวงบุญเดินทางด้วยรถบัส ข้างทางเป็นทุ่งนามีคนอินเดียเจ้าของถิ่นนั่งตามหัวคันนาเป็นกลุ่มๆ ผ่านไปใกล้ๆจึงรู้ว่ามานั่งถ่ายทุกข์ ดูจากท่าทางมีการพูดคุยกันด้วยขี้ไปคุยไป แขกขี้คุย (วารสารพุทธจักร – จำชื่อเรื่องและผู้เขียนไม่ได้) เรื่องแบบนี้เคยมีคนถามชาวอินเดียเหมือนกัน ได้รับคำตอบว่าดีกว่าพวกคุณที่นั่งซดเหล้ากันริมถนน
พันเอก อำนาจ เกิดผล
มีคำถามที่คุ้นหูว่า ระหว่าง งูกับแขก จะตีใครก่อน?
เริงศักดิ์ สุขพรหม
อยากฟังเรื่องเล่าในอินเดียอีก อาจารย์เอามาเล่าบ่อยๆนะครับ
Pan Naraya
สนุกได้ความรุ้ดีค่ะอาจารย์
วัชรวุฒิ รักในหลวง
แขกขายนมไม่เหมือนคนขายเสื่อ แกซื่อสัตย์ต่ออาชีพ ยิ่งกว่าอามิสใดๆ (ขำๆครับ)
ฝันในฝัน ทะเลแห่งความรัก
นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย แล้วทำไมยุคนั้น พระภิกษุไทย นิยมไปเรียนที่อินเดียกันครับ หรือบ้านเราตอนนั้นไม่ให้พระเรียนมหาวิทยาลัยใช่ไหมครับท่านอาจารย์ แล้วถ้ายุคนั้นจะไปเรียนญี่ปุ่นแพงกว่าอินเดียไหม
Sompong Duangsawai
ตกลงครูกินนมแขกทุกวัน 555
Ariya Kerdpoksup
เขารู้จักคุณค่าของเงินมากๆเลย
ธันยา พลฤทธิ์
คนอินเดียมีส่วนดีเยอะมากค่ะ
เขามีการหย่าร้างกันน้อยมากด้วย
Parnarai Sapayaprapa
มีเรื่องเล่าเหมือนกันค่ะเกี่ยวกับลูกเล่นของพ่อค้าแขก จากท่านอาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรีศิลปินแห่งชาติและราชบัณฑิต ท่านเล่าว่าเห็นไวโอลินตัวหนึ่งราคาถูกมาก ก็เลยซื้อทันที แต่ปรากฏว่าไม่มีคันชัก ท่านคิดว่าแขกคงจะลืม ก็เลยทวงถาม พ่อค้าแขกบอกว่าถ้าจะเอาคันชักด้วยต้องจ่ายเงินเพิ่ม (ราคาเท่าไรจำไม่ได้แล้วค่ะ เพราะมัวแต่หัวเราะ รู้แต่ว่าคันชักแพงกว่าตัวไวโอลิน)
Naga JaoJome Love King
ธรรมชาติอันถาวร โอ้…
Burapa Anan
แถวเจดีย์พุทธคยา แขกขายของมันจะพูดว่า อาจารย์จำได้ ๆ ขายถูก ..นึกขำในใจ เราพึ่งมาครั้งแรกมันจำได้ซะแล้ว …
Burapa Anan
อีกครั้งหนึ่งพักที่เมืองอัคระ ที่โรงแรม พอดีลงลีฟมากับเพื่อน ลิฟเปิดเห็นพนักงาน เข็นรถเข็นพร้อมถาดใส่อาหารหลายอย่าง พอเขาจะเข้าลิฟอาหารเลยคว่ำลงหนึ่งถาด จะเป็นพัดผัก เขาก็หอบโกยจากพื้นใส่ถาดเหมื่อนเดิม..นึกในใจว่าเช้านี้เราจะโดนพัดผักถาดนั้นมัยน้อ..ตอนฉันเช้ามีอาหารพัดผักขึ้นโต๊ะด้วย…๕๕๕
Napalai Suwannathada
เพื่อนที่ไปอินเดียเล่าว่าเช่ารถแอร์ไว้ ซึ่งแพงกว่ารถไม่มีแอร์ พอขึ้นรถเขาไม่เปิดแอร์ เพื่อนทวงถาม เขาก็บอกว่าถ้าเปิดแอร์ต้องคิดเงินค่าแอร์ด้วย อีกคนเล่าว่าเช่ารถไปวัดนอกเมือง แต่พอจะกลับก็บอกว่านั่นเฉพาะขาไป ถ้ากลับต้องจ่ายอีกเที่ยว
Pornthep Praditchaikul
ครูทองย้อยพูดถึงแขก ทำให้จำได้ถึงเรื่องนี้ครับ
อันนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดในอเมริกา
ชาวอินเดีย เดินเข้าไปในแบงค์ที่นิวยอร์ก
แล้วก็ไปหาเจ้าหน้าที่สินเชื่อ แล้วก็บอกว่า
จะไปทำธุระที่อินเดีย 2 อาทิตย์ จะขอกู้เงิน 5,000 ดอลลาร์
เจ้าหน้าที่สินเชื่อแจ้งว่าจะขอ
หลักทรัพย์ค้ำประกัน ชาวอินเดียเลยโชว์กุญแจรถ
เฟอรารี่คันใหม่เอี่ยมที่จอดบนถนนหน้าแบงค์
เค้าแสดงหลักฐานและตรวจสอบความถูกต้อง เจ้าหน้าที่สินเชื่อ
ตกลงที่จะรับรถคันนั้นไว้เป็นหลักประกัน
ประธานธนาคารและเจ้าหน้าที่ทุกคนหัวเราะเยาะ
ที่ชาวอินเดียนำรถเฟอรารี่คันละ 250,000 ดอลลาร์ มาเป็นหลักประกัน
เงินกู้แค่ 5,000 ดอลลาร์ แล้วเจ้าหน้าที่ธนาคารก็ขับเฟอร์รารี่
เข้าไปจอดในที่จอดรถใต้ดินของธนาคาร
2 อาทิตย์ต่อมา ชาวอินเดียคนนั้นกลับมา พร้อมชำระเงินกู้ 5,000 ดอลลาร์ และดอกเบี้ย 15.41 ดอลลาร์ เจ้าหน้าที่สินเชื่อกล่าวว่า
ท่านครับ ทางเรามีความยินดีที่ได้ทำธุรกิจร่วมกันและ
ธุรกรรมครั้งนี้ดำเนินไปด้วยดี แต่ว่าเราสงสัยนิดหน่อย
คือ ตอนที่ท่านไม่อยู่ เราตรวจสอบแล้วพบว่า
ท่านเป็นมหาเศรษฐี สิ่งที่เราสงสัยคือ
ทำไมท่านต้องเดือดร้อนมากู้เงินแค่ 5,000 ดอลลาร์ด้วย”
(ทึ่งมาก)
ชาวอินเดียคนนั้นตอบว่า “แล้วมีที่ไหนในนิวยอร์ก ที่ผมจะจอด
รถของผม เป็นเวลา 2 อาทิตย์ โดยเสียค่าจอดแค่ 15.41 ดอลลาร์ พร้อมทั้ง
คาดหมายได้ว่า มันจะยังอยู่เมื่อผมกลับมา”!!!
ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมบางคนใน ประเทศอินเดีย รวยเอาๆ
cr : ao racing garage
Trakul Pumsnoh
ง่ายๆ กระมังครับ…บ้านเรานี่เอง แม่ค้าตลาด แค็ดดี้ สาวโรงงาน ประเทศไทยเป็น ทาษแขกอินเดียที่เข้ามาหากินในประเทศแบบเสรี ด้วยการให้กู้เงินและเก็บคืนรายวัน…..เดินขายถั่วไม่กี่วันครับ…..ขี่จักรยานเก็บเงินแล้วครับ
Rajitkaew Vongpivat
ได้ทำทานกุศลนะคะ สาธุ
Waraporn Bureeruk
สมัยเด็กๆแม่เคยเล่าว่า มีแขกเข้ามาขายของในหมู่บ้าน คนแก่คนหนึ่งไปต่อรองราคาเสร็จแล้ว ไม่ซื้อ โดนแขกคนนั้นตีหัว. และมีสุภาษิตที่ได้ยินจนคุ้นหู จากแม่อีกนั่นแหละว่า เจองูกับเจอแขกให้ตีแขกก่อน
Trakul Pumsnoh
ที่เห็นมา แค่ในช่วงชีวิต อาจพอจะ อนุมาน ได้ว่า มีทั้งการใช้แขก กับการถูกแขกใช้ มีเทคนิคสูง และแตกต่างออกไป ในหลายๆอาชีพ
————
๔ พ.ค.๕๗