บาลีวันละคำ

ประสบ – ประสพ (บาลีวันละคำ 1,277)

ประสบประสพ

ใช้คำไหนดี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ประสบ : (คำกริยา) พบ, พบปะ, พบเห็น.

(2) ประสพ : (คำนาม) การเกิดผล. (ส. ปฺรสว; ป. ปสว).

ประสบ” ( ใบไม้ สะกด) เป็นคำไทย คำสั้นคือ “สบ” แปลว่า พบ, ปะ

ประสพ” ( พาน สะกด) พจน.54 บอกว่า สันสกฤตเป็น “ปฺรสว” บาลีเป็น “ปสว

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ปฺรสว : (คำนนาม) ‘ประสวะ, ประสพ,’ การคลอด, การออกหรือมีลูก (มีผล); ประสูติ, ชาติหรือกำเนิด; สันตติ, บุตร์, สุดา, วงศ์วาน; ผล; ช่อ, ผกา; bringing forth, bearing; birth; offspring, posterity; fruit; a blossom, a flower.”

ปสว” บาลีอ่านว่า ปะ-สะ-วะ รากศัพท์มาจาก (ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + สุ (ธาตุ = ทำให้เกิด, ไหลไป) + ปัจจัย, แผลง อุ ที่ สุ เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อว (สุ > โส > สว)

: + สุ + = ปสุ > ปโส > ปสว แปลตามศัพท์ว่า “การทำให้เกิด” “การไหลออก” หมายถึง การทำให้เกิด, ผลที่เกิด, ลูกหลาน (bringing forth, offspring)

ปสว” เป็นคำนาม ถ้าเป็นคำกริยาในบาลี รูปคำ (ปฐมบุรุษ เอกพจน์) จะเป็น “ปสวติ” (ปะ-สะ-วะ-ติ) แปลว่า ให้กำเนิด, ก่อให้เกิด, ผลิต (to bring forth, give birth to, beget, produce)

ปสวติ > ปสว > ปฺรสว ในภาษาไทยแปลงรูปเป็น “ประสพ

ตัวอย่างประโยคที่อาจช่วยให้เข้าใจความหมายของ ปสวติ > ปสว > ปฺรสว > ประสพ ได้ชัดเจนขึ้น เช่น –

ปาปํ ปสวติ = ทำบาป (to commit sin) > การทำบาป

ปุญฺญํ ปสวติ = ทำบุญ (to produce merit) > การทำบุญ

เวรํ ปสวติ = ก่อให้เกิดเวร (to beget hatred) > การก่อให้เกิดเวร

ข้อสังเกต :

(1) “ประสพ” – พาน นั้นท่านว่าเป็นคำนาม ภาษาไทยที่ใช้ “ประสพ” เป็นคำนามยังไม่เห็นตัวอย่าง เพื่อความชัดเจนน่าจะต้องเติม “การ-” เข้าข้างหน้า เป็น “การประสพ-” (แปลว่า “การเกิดผล”) เช่น “การประสพความสำเร็จในครั้งนี้…”

(2) แต่ก็คงจะเกิดข้อสงสัยอีกว่า “เขาประสบความสำเร็จ” ใช้ ใบไม้ แต่ “การประสพความสำเร็จ” ทำไมใช้ พาน ทั้งๆ ที่ความหมายเหมือนกัน

(3) หรือมิเช่นนั้นก็ตั้งหลักกันใหม่ เช่น –

ถ้าสิ่งที่ถูกพบเห็นเป็นรูปธรรม คือเป็นวัตถุ และต้องเห็นด้วยตา ใช้ว่า “ประสบ” (บ ใบไม้)

ถ้าสิ่งที่ถูกพบเห็นเป็นนามธรรม หรือสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยตาก็รู้สึกได้ ใช้ว่า “ประสพ” (พ พาน)

แต่ก็คงมีปัญหาถกเถียงในรายละเอียดกันอีกมาก

(4) เพราะฉะนั้น ใช้ “ประสบ ใบไม้ ทั้งหมดก็หมดปัญหา ส่วน “ประสพ พาน ก็เก็บไว้ประดับพจนานุกรมต่อไป

: ไม่ประสบสิ่งประสงค์ จงสู้อดใจ

: ประสบสิ่งไม่ประสงค์ไซร้ จงสู้ทน

27-11-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย