บาลีวันละคำ

ประสา – ภาษา (บาลีวันละคำ 1,276)

ประสาภาษา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประสา : (คำนาม) วิสัยที่เป็นไป เช่น ตามประสาจน ตามประสาเด็ก ตามประสาใจ.”

พจน.54 ไม่ได้บอกว่า คำว่า “ประสา” มาจากภาษาอะไร

ผู้เขียนบาลีวันละคำขอเสนอว่า คำว่า “ประสา” เพี้ยนมาจากคำว่า “ภาษา

ภาษา” บาลีเป็น “ภาสา” (-สา เสือ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ภาสฺ (ธาตุ = พูด) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิง์

: ภาสฺ + = ภาส + อา = ภาสา แปลตามศัพท์ว่า “การพูด” “วาจาอันคนพูด

(2) ภา (ธาตุ = สว่าง, รุ่งเรือง) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิง์

: ภา + = ภาส + อา = ภาสา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ส่องสว่าง” “สิ่งที่รุ่งเรือง

ภาสา” ความหมายที่เข้าใจกันคือ คำพูด, ถ้อยคำ, วาจา (speech, language)

บาลี “ภาสา” สันสกฤตเป็น “ภาษา” (ษ ฤๅษี) เราเขียนตามสันสกฤตเป็น “ภาษา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ภาษา” ในภาษาไทยไว้ดังนี้ –

(1) ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม

(2) เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ

(3) (คำเก่า) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา (พงศ. ร. ๓)

(4) (ศัพท์คอมพิวเตอร์) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา

(5) โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา

อภิปราย:

ขอให้พิจารณาความหมายในข้อ (2) : เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ (ความจริงข้อนี้ควรมี “ลายลักษณ์” อีกอย่างหนึ่ง ลายลักษณ์บางอย่างไม่ใช่ตัวหนังสือ แต่มีความหมายที่สื่อความได้)

วิสัยที่เป็นไป” (ความหมายของ “ประสา”) ของมนุษย์เมื่อแรกเกิดก็คือยังไม่รู้ “ภาษา” ตามความหมายข้อ (2) นี่คือ ไม่รู้ภาษา = ไม่รู้ประสา

ต่อเมื่อโตขึ้นและได้เรียนรู้ตามวิสัย จึงสามารถรู้และทำสิ่งต่างๆ ได้ นี่คือ รู้ภาษา = รู้ประสา หรือ เป็นภาษา = เป็นประสา

ใครโตพอที่จะรู้ภาษาหรือเป็นภาษาได้แล้ว แต่ยังทำอะไรไม่ถูกไม่ควรหรือไม่ได้เรื่องที่ควรจะได้ หรือเคยทำได้ แต่บางคราวมีเหตุให้ทำไม่ได้ เราจึงเรียกว่า “ไม่รู้ภาษา” หรือ “ไม่เป็นภาษา” แล้วเพี้ยนเป็น “ไม่รู้ประสา” “ไม่เป็นประสา”

คำว่า “ประสา” นี้ ยังนิยมพูดเสริมคำเป็น “ประสีประสา” อีกด้วย

สรุปว่า “ประสา” เพี้ยนมาจาก “ภาษา” นั่นเอง

รู้ภาษา : แค่รู้ว่าคำด่าหรือคำชม

รู้ประสา : รู้วิธีไม่ทำให้เขาด่า และรู้ทีท่าทำให้เขาชม

26-11-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย