บาลีวันละคำ

กุญชร (บาลีวันละคำ 4,654)

กุญชร

คำบาลีที่แปลว่า ช้าง

อ่านว่า กุน-ชอน

กุญชร” เป็นรูปคำบาลี เขียนแบบบาลีเป็น “กุญฺชร” (มีจุดใต้ ญฺ) อ่านว่า กุน-ชะ-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) กุํ (ดิน) + ชรฺ (ธาตุ = เสื่อม, แก่) + (อะ) ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ กุํ เป็น ญฺ (กุํ > กุญฺ)

: กุํ + ชรฺ = กุํชรฺ + > กุํชร > กุญฺชรฺ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำให้ดินเสื่อมสภาพด้วยการทำลายเล่น” (หมายความเพียงว่าดินตรงนั้นกระจุยกระจายเพราะถูกเหยียบย่ำ) 

(2) กุญฺช (เนินเขา) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ 

: กุญฺช + รมฺ = กุญฺชรมฺ + กฺวิ = กุญฺชรมกฺวิ > กุญฺชรม > กุญฺชร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยินดีอยู่บนเนินเขา” 

(3) โกญฺจ (เสียงบันลือ) + จรฺ (ธาตุ = เที่ยวไป) + (อะ) ปัจจัย, แปลง โอ ที่ โกญฺจ เป็น อุ แล้วลบ จ (โกญฺจ > กุญฺจ > กุญ), แปลง จ ต้นธาตุเป็น ช 

: โกญฺจ + จรฺ = โกญฺจจรฺ + = โกญฺจจร > กุญฺจจร > กุญฺจร > กุญฺชร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เที่ยวบันลือโกญจนาท” 

กุญฺชร” (ปุงลิงค์) หมายถึง ช้าง (an elephant) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

กุญชร : (คำแบบ) (คำนาม) น. ช้าง. (ป.).”

ขยายความ :

คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา (คาถาที่ 360) แสดงคำบาลีที่หมายถึง “ช้าง” ไว้ 10 ศัพท์ ดังนี้ 

กุญชโร (ดูข้างต้น)

วารโณ = ผู้ต้านกำลังของปรปักษ์ได้

หตฺถี = สัตว์ที่มีมือ 

มาตงฺโค = สัตว์ที่มีร่างกายใหญ่โต

ทฺวิรโท = สัตว์ที่มีงาสองข้าง

คโช = สัตว์ที่ส่งเสียงคำราม

นาโค = สัตว์ที่มองเห็นเป็นเหมือนภูเขา

ทฺวิโป = สัตว์ที่ดื่มน้ำสองครั้ง คือด้วยงวงและปาก

อิโภ = ผู้เดินไปเรื่อย ๆ

ทนฺตี = สัตว์ที่มีงา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ช้างไทยเคยเข้าร่วมสงครามกู้ชาติ

: คนไทยถ้าใจขลาดก็ควรอายช้าง

#บาลีวันละคำ (4,654)

10-3-68 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *