บาลีวันละคำ

อาหารนิทฺทา ภยเมถุนญฺจ (บาลีวันละคำ 2418)

อาหารนิทฺทา ภยเมถุนญฺจ

พรมแดนระหว่างคนกับสัตว์

อ่านว่า อา-หา-ระ-นิด-ทา พะ-ยะ-เม-ถุ-นัน-จะ

มีคำบาลี 4 คำ คือ “อาหาร” “นิทฺทา” “ภย” “เมถุน

(๑) “อาหาร

บาลีอ่านว่า อา-หา-ระ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง, กลับความ, ในที่นี้ใช้ในความหมาย “กลับความ”) + หร (ธาตุ = นำไป, มี “อา” นำหน้า กลับความเป็น นำมา) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นธาต คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (หรฺ > หาร)

: อา + หรฺ = อาหร + = อาหรณ > อาหร > อาหาร (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่นำมาซึ่งผล” ตามที่เข้าใจกันทั่วไปคือ เมื่อกินอาหารแล้วก็นำมาซึ่งผลคือมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ดังที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาหาร : (คำนาม) ของกิน, เครื่องคํ้าจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต, เช่น อาหารเช้า อาหารปลา อาหารนก; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อาหารตา อาหารใจ. (ป., ส.).”

พระพุทธศาสนาจำแนกอาหารออกเป็น 4 หมู่ คือ –

1 ของกินทั่วไป คืออาหารกาย (ศัพท์วิชาการว่า = กพฬิงการาหาร)

2 ตาดูหูฟัง อย่างเช่นดูหนังฟังเพลง หรือที่พูดว่า อาหารหูอาหารตา เป็นต้น (= ผัสสาหาร)

3 ความหวังตั้งใจ เช่นมีความหวังว่าจะได้ จะมี จะเป็น เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจอยู่ได้ (= มโนสัญเจตนาหาร)

4 การได้รับรู้รับทราบ เช่นอยากรู้อะไรก็ได้รู้สิ่งนั้น (อาการที่ตรงกันข้าม คือ “หิวกระหายใคร่รู้”) เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่ง (= วิญญาณาหาร)

(๒) “นิทฺทา

บาลีอ่านว่า นิด-ทา รากศัพท์มาจาก –

(1) นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง) + ทา (ธาตุ = หลับ) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ซ้อน ทฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (นิ + ทฺ + ทา)

: นิ + ทฺ + ทา = นิทฺทา + กฺวิ = นิทฺทากฺวิ > นิทฺทา แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาที่หลับ

(2) นินฺท (ธาตุ = ติเตียน) + ปัจจัย, ลบ นฺ ที่ นินฺท (นินฺท > นิทฺ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: นินฺท > นิท + = นิทฺท + อา = นิทฺทา แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาอันผู้คนติเตียน” (หมายถึงการนอนกลางวัน เนื่องจากกลางวันเป็นเวลาทำกิจการงาน ไม่ใช่เวลานอน ผู้นอนกลางวันจึงควรถูกตำหนิ)

นิทฺทา” ในบาลีเล็งถึง “การหลับ” (sleep) ไม่ว่าจะหลับในอิริบาบถใดๆ ก็ตาม มิใช่เล็งที่กิริยานอน (lying down) นอน ถ้าไม่หลับก็ไม่เรียกว่า “นิทฺทา

นิทฺทา” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “นิทรา” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นิทรา : (คำนาม) การหลับ, การนอนหลับ. (คำกริยา) หลับ, นอน, เช่น ให้หาวนิทราเป็นพ้นไป. (อิเหนา). (ส.; ป. นิทฺทา).”

(๓) “ภย

บาลีอ่านว่า พะ-ยะ รากศัพท์มาจาก ภี (ธาตุ = กลัว) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อี ที่ ภี เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย (ภี > เภ > ภย)

: ภี + = ภีณ > ภี > เภ > ภย (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ความกลัว

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภย” เป็นอังกฤษว่า fear, fright, dread (ความกลัว, ความหวาดหวั่น, สิ่งที่น่ากลัว)

ภย” ใช้ทับศัพท์ในภาษาไทยว่า “ภัย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภัย : (คำนาม) สิ่งที่น่ากลัว, อันตราย, เช่น อัคคีภัย คือ ภัยที่เกิดจากไฟ อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดจากน้ำ. (ป., ส. ภย).”

ความหมายของ “ภย” ในบาลีคือ “ความกลัว” (fear) หรือ “สิ่งที่น่ากลัว” (fright) แต่ “ภัย” ในภาษาไทยน้ำหนักของความหมายอยู่ที่ “อันตราย” (danger, dangerous)

โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมบาลีที่ฝรั่งเป็นผู้ทำไม่ได้แปล “ภย” ว่า danger หรือ dangerous

(๔) “เมถุน

บาลีอ่านว่า เม-ถุ-นะ รากศัพท์มาจาก “มิถุ” แปลว่า ตรงข้าม, ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน, ขัดกัน ถือเอาความหมายว่า “สิ่งที่เป็นคู่” เพราะถ้าไม่เป็นคู่ หรือไม่มีอีกฝ่ายหนึ่ง ภาวะตรงข้าม ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน หรือขัดกัน ก็มีไม่ได้ + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แผลง อิ ที่ มิ-(ถุ) เป็น เอ (มิถุ > เมถุ)

: มิถุ + ยุ > อน = มิถุน > เมถุน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ความประพฤติของคู่หญิงชายผู้มีความพอใจเสมอกัน” (2) “กิจกรรมของคู่ชายหญิงผู้สมสู่กัน” หมายถึง กิจทางเพศที่คนคู่กระทำต่อกัน (sexual intercourse)

ในคัมภีร์ คำว่า “เมถุน” มักใช้คู่หรือควบกับคำว่า “ธมฺม” เป็น “เมถุนธมฺม” เมื่อใช้คำเช่นนี้ ความหมายจะดิ้นไม่ได้ (เช่นอ้างว่ามาคู่กันเพื่อทำกิจอย่างอื่น)

โปรดสังเกตว่า “คนคู่” ในความหมายดั้งเดิมคือ “อิตฺถีปุริส” หรือ “ปุมิตฺถิยุคล” คือคู่ชายกับหญิง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “เมถุน” ไว้ 2 คำ บอกไว้ว่า –

(1) เมถุน ๑ : (คำนาม) การร่วมสังวาส. (ป.).

(2) เมถุน ๒ : (คำนาม) คนคู่; ชื่อกลุ่มดาวรูปคนคู่ เรียกว่า ราศีเมถุน เป็นราศีที่ ๒ ในจักรราศี.

ขยายความ :

อาหารนิทฺทา  ภยเมถุนญฺจ” เป็นคาถา 1 บาทหรือ 1 วรรค ข้อความเต็มๆ ทั้งบทเป็นดังนี้ —

คำบาลี :

อาหารนิทฺทา  ภยเมถุนญฺจ

สามญฺญเมตปฺปสุภี  นรานํ

ธมฺโมว  เตสํ  อธิโก  วิเสโส

ธมฺเมน  หีนา  ปสุภี  สมานา.

คำอ่าน :

อาหาระนิททา  ภะยะเมถุนัญจะ

สามัญญะเมตัปปะสุภี  นะรานัง

ธัมโมวะ  เตสัง  อะธิโก  วิเสโส

ธัมเมนะ  หีนา  ปะสุภี  สะมานา.

คำแปล :

กิน นอน กลัว สืบพันธุ์

มีเสมอกันทั้งคนและสัตว์

ธรรมะทำให้คนประเสริฐเหนือสัตว์

ขาดธรรมะ คนก็ต่ำเท่ากับสัตว์

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ขาดคุณธรรม

: คนก็ระยำยิ่งกว่าสัตว์

#บาลีวันละคำ (2,418)

25-1-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *