บาลีวันละคำ

เอกภาพ (บาลีวันละคำ 4,049)

เอกภาพ

หญ้าปากคอกอีกคำหนึ่ง

อ่านว่า เอก-กะ-พาบ

ประกอบด้วยคำว่า เอก + ภาพ

(๑) “เอก

บาลีอ่านว่า เอ-กะ รากศัพท์มาจาก อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป, ตั้งอยู่) + ณฺวุ ปัจจัย, แผลง อิ เป็น เอ, แปลง ณฺวุ เป็น อก

: อิ > เอ + ณฺวุ = เอณฺวุ > เอก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ไปตามลำพัง” (คือไม่มีเพื่อนไปด้วย) (2) “ดำรงอยู่ในความเป็นหนึ่งเดียวเพราะไร้ผู้เหมือนกัน

เอก” ในบาลีใช้ใน 2 สถานะ คือ :

(1) เป็นสังขยา (คำบอกจำนวน) เช่น “ชายหนึ่งคน” เน้นที่จำนวน 1 คน = มุ่งจะกล่าวว่าชายที่เอ่ยถึงนี้มีเพียง “หนึ่งคน” 

(2) เป็นคุณศัพท์ เช่น “ชายคนหนึ่ง” ไม่เน้นที่จำนวน = มุ่งจะกล่าวถึงชายคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

เอก” หมายถึง หนึ่ง, หนึ่งเดียว, ดีที่สุด 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

เอก, เอก– : (คำวิเศษณ์) หนึ่ง (จำนวน); ชั้นที่ ๑ (ใช้เกี่ยวกับลำดับชั้น หรือขั้นของยศ ตำแหน่ง คุณภาพ หรือวิทยฐานะ สูงกว่า โท) เช่น ร้อยเอก ข้าราชการชั้นเอก ปริญญาเอก; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ‘่’ ว่า ไม้เอก; ดีเลิศ เช่น กวีเอก, สำคัญ เช่น ตัวเอก; (คำโบราณ) (คำนาม) เรียกลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก, คู่กับลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด. (คำที่ใช้ในกฎหมาย). (ป., ส.).”

(๒) “ภาพ

บาลีเป็น “ภาว” อ่านว่า พา-วะ รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมี” “ความเป็น

ภาว” หมายถึง ความมี, ความเป็น, ภาวะ, ธรรมชาติ (being, becoming, condition, nature) 

ภาว แปลง เป็น : ภาว > ภาพ เมื่อใช้ต่อท้ายคำอื่น แปลว่า “การ–” หรือ “ความ–” แบบเดียวกับภาษาอังกฤษที่ลงท้ายว่า -ness, -tion หรือ -ty

ภาพ” ในภาษาไทย นอกจากคงตามบาลีแล้ว ความหมายยังเคลื่อนที่ไปอีก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ภาพ, ภาพ– : (คำนาม) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).”

เอก + ภาว = เอกภาว > เอกภาพ 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

เอกภาพ : (คำนาม) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน; ความสอดคล้องกลมกลืนกัน. (อ. unity).”

เอกภาพ” เป็นศัพท์บัญญัติจากคำอังกฤษว่า unity

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล unity เป็นบาลีดังนี้: 

(1) ekībhāva เอกีภาว (เอ-กี-พา-วะ) = ภาวะแห่งผู้เป็นหนึ่ง, ภาวะที่เป็นหนึ่งเดียวกัน

(2) ekatta เอกตฺต (เอ-กัด-ตะ) = ความเป็นหนึ่ง

(3) sāmaggi สามคฺคิ (สา-มัก-คิ) “มีเป้าหมายสูงสุดร่วมกัน” = สามัคคี

(4) sāmaggiya สามคฺคิย (สา-มัก-คิ-ยะ) = ความสามัคคี, ความลงรอยกัน

โปรดสังเกตว่า คำที่ใกล้เคียงกับ “เอกภาพ” ของเรามากที่สุดคือ “เอกีภาว” ความจริงแล้ว คำก็ตรงกัน เพียงแต่บาลีเติม อี-ปัจจัยตามสูตรบาลี เอก เป็น เอกี แต่ ของเราใช้เป็น เอก– ตรงตัว

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เคารพกติกา

: คือที่มาของเอกภาพ

#บาลีวันละคำ (4,049)

14-7-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *