บาลีวันละคำ

จงรักภักดี (บาลีวันละคำ 1,244)

จงรักภักดี

จงรัก” เป็นคำไทย

ภักดี” (พัก-ดี) เป็นบาลีสันสกฤต

ภักดี” บาลีเป็น “ภตฺติ” (พัด-ติ) รากศัพท์มาจาก ภชฺ (ธาตุ = คบ) + ติ ปัจจัย, แปลง ชฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (ภชฺ > ภตฺ)

: ภชฺ + ติ = ภชฺติ > ภตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “การคบ

ภตฺติ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ความซื่อสัตย์, ความรักใคร่, ความติดใจ (devotion, attachment, fondness)

(2) การบริการ, การรับใช้, ทำตนเป็นคนรับใช้ (service, doing service, rendered a servant)

(3) การต่อเติมให้สวย, การประดับ, การตกแต่ง (making lines, decoration, ornamentation)

ภตฺติ” สันสกฤตเป็น “ภกฺติ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ภกฺติ : (คำนาม) ‘ภักติ,’ การบูชา; ศรัทธา, ความเชื่อ; ความภักดีต่อ; ภาค, ส่วน; worship; faith, belief; devotion or attachment to; part, portion.”

ภตฺติ > ภกฺติ ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤต เป็น “ภักดี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ภักดี : (คำนาม) ความจงรัก, ความเลื่อมใสยิ่ง. (ส. ภกฺติ; ป. ภตฺติ).

(2) จงรักภักดี : (คำกริยา) ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง.

จงรักภักดี : สิบปากพูด ไม่เท่าหนึ่งมือทำ

25-10-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย