บาลีวันละคำ

ศาลาสหทัยสมาคม (บาลีวันละคำ 1,623)

ศาลาสหทัยสมาคม

อ่านว่า สา-ลา-สะ-หะ-ไท-สะ-มา-คม

ประกอบด้วย ศาลา + สหทัย + สมาคม

(๑) “ศาลา

เป็นรูปคำสันสกฤต ตรงกับบาลีว่า “สาลา” รากศัพท์มาจาก สลฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือยืดเสียง อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (สลฺ > สาล) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สลฺ + = สลณ > สล > สาล + อา = สาลา แปลตามศัพท์ว่า “โรงเรือนเป็นที่ผู้คนไปหา

สาลา” หมายถึง ห้องโถง (มีหลังคาและมีฝาล้อมรอบ), ห้องใหญ่, บ้าน; เพิง, โรงสัตว์ (a large [covered & enclosed] hall, large room, house; shed, stable)

ภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “ศาลา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศาลา : (คำนาม) อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือเพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาวัด ศาลาที่พัก ศาลาท่านํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาคารหรือสถานที่บางแห่ง ใช้เพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาพักร้อน ศาลาสวดศพ. (ส.; ป. สาลา).”

(๒) “สหทัย” รากศัพท์มาจาก + หทัย

ก. “” ตัดมาจาก “สห” (สะ-หะ) เป็นคำบุรพบทและอุปสรรค แปลว่า พร้อม, กับ, พร้อมด้วย

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สห” ว่า conjunction with, together, accompanied by (ต่อเนื่อง, ด้วยกัน, ติดตามด้วย)

ข. “หทัย” บาลีเป็น “หทย” (หะ-ทะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก หรฺ (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, แปลง ที่ (ห)-รฺ เป็น (หรฺ > หท)

: หรฺ + = หรย > หทย แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะที่นำที่รองรับของตนไป” (คือนำร่างให้เป็นไป) (2) “อวัยวะที่นำสภาวะของตนไป” หมายถึง หัวใจ, ใจ (the heart: the physical organ; the heart as seat of thought and feeling)

+ หทย = สหทย > สหทัย แปลว่า “พร้อมใจกัน” “ร่วมใจกัน

(๓) “สมาคม” บาลีอ่านว่า สะ-มา-คะ-มะ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, รวมกัน),แปลงนิคหิตเป็น ม (สํ > สม) + อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง, กลับความ) + คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย

: สํ > สม + อา = สมา + คมฺ = สมาคม + = สมาคม แปลตามศัพท์ว่า “มาพร้อมกัน” “มารวมกัน

(คม แปลว่า “ไป” + อา (คำอุปสรรค “กลับความ”) จาก “ไป” กลายเป็น “มา”)

ภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “สมาคม” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ :

(1) การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า.

(2) แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม สมาคมศิษย์เก่า.

(3) (คำที่ใช้ในกฎหมาย) นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทําการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สมาคมต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. (ป., ส.).

(4) คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับคนพาล ให้สมาคมกับนักปราชญ์.

ในที่นี้คำว่า “สมาคม” มีความหมายตามนัยแห่งข้อ (2)

ศาลา + สหทัย + สมาคม = ศาลาสหทัยสมาคม แปลว่า “ศาลาเป็นที่มารวมกันแห่งบุคคลผู้มีน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” หรืออาจแปลสั้นๆ เพื่อจำง่ายว่า “ศูนย์รวมใจ

ศาลาสหทัยสมาคม” เดิมชื่อหอคองคอเดีย (Concordia) ซึ่งมาจากคำว่า concord

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล concord ว่า กลมกลืน, ความปรองดองกัน, ตรง, ถูกต้อง, มีความสัมพันธ์, ลงรอยกัน, เห็นพ้อง; ความไมตรี, มิตรภาพ

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล concord เป็นบาลีดังนี้ –

(1) sāmaggi สามคฺคิ (สา-มัก-คิ) = ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

(2) ekamatitā เอกมติตา (เอ-กะ-มะ-ติ-ตา) = การมีความเห็นลงรอยกัน

(3) avirodha อวิโรธ (อะ-วิ-โร-ทะ) = ความไม่ผิดพ้องหมองใจกัน

(4) anusandhāna อนุสนฺธาน (อะ-นุ-สัน-ทา-นะ) = การประสานสอดคล้องกัน

………….

ศาลาสหทัยสมาคมตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เดิมชื่อหอคองคอเดีย (Concordia) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นเป็นสโมสรสำหรับทหารมหาดเล็กและประชุมการงานต่างๆเป็นครั้งคราวตามแบบอย่างสโมสรทหารที่เมืองปัตตาเวียซึ่งเรียกชื่ออย่างเดียวกัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 สำนักพระราชวังได้จัดศาลาสหทัยสมาคมเป็นสถานที่สำหรับให้ประชาชนลงนามถวายความอาลัย

………….

: ยึด “คน” เป็นศูนย์รวมใจ อยู่ได้ไม่นาน

: ยึด “ธรรม” เป็นศูนย์รวมใจ อยู่ได้ตลอดกาล

13-11-59