บาลีวันละคำ

สรรพนาม (บาลีวันละคำ 1,368)

สรรพนาม

อ่านว่า สับ-พะ-นาม

ประกอบด้วย สรรพ + นาม

(๑) “สรรพ

บาลีเป็น “สพฺพ” (สับ-พะ) รากศัพท์มาจาก –

1) สรฺ (ธาตุ = เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง เป็น , แปลง รฺ ที่ สรฺ เป็น พฺ (สรฺ > สพฺ)

: สรฺ + = สรฺว > สรฺพ > สพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไป

2) สพฺพฺ (ธาตุ = เป็นไป) + ปัจจัย

: สพฺพฺ + = สพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไป

สพฺพ” หมายถึง ทั้งหมด, ทั้งปวง, ทั้งสิ้น, ทุกอย่าง (whole, entire; all, every)

(๒) “นาม

บาลีอ่านว่า นา-มะ รากศัพท์มาจาก นมฺ (ธาตุ = น้อม) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(มฺ) เป็น อา (นมฺ > นาม)

: นมฺ + = นมณ > นม > นาม แปลตามศัพท์ว่า “คำเป็นที่น้อมวัตถุเข้ามา” “คำที่น้อมไปหาวัตถุ” “คำที่ชาวโลกใช้เป็นเครื่องน้อมไปสู่ความหมายนั้นๆ” หมายถึง นาม, ชื่อ (name)

สพฺพ + นาม = สพฺพนาม แปลตามศัพท์ว่า “ชื่อทั้งปวง

สพฺพนาม > สรรพนาม เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สรรพนาม : (คำที่ใช้ในไวยากรณ์) (คำนาม) คําที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.”

อภิปราย :

๑ ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับ คือมีระเบียบการใช้คำให้เหมาะแก่ระดับของผู้พูดผู้ฟัง ระเบียบการใช้คำนั้นเป็นวัฒนธรรมของผู้เจริญแล้ว

๒ มีข้อน่าสังเกตว่า ปัจจุบันการใช้สรรพนามของคนไทยแปลกไปจากสมัยก่อน เช่น

– ภาษาไทยใช้สรรพนามเรียกสัตว์ว่า “มัน” ปัจจุบันมีผู้นิยมใช้สรรพนามเรียกสัตว์ว่า “เขา”

– ภาษาไทยใช้สรรพนามเรียกบิดามารดาของตนว่า “ท่าน” ปัจจุบันมีผู้นิยมใช้สรรพนามเรียกบิดามารดาของตนว่า “เขา” (คำเดียวกับที่ใช้เรียกสัตว์)

– คนไทยใช้สรรพนามเรียกพระสงฆ์ด้วยความเคารพ ลักษณะหนึ่งของการเคารพคือ ไม่เรียกเฉพาะชื่อตัวของท่านโดดๆ แต่ต้องมีคำว่า หลวงปู่ หลวงพ่อ เป็นต้นนำหน้าชื่อเสมอ ถ้าเป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ก็จะเรียกขานเฉพาะนามสมณศักดิ์ ไม่ออกชื่อตัว เช่นเรียกว่า “สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์” ไม่ใช่เรียก “สมเด็จช่วง” อย่างที่สื่อมวลชนเรียกกันในเวลานี้

๓ ภาษาไทยมีทั้งภาษาพูด และภาษาเขียนที่เรียกว่าภาษาเป็นทางการ การใช้สรรพนามก็มีทั้งระดับภาษาพูดและภาษาเขียนเช่นกัน คนไทยอาจพูดถึงบิดามารดาของตนเป็นภาษาพูดว่า “แก” แต่เมื่อเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรจะเปลี่ยนเป็นใช้ภาษาเขียน คือเรียกว่า “ท่าน” เสมอ แต่สื่อมวลชนสมัยนี้มักใช้สรรพนามที่เป็นภาษาพูดในภาษาเขียนกันชุกชุมจนไม่รู้สึกว่าเป็นความหยาบคาย

๔ เป็นความจริงที่ภาษาเป็นอนิจจัง คือต้องเปลี่ยนแปลงเสมอ แต่ก็เป็นความจริงด้วยเช่นกันว่า ผู้ที่เจริญแล้วย่อมสามารถทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เจริญได้เสมอ

: ใจงาม คำไม่หยาบ

: ใจบาป คำไม่งาม

—————-

(ร่วมปลงธรรมสังเวชกับพระคุณท่าน ปริญช์ ชุติญาณวงษ์)

27-2-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย